|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | สภาพ ปัญหา และแนวทางการปลูกฝัง อัคลากฺ แก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี / States, Problems and Inculcation of Akhlaq into Islamic Private Schools | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการปลูกฝังอัคลากฺในอิสลามส สภาพ ปัญหาและเเนวทางการปลูกฝังอัคลากฺแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการศึกษาภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเเละปัญหาการปลูกฝังอัคลากฺมีจำนวน 364 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการพิจารณาเชิงพรรณาแนวทางการปลูกฝังอัคