ชื่อเรื่อง/Title องค์ประกอบของน้ำนมแพะในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย / Composition of goat milk in lower southern of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract น้ำนมแพะเป็นอาหารเพื่อสุขภสพมีสารอาหารประเภท โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุปริมาณมาก แต่ปริมาณของสารอาหารแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของอาหารสัตว์ สายพันธ์ระยะการให้นม อายุ สุขภาพ และสภาพภูมิอากาศ วัตถุประสงค์ในการวิจัยครังนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก (ไขมัน โปรตีน และปรมาณของเเข็งทั้งหมด) ปริมาณเเคลเซียมและฟอสฟอรัส ปริมาณวิตามินเอและวิตามินอี ขนาดเม็ดไขมัน และองค์ประกอบของกรดไขมัน รวมทั้งรูปแบบของโปรตีนเคซีนในน้ำนมแพะที่เก็บรวบรวมจากฟารืม 7 ฟาร์มในพื้นที่ 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ของประเทศไทย (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ.2552 เป็นเวลา 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่าไขมัน โปรตีน และปริมาณของเเข็งทั้งหมดของน้ำนมเเพะ 7 ทั้งฟาร์มอยู่ในเกณฑ์ดี-ดีมาก เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารเเห่งชาติ (มกอช. 6006-2551) คืออยู่ในช่วง ร้อยละ 3.67-4.42, 3.42-3.95 และ 12.51-12.91 ตามลำดับ โดยตัวอย่างน้ำนมเเพะจากจังหวัดยะลามีปริมาณองค์ประกอบหลักมากกว่าตัวอย่างจากจังหวัดอื่น ปริมาณเเคลเซียมและฟอสฟอรัสของน้ำนมเเพะในพื้นที่อยู่ในช่วงร้อยละ 1107-1149 ppm และ 750-1100 ppm ตามลำดับ ส่วนปริมาณวิตามินเอและวิตามินอีอยู่ในช่วงร้อยละ 0.59-2.73 ug/100 ml และ 1.01-2.79 ppm ตามลำดับ ขนาดเม็ดไขมันในน้ำนมเเพะมีขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ย 2.97 ไมดครเมตร ปริมาณของกรดไขมันความยาวสายโซ่สั้นและความยาวสายโซ่ปานกลางของน้ำนมเเพะมีปิมาณมาก โดยมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 17.29-19.49 ผลการวิจัยยังพบว่าปริมาณฝนที่ตกหนักในพื้นที่ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม มีผลต่อองค์ประกอบหลักในน้ำนมเเพะ โดยพบว่าน้ำนมในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม (ปริมาณน้ำฝน 987.2 มิลลิเมตร) มีปริมาณไขมัน โปรตีนและของเเข็งทั้งหมด ร้อยละ 4.26, 3.96 และ 12.99 ตามลำดับ สูงกว่าน้ำนมเเพะในช่วงเดือนกรกำาคม-กันยายน (ปริมาณน้ำฝน 402.2 มิลลิเมตร) ซึ่งปริมาณไขมัน โปรตีนและของเเเข็งทั้งหมดร้อยละ 3.84, 3.51 และ 12.60 ตามลำดับ การศึกษารูปแบบของโปรตีนเคซีนในน้ำนมเเพะพบ 4 ชนิดคือ แอลฟา-เอส 2 เคซีน เบตา-เคซีน แคปปา-เคซีน และแอลฟา-เอส1 เคซีน โดยพบปริมาณของโปรตีนเคซีน ชนิดเบตา-เคซีน ในปริมาณมากที่สุดคือ ร้อยละ 77 ของปริมาณโปรตีนเคซีนทั้งหมด พบปริมาณของโปรตีนเคซีนชนิด แอลฟา-เอส2 อยู่ในช่วงร้อยละ 9.10-24.56 ของปริมาณโปรตีนเคซีนทั้งหมด และพบโปรตีนเคซีนชนิด แอลฟา-เอส1 เคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นสาเหตุของการเเพ้น้ำนมในเด็กในปริมาณที่ต่ำเพียงร้อยละ 0.44-5.33 ของปริมาณโปรตีนเคซีนทั้งหมด

     ผู้ทำ/Author
Nameพัชรินทร์ ภักดีฉนวน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameเนตรนภิส อ๋องสุวรรณ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Nameสมรักษ์ พันธ์ผล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1398
     Counter Mobile: 29