ชื่อเรื่อง/Title การบริหารจัดการทรัพย์สินริบาในกฎหมายอิสลาม : กรณีศึกษาการปฏิบัติของชาวมุสลิมในเทศบาลเมืองนราธิวาส / The Management of Riba Property in Islamic Law : A Case Study of the Practice of Muslims in Narathiwat Municipality
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหุก่มและโทษของริบาต่อมนุษย์ ด้านสังคม ระบบการเงิน ตลอดจนด้านปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ 2) เพื่อศึกษาทัศนะอุละมาอ์เกี่ยวกับปัญหาใหม่ๆในระบบการเงินปัจจุบันที่จัดอยู่ในขอบข่ายของริบาตามกฎหมายอิสลาม 3)เพื่อศึกษาทัศนะอุละมาฮ์สี่มัษฺฮับเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายอิสลาม 4)เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับริบา การปฏิบัติเกี่ยวกับริบาและการบริหารจัดการทรัพย์สินริบาของชาวมุสลิมในเทศบาลเมืองนราธิวาส<br /> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม การวิจัยเอกสารผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากอัลกิตาม อัสสุนนะฮฺ ตลอดจนตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ส่วนการวิจัยภาคสนามผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่และค่าร้อยละ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในชุมชนมุสลิมในเทศบาลเมืองนราธิวาส ขำนวน 392 คน<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1) ริบาเป็นสิ่งที่ให้โทษมหันต์ต่อมนุษยชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตใจและจริยธรรม ดังนั้นริบาจึงเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอย่างเด็ดขาดสำหรับมุสลิม ส่วนการใช้บริการกับสถาบันการเงินริบาในภาวะจำเป็น กล่าวคือ กรณีทีไม่มีสถาบันการเงินอิสลามและชาวมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ การใช้บริการจากสถาบันการเงินริบาในภาวะดังกล่าวถือเป็นว่าอนุโลม<br /> 2) ผลกำไรที่ได้จากการฝากธนาคารประเภทบัญชีรักษาทรัพย์ถือว่าเป็นการริบาที่หะรอม และการเพิ่มเกินในการเเลกเปลี่ยนซื้อขายหรือกู้ยืมทรัพย์ริบาชนิดเดียวกันที่ได้กำหนดโดยบทหะดีษ 6 ชนิด กล่าวคือ ทรัพย์ประภทเงินตราคือทองคำและเงิน และทรัพย์ประเภทอาหาร คือ เกลือ ข้าวสาลี ข้าบาเลย์ และอินทผาลัม ซึ่งมีข้อกำหนดหุก่ม ดังนี้<br /> 2.1 เป็นทรัพย์ชนิดเดียวกันถือเป็นการริบาที่หะรอมโดยเอกฉันท์<br /> 2.2 เป็นทรัพย์ริบาต่างชนิดกันแต่จัดอยู่ในทรัพย์ประเภทเดียวกันอนุโลมให้เพิ่มเกินกันได้ โดยต้องมีการส่งมอบทันทีต่อมือ หรือจ่ายสด<br /> 2.3 เป็นทรัพย์ต่างชนิดกันและต่างประเภทกันอนุโลมให้เพิ่มเกินกันได้ทั้งแบบการจ่ายสดหรือการผ่อนจ่าย<br /> หากการเเลกเปลี่ยนซื้อขายหรือกู้ยืมทรัพย์อื่นนอกเหนือจากทรัพย์ที่ได้ระบุไว้ในบทหะดีษข้างต้น ให้เทียบเคียงทรัพย์ทุกอย่างที่มีอิลละฮฺริบา (สาเหตุเเห่งริบา) เหมือนกันกับทรัพย์ 6 ชนิดดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ อิลละฮฺริบาของทองเเละเงิน คือการเป็นเงินตรา และอิลละฮฺริบาของทรัพย์อีก 4 ชนิดที่เหลือ คือการเป็นอาหารและใช้การตวงหรือการชั่งในการวัดปริมาณ และทรัพย์ทุกอย่างที่มีการห้ามริบาฟัฎล์ก็ถือว่า ห้ามริบานะสีอะฮฺด้วยเช่นกัน<br /> 3) กฎหมายอิสลามได้กำหนดวิธีบริหารจัดการทรัพย์สินริบาหะรอมที่ได้เกิดขึ้นอันเนื่องจากภาวะจำเป็นหรือการกลับตัวของผู้ที่หลงผิดดังนี้ คือ ห้ามมิให้ปล่อยทรัพย์สินริบาไว้กับสถาบันการเงิน ห้ามมิให้รับทรัพย์สินริบามาครอบครอง และห้ามมิให้นำทรัพย์สินริบาไปทำลายทิ้ง แต่มุสลิมจำเป็นต้องคืนทรัพย์สินริบาให้กับผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมายอิสลาม กล่าวคือ คนยากจนหรือผู้ขขัดสนหรือกระทำการเพื่อสาธารณะประโยชน์ของมุสลิมเว้นเเต่การสร้างมัสยิดและการตีพิมพ์อัลกุรอาน ถ้าไม่รู้จักเจ้าของเดิมของทรัพย์สินริบานั้น หากรู้จักเจ้าของเดิมให้ส่งคืนทรัพย์นั้นกับเจ้าของเดิม<br /> 4) ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในชุมชนเทศบาลเมืองนราธิวาสมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับริบาอยู่ในระดับต่ำ ส่วนระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับริบาและการบริหารจัดการทรัพย์สินริบามีความสอดคล้องกับบทบัญญัติอิสลามอยู่ในระดับปานกลาง

