ชื่อเรื่อง/Title การคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนร่วมในการนิติบัญญัติของท่านอุมัรอิบนุ อัลค็อฎฎอบเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ศึกษาภาคปฏิบัติของหลักผลประโยชน์ในกฎหมายอิสลาม / Fiqh al-Maslaha "Public Interst" According to Caliph Umar ibn al-Khattab (A.R) An analytical study of Fiqh al-Maslaha in Islam
     บทคัดย่อ/Abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่ออธิบายลักษณะที่เป็นรากฐานของการใช้ผลประโยชน์ (อัลมะศอลิหุลมุรสะละฮฺ) ในกฏหมายอิสลามที่นักปราชญ์มีการขัดเเย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ว่า เป็นรากฐานหลักในการวินิจฉัยหุกุ่มหรือไม่ และถ้าหากผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นรากฐานในการวินิจฉัยหุก่ม แล้วผลประโยชน์นี้สามารถยึดหลักฐานได้หรือไม่ ซึ่งการขัดเเย้งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นตั้งเเต่สมัยของอิม่ามมาลิก จนปัจจุบัน และมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายความสำคัญในการวินิจฉัยฮุกมตามสภาพการของสังคมมุสลิมที่ประสบอยุ่ในปัจจุบัน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายทัศนะของกลุ่มที่ต่อต้านหลักการที่ว่า "ไม่มีการอิจญ์ติฮาด (วินิจฉัย) ในบทบัญญัติ (นัศ) ที่มีอยู่แล้ว" และอภิปรายทัศนะกลุ่มผู้เรียกร้องให้พิจารณาเหตุผลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของพวกเขา โดยการอ้างอิงจากหลักฐานอัลกุรอาน ฮะดีษ การปฏิบัติของเศาะหาบะฮฺโดยเฉพาะทัศนะของท่านอุมัร อิบนฺ อัลคอฏฏอบ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งผู้วิจัยได้หยิบยกบางประเด็นในเนื้อหาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ทั้งนี้เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการปฏิบัติในเรื่องของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นที่มิได้บัญญัติโดยนัศ (อัลกุรอานและอัลหะดีษ) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับทัศนะฟิกฮฺของท่านอุมัร อิบนฺ อัลคอฏฏอบ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมทัศนะต่างๆของบรรดานักปราชญ์ในเรื่องอัลมะศอลิหุลมุรสะละฮฺมาวิเคราะห์ และอภิปรายเพื่อคัดเลือกทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด และศึกษาวิเคราะห์การวินิจฉัยหุกุ่มของท่านอุมัร อิบนฺ อัลคอฏฏอบ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งนักวิชาการได้ยอมรับว่าเป็นการวินิจฉัยที่ยึดผลประโยชน์เป็นหลัก และบางกรณีเป็นการวินิจฉัยที่เเตกต่างจากบัญญัติอัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺ<br /> ส่วนหนึ่งของผลการวิจัยที่สำคัญที่สุดในการวิจัยครั้งนี้คือ อัลมะศอลิหุลมุรสะละฮฺถือเป็นรากฐานหลักที่สำคัญ และจำเป็นในการพิจารณาวินิจฉัยหุกุ่มในประเด็นปัญหาที่ประสบในปัจจุบัน และเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับและยึดมั่นโดยนักปราชญ์สี่มัษฮับในการวิเคราะห์และวินิจฉัยหุกุ่ม ถึงแม้ว่าจะมีความเเตกต่างในการใช้สำนวนในแต่ละมัษฮับ แต่จะมีความสัมพันธ์กันตรงกับความประสงค์ของชะรีอะฮฺ (กฎหมายอิสลาม) เช่น กิยาส (เปรียบเทียบ) อิสติหฺซาน และสัดดุซซะรออิอฺ แต่อัลมะศอลิหุลมุรสะละฮฺจะเเตกต่างจากการบิดอะฮฺอย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากอัลมะศอลิหุลมุรสะละฮฺมิได้มีความสัมพันธ์กับเรื่องบิดอะฮฺ (พิธีกรรมสาสนา) ส่วนบิดอะฮฺจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับอิบาดะฮฺและมุอามะละฮฺ และส่วนหนึ่งของผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ที่อ้างถึงทัศนะของท่านอุมัร อิบนฺ อัลคอฏฏอบ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) เพื่อฝ่าฝืนบทบัญญัติ (นัศ) เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง และการตีความที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงประเด็นตามจุดประสงค์และผลประโยชน์ที่ได้กำหนดดดยบรรดาเศาะหาบะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) โดยเฉพาะท่านอุมัร อิบนฺ อัลคอฏฏอบ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)

     ผู้ทำ/Author
Nameรอมลี หะละ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ประวัติศาสนา
--ศาสนากับสังคม
--ผู้นำทางศาสนา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อิสมาแอ อาลี
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1943
     Counter Mobile: 42