ชื่อเรื่อง/Title คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Characteristics of islamic private school administrators in three southern border provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2)ศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ระหว่างวุฒิการศึกษา สถาบันที่สําเร็จการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหาร และขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 216 คน และที่ใช้ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหาร คือผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ลักษณะของแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน คื อ ตอนที่ 1 ข้อมู ลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2แบบสอบถามคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น<br /><br /><br /><br /> แบบมาตราส่วนประมาณค่า และตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป โดยใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ<br /><br /><br /><br /> ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีระดับคุณลักษณะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้บริหารมีคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพและคุณธรรมจริยธรรม ( ? = 4.17) มากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะด้านสังคม( ? = 4.05) ด้านร่างกาย ( ? =4.00) และด้านการงาน( ? =3.95) ตามลําดับ ส่วนคุณลักษณะของผ้บริหารมี น้อยที่สุด คือ ด้านสติปัญญาและความรู้ ( ? = 3.77) ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระดับคุณลักษณะของผู้บริหารทั้ง 4 ตัวแปร พบว่า 1) ผู้บริหารที่มี วุฒิการศึกษาต่างกัน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านร่างกาย ด้านบุคลิกภาพและคุณธรรมจริยธรรม และด้านสังคม ไม่แตกต่างกั น ส่วนด้านสติปัญญาและความรู้ และด้านการงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2)ผู้บริหารที่สําเร็จการศึกษาจากสถาบันต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3)ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการบริหารต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสติปัญญาและความรู้ ด้านร่างกายด้านบุคลิกภาพและคุณธรรมจริยธรรม และด้านการงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านสังคม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4)ผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The objectives of this research are: 1) to study characteristics of Islamic private school administrators in three southern border provinces. 2) to compare characteristics of Islamic private school administrators based on educational qualification, graduated institution, administrative experience, and school types/sizes. 3) to study development approach for characteristics of Islamic private school administrators in three southern border provinces. <br /> The samples of this study were 216 Islamic private school administrators in three southern border provinces. Another group of sample comprising of 15 experts was selected to study development approach for characteristics of administrators. Tools used in this study were questionnaires which were divided into three sections. The first section presented respondent status by using multiple choice answers. The second section described the level of characteristics of Islamic private school administrators by using rating scales. Third section was an open- ended questionnaire about development approach for characteristics of Islamic private school administrators by using statistical analysis included frequency statistics, percentage, arithmetic mean, standard deviations and F-test.<br /> The finding of this study, for the overall, the administrators of Islamic private school in three southern border provinces based on their characteristics was in ?much? level. Considering each section, it was found that administrators have the personality and moral ethics at highest overage value aspect ( ? = 4.17), followed by social characteristics ( ? = 4.05), physical characteristics ( ? = 4.00), and administrating characteristics ( ? = 3.95). The minimal of administrative features were intelligence and knowledge, as value is ( ? = 3.77) respectively.<br /> The comparison of different levels of administrative features for four variables found that:<br /> 1) As an overall, the administrators with different qualifications was not different, when considering each aspect; physical, personality and moral ethics, and social section were also not different. Meanwhile, the intelligence and knowledge and administrating experience section were differed at a significant level of .05. <br /> 2) The administrators who graduated from different institutions considering overall and each aspect were not different. <br /> 3) The administrators with different experience generally were not different. When considering each aspect, it was found that the intelligence and knowledge, physical, personality and moral ethics and administrating experience did not differed, but social section was different at a significant level of .05. <br /> 4) The administrators of different school sizes in overall and each aspect was at a significant level of .05.
     ผู้ทำ/Author
Nameอาเรฟ หะยีหามะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อะห์มัด ยี่สุ่นทรง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2327
     Counter Mobile: 30