|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การวิจัยเรื่องแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณของปัตตานี เป็นกรณีศึกษาแหล่งโบราณคดีบริเวณบ้านดี ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร่องรอยทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของแหล่งนี้ วิธีการศึกษาใช้การเก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม <br />
<dd>ผลการศึกษา พบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านดี เป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปั้นดินเผา พบร่องรอยเตาเผาโบราณจำนวน 4 กลุ่ม วางทับซ้อนหรือใกล้เคียงกัน จำนวน 7 เตา นอกจากนี้ยังพบร่อยรอยแนวดินถูกความร้อนในหลุมขุดค้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นร่องรอยเตาเผา รูปแบบดั้งเดิมหรือแบบเผากลางแจ้ง แหล่งโบราณคดีบ้านดีมีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ทางทะเล เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน การคมนาคมและการค้า แหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยโบราณบ้าดีผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภท ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่น ลักษณะเนื้อเครื่องปั้นดินเผาเป็นแบบเนื้อดินธรรมดา สีค่อนข้างแดงมีส่วนผสมของทรายมาก เนื้อหยาบ มีทั้งแบบไม่เคลือบและเคลือบบาง มีการเตรียมดินเป็นอย่างดีใช้แป้นหมุนในการขึ้นรูปทรง การตกแต่งภาชนะมีทั้งแบบไม่มีลวดลายและแบบมีลวดลาย วิธีการตกแต่งลวดลายมี 2 วิธี คือการขูดขีดเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง และการประทับลวดลายเป็นรูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ เส้นตรง เส้นโค้ง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม-รี ลวดลายดอกไม้ ได้แก่ ดอกไม้สี่แฉก ดอกพิกุล ดอกเยบิรา ดอกมะพร้าว และลวดลายรูปทรงประดิษฐ์ ได้แก่ การผสมผสานลวดลายหลายแบบ ลวดลายเชิงนามธรรม รูปทรงภาชนะดินเผาที่ผลิต ได้แก่ หม้อปากตรง ปากโค้งเข้า ปากผาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากประมาณ 8-40 เซนติเมตร หม้อก้นกลม ก้นแบบ ครก ภาชนะบางประเภทมีฝาปิดซึ่งมี 2 รูปแบบ คือฝาแบบหงายใช้สำหรับภาชนะที่มีปากขนาดเล็ก มีจุกหรือที่จับอยู่ตรงกึ่งกลางด้านบนฝา มีรูปแบบทรงพุ่มสูง ทรงพุ่มเตี้ย ทรงกลมป้าน ในขณะที่ฝาแบบคว่ำใช้สำหรับภาชนะที่มีปากขนาดใหญ่กว่า มีจุกเป็นรูปทรงปากฝาย การค้นพบเศษภาชนะดินเผาที่ผลิตจากภายนอก เช่น เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยจีน กระจายอยู่ในแหล่งโบราณคดีภายนอก เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และในแหล่งโบราณคดีบ้านนายยาโอะ แหล่งโบราณคดีบ้านนายทากาซิมา ประเทศญี่ปุ่น แสดงถึงความสัมพันธ์ในอดีตของคนในชุมชนบ้านดีกับชุมชนภายนอกที่ไกลออกไป <dd>ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งบ้านดี จึงมิใช่เพียงผลิตขึ้นมาใช้เพียงในชุมชนเท่านั้น แต่ยังส่งออกไปใช้หรือจำหน่ายยังชุมชนที่ไกลออกไปอีกด้วย การศึกษาเปรียบเทียบเศษภาชนะดินเผาที่พบสามารกำหนดอายุกิจกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของแหล่งโบราณคดีบ้านดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ดั้งนั้น ชุมชนโบราณคดีแห่งนี้จึงมีความสำคัญในด้านการเป็นแหล่งเศรษฐฏิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของปัตตานีในอดีต
This research about the sites of kilns for ancient pottery in Pattani was a case study of archeological site at Ban Dee, Barahom sub-district, Muang District, Pattani Province. It purpose was to study traces of culture related to pottery production at this site. It was a documentary and field-work research, with an emphasis on survey and archeological excavation in order to analyze, compare, classify, and study the designs of the archeological finds. A scientific method was used in surveying kiln sites and analyzing chemical components in the pottery's texture.<br />
It was found that Ban Dee archeological site had been an industrial area in manufacturing pottery. There were traces of 4 groups of ancient kilns. The 7 kilns were on top of each other or close to each other. Besides, in the exeavations there were traces of heated earthen strips, presumably traces of the very first kind of kilns or open-air kilns. Ban Dee archeological site was located along the river and sea transportation routes. It was suitable for setting down, transportation, and trading. The kiln sites in this area produced pottery in the forms of utensils and devices such as plummets for fishing nets, anvils, and toys. These pottery products were earthenware, made of coarse reddish, sandy clay. There were both unglazed and thinly-glazed types. The clay was well-prepared and a potter's wheel was used in molding. There were 2 types of decoration: with and without designs. There were 2 ways of designing. The first was to scratch or engrave with stright lines or curves The second was to imptint the pottery with such geometric patterns as straight lines, curves, triangles, rectangles, circles, and ovels; such floral patterns as four-petal flowers, Pigkoon (Sapotaceac) flower, Gerbera and coconut flowe; and invented designs composed of different patterns and symbolic or abstract designs which midht have been created locally. The pottery vessels had different shapes. There were cylindrical pots and those with incurving openings or trumpet-shaped openings. These were 8-40 cm. in diameters. Also, there were pots with curved and flat bottoms and mortar (?). Some kinds of vessels had lids which were in 2 forms. The first kind of lids, for vessels with small openings, had their faces up with a topknot or a holder in the middle in a tall cone shape. short cone shape, and obtuse circular shape. The second kind, for vessels with bigger openings, had their face down with holders of the trumpet shape. The discovery of scattering pottery shards from sources outside such as those of Sukothai pottery and Chinese pottery in Ban Dee archaeological site and the discovery of scattering pottery shards from Ban Dee archaeological site in other archaeological sites sush as Ban Bang Ta Wa archaeological site in Nong Jik District of Pattani Province and Yao's house site and Tagashima's house site in Japan revealed a relationship in the past between Ban Dee community and communities far away. Therefore the pottery from Ban Dee was not to be used in its own community only, but also to be exported for use or sale in distant communities. The comparison of the discovered pottery shards made it posible to spesify that the Ban Dee was pottery was produced some time between the 22-23 Buddhist centuries. Therefore, the ancient community of Ban Dee was important as an economic area of Pattani in the past. |