ชื่อเรื่อง/Title พัฒนาการสถานศึกษาปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2549 / Development of Traditional Islam Institutions (Pondok) in Southern Border Provinces of Thailand from 1957 to 2006
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องพัฒนาการสอนสถานศึกษาปอเนาะในจังหวัดชายเเดนภาคใต้ตั้งเเต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนเเปลง เหตุปัจจัยและผลที่เกิดจากการเปลี่ยนเเปลงของสถานศึกษาปอเนาะในจังหวัดชายเเดนภาคใต้ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ เอกสารต่างๆ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคล ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนเเปลงสถานศึกษาปอเนาะในจังหวัดชายเเดนภาคใต้ตั้งเเต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2549 ได้เกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งเเรก การเปลี่ยนเเปลงเกิดขึ้นตั้งเเต่การจดทะเบียนปอเนาะกับภาครัฐในปี พ.ศ. 2504 และการจดทะเบียนเพื่อแปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามในปี พ.ศ. 2526 ตามพ.ร.บง ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และการเปลี่ยนเเปลงยังมีผลต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนเเปลงครั้งเเรกนี้มีเหตุปัจจัยมาจากด้านความมั่นคง เพื่อเเก้ปัญหาการศึกษาไทยในภาครวมและปัญหาของปอเนาะที่ทีการจัดการที่ล้าหลังปัญหาความรู้สึกสึนึกในเชื้อชาติ ปัญหาความรู้ภาษไทย ปัญหาทางเศรษฐกิจ และปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในระบบปอเนาะ ผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเเปลงปอเนาะในครั้งเเรกสามารถสรุปได้ใน 2 ลักษณะ ลักษณะที่1 ผลที่เกิดขึ้นในด้านบวก คือ ปอเนาะได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินและเปลี่ยนไปสู่ระบบการศึกษาแบบใหม่ มีการจัดหลักสูตรอิสลามศึกษา มีการจัดให้มีการเรียนสายสามัญ ทศนคติที่ไม่ดีต่อภาษไทยลดลงและมีการพัฒนาภาษไทยดีขึ้น สังคมมีการตอบรับระบบการศึกษาแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะที่ 2 ผลที่เกิดขึ้นในด้านลบ คือ ปอเนาะที่ไม่ยอมจดทะเบียนกับภาครัฐกลายเป็นสถานศึกษาที่ผิดกำหมาย มีกลุ่มบางส่วนไม่พอใจการเข้าไปจัดการศึกษาในปอเนาะของภาครัฐ มีการประท้วงโดยการปิดปอเนาะ หลักสูตรอิสลามศึกษาที่ใช้ในโรงเรียนที่เเปรสภาพมาจากปอเนาะไม่เจาะลึกเหมือนการศึกษาที่เคยใช้ในปอเนาะ การเปลี่ยนเเปลงปอเนาะครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อปอเนาะได้จดทะเบียนกับภาครัฐเมื่อปี พ.ศ. 2547 การจดทะเบียนในครั้งนี้นำไปสู่การเปลี่ยนเเปลงชื่อปอเนาะเป็น "สถาบันศึกษาปอเนาะ" และทำให้ปอเนาะอยู่ในสองสถานภาพ สถานภาพเเรก คือ อเนาะได้กลายเป็นสถาบันศึกษาที่ถูกกำหมายและอยู่ภายใต้การดูเเลของรัฐ ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ มีการประมวลสาระการเรียนรู้ มีการสอนวิชาชีพ และได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรของสถาบันศึกษาปอเนาะ สาเหตุที่ทำให้ปอเนาะได้จดทะเบียนกับภาครัฐในครั้งนี้ คือ ความต้องการที่มีอยู่เดิมของโต๊ะครูเจ้าของปอเนาะ ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ปอเนาะในสถานภาพที่สอง สิ่งที่ยังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนเเปลง คือ ปอเนาะยังคงใช้ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมที่มีโต๊ะครูเป็นผู้บริหาร หนังสือเนื้อหาสาระการเรียนรู้ วิธีการเรียนการสอนอยู่ในรูปแบบเดิมไม่เปลี่ยนเเปลง ส่วนสาเหตุที่ปอเนาะยังคงรักษาสถานภาพเดิมอยู่คือ เพื่อรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมไว้ มีการมองว่าการศึกษาในระบบปอเนาะสามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ดีกว่าระบบการศึกษาแบบใหม่และสามารถอบรมเด็กนักเรียนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมได้ดีกว่า การศึกษาในรูปแบบปอเนาะเป็นการมุ่งสอนศาสนาเพื่ออัลลอฮฺอย่างเเท้จริง

     ผู้ทำ/Author
Nameอิบบรอเฮง อาลฮูเซน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--โรงเรียนกับชุมชน
ประวัติศาสตร์
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ดลมนรรจน์ บากา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2589
     Counter Mobile: 36