|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
แนวโน้มการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนตามทัศนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษา นราธิวาสเขต 1 (พ.ศ.2555-2560) / Trends in learning development of students as perceived by involved persons in basic education schools under jurisdiction of Narathiwat educational service area office I (B.E.2555-2560) |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 ในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2555-2560) เพื่อหาเเนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 ใช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2555-2560) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้เเก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนของรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 10 คน ครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 32 คน ได้มาโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) ใช้การวิจัยชาติพันธุ์วรรณา (Ethnographic research หรือ Ethnography)EFR ซึ่งเป็นวิจัยเชิงอนาคต เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบบันทึกการสัมภาษณ์ ประกอบด้วยประเด็น 5 หัวข้อ คือ การจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้เเก่ ร้อยละ <br />
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ <br />
1. ผลการรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1<br />
ด้านการจัดเนื้อหาสาระหลักสูตรสถานศึกษา จะมีการปรับลดเนื้อหาสาระและโครงสร้างเวลาเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน<br />
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ ครูต้องมีมารตรฐานตามการประกอบวิชาชีพ นักเรียนปรับเปลี่ยนวิธีเรียนวิธีเรียนเพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา<br />
ด้านการจัดสื่อการเรียนรู้ ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้<br />
ด้านการวัดผลประเมินผลเพิ่มเติมการวัดสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยปรับจากระบบที่ใช้คำสำคัญสะท้อนมาตรฐาน เป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร หรือระบบร้อยละเช่นเดียวกับการวัดองค์ความรู้<br />
บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาด้านบุคคลนั้นก็ยังเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอยู่เดิมโดยเพิ่มเติมตัวเเทนจากสถานประกอบการ ด้านบทบาทหน้าที่ต้องมีส่วนร่วม คอยดูเเลให้คำปรึกษา ช่วยเเหลือ สนับสนุน กำหนดเป้าหมาย วางนโยบาย วิธีปฏิบัติ และการประเมินผล<br />
2. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 <br />
ด้านการจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาในอนาคต สถานศึกษาจะมีอิสระในการออกแบบโครงสร้างรายวิชาและเวลาเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน<br />
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือการพัฒนาครูและผู้บริหารให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต<br />
ด้านการจัดสื่อการเรียนรู้ คือ สถานศึกษาจะมีอิสระในการคัดสรรสื่อที่เหมาะสมกับนักเรียน<br />
ด้านการวัดผลประเมินผล คือ สถานศึกษาต้องออกแบบเครื่องมือวัดที่มีความเป็นปรนัย มีค่าความเชื่อมั่นและมีอำนาจจำเเนกเพื่อพัฒนานักเรียนด้านเป็นคนดี<br />
ด้านบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สถานศึกษามีมาตรฐานในการคัดสรรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการศึกษาเพื่อเเต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาโดยมีค่าตอบเเทน
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | จำนงค์ แสงหวัง | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์ |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2554 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
1663 |
|
Counter Mobile: |
56 |
|