ชื่อเรื่อง/Title สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา / State of being a learning organization in Yala islamic university
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลั ยอิสลามยะลา จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาตําแหน่งงาน และประสบการณ์ในการทํางาน 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในบริบทของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือผู้บริหารมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จํานวน 15 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จํานวน 286 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสภาพความเป็นองค์ การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สถิติที่ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก<br /> 2) การเปรียบเที ยบสภาพความเป็นองค์ การแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหน่งงาน และประสบการณ์ในการทํางานต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ประมวลข้อเสนอแนะ พบว่า มหาวิทยาลัยควรเปิดโอกาสให้บุคลากรศึกษาหาความรูเพิ่มเติมสม่ำเสมตามความต้องการของตนเอง บุคลากรควรมีการปฏิบัติหน้าที่ตามแผนงานที่ ร่วมกันคิดอย่างเป็นระบบมีกระบวนการคิดสามารถลําดับความสําคัญได้ควรมี การกําหนดวิสัยทัศน์ ร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้ มีกิจกรรมแสดงออกทางความคิด การอภิปรายของบุคลากรและเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น เปิดโอกาสให้ความรู้กับบุคลากรในเรื่องของการทํางานเปนทีมอยางสม่ำเสมอ ควรสร้างบรรยากาศการทํางานเป็นทีมให้บุคลากรทุกคนรู้สึกเป็นกันเอง ควรมีจัดวางแผนงานที่เป็นระบบ โดยมี การวางแผนงานล่วงหน้า และมี การพัฒนาด้านความคิดเป็นอย่างดี สามารถนําแนวคิดสู้การปฏิบัติได้ สําหรับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในบริบทของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) ความยําเกรงต่ออัลลอฮฺ (ตักวา) 2) ความมุ่งมั่ นสู้ความเป็นเลิศและรอบรู้ 3) การกําหนดวิสัยทัศน์ร่วม 4) การทํางานและเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (ญะมาอะฮฺ ) 5) การมีสายสัมพันธ์แห่งภราดรภาพ (อุคูวะฮฺอิสมามียะฮฺ) 6) การเผยแผร่อิสลาม และ 7) การคิดและการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ

This a survey research with objectives as follows: 1) to study the status of establishing a Learning Organization (LO) at Yala Islamic University (YIU), 2) to compare its actual and expected status with the staff sexes, ages, academic backgrounds, and experiences, 3)and to study its suggested and development approaches. The samples of this research include 1) 15 staff respondents randomly chosen for interview at YIU, and 2) 286 staff respondents randomly selected for questionnaire at YIU. Both Interviews and questionnaire comprised three parts: a) general information, b) Questionnaire about status of LO in YIU, c) the questionnaires about experiences and suggestions on LO at YIU, applying percentage, accumulation and standard deviation.The results of the study are as follows: 1) The status of establishing a LO at YIU were rated at high level.2) In terms of comparison, there were many differences between LO at YIU based on sex, age, study level, and working experiences.3) Suggestion: The University should allow its staff to seek knowledge and further their higher studies as they wish. They should undertake their duties fully as required by the University.As for the general suggestions, the University should be open-up for all its members to offer suggestions for the good process of the University perpetual teamwork, its plan for excellency academically and professionally as follows: 1) God consciousness (taqwaa), 2) commitment to excellence, 3) conduct further teamwork researches, 4) team learning and working, 5) ensure an Islamic brotherhood (Ukuwah Islamiyah) environment among all its staff, 6) spread Islamic propagation (Da'wah) in a strong way, 7) systematic thinking and organized work.
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลลาเต๊ะ สาและ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--โรงเรียนกับชุมชน
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อะห์มัด ยี่สุ่นทรง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2440
     Counter Mobile: 37