The objectives of this study are as follows : 1) to examine the ruling on Riba and harms of Riba on society, financial system and other aspects of human life; 2) to investigate scholars? opinions on contemporary issues on ribawi wealth in Islamic Law; 3) to study opinions of scholars in the four School of Thought on ribawi wealth management; and 4) to explore knowledge and perceptions on Riba, practices of Riba and ribawi wealth management of Muslims in Narathiwat Municipality. In this study, both document research and field research were employed. The researcher gathered information from al-Kitab, al-Sunnah, books and<br /><br /> related literature and used it in qualitative analysis. Under the field research technique, a questionnaire was employed to collect data from 392 respondents who are Muslims living in Narathiwat Municipality. The collected data was then analyzed using quantitative techniques. Descriptive analysis including frequency and percentage were employed to analyze the data.<br /><br /> The resulf of this research are as follows :<br /><br /> 1) Riba greatly harms humankind in various ways including economic, social and moral aspects. As such, Riba is prohibited for Muslims. However it is permissible in the country where Islamic financial institutions are absent and Muslims are minority groups.<br /><br /> 2) Interest from savings accounts is Riba and it is prohibited. In addition, six ribawi commodities mentioned in hadith can be categorized into two categories: money and food. Money consists of gold and silver and food includes salt, wheat, barley and dates. The following are the rulings in relation to an increase in exchange of these commodities:<br /><br /> 2.1 The exchange of the same kind is Riba and prohibited;<br /><br /> 2.2 The exchange of different kinds but in the same genus is permissible; and<br /><br /> 2.3 The exchange of different kinds and different genus is permissible in cash or by deferred payments. Qiyas is employed on the exchange or loan of other commodities. Illah of Riba of gold and silver is monetary value and illah of other four commodities is food and weighting and scaling measurement. If it falls under Riba Fadl it is also prohibited under Riba Nasi?ah.<br /><br /> 3) Under Islamic Law, leaving ribawi wealth idle in financial institutions or taking ownership of the wealth is not permissible. Moreover, destroying the wealth is also prohibited. The ribawi wealth must be returned to the right owners who are the poor and the needy. Alternatively, the wealth can be used for the construction of public utilities and welfare projects apart from the construction of mosques and the printing of al-Quran.<br /><br /> 4) Muslims in Narathiwat Municipality have little knowledge about Riba. Their ribawi wealth management practices are somewhat in according with Islamic principles.
     ผู้ทำ/Author
Nameมะรอมือลี บือราเฮง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มะรอนิง สาแลมิง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2554
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4923
     Counter Mobile: 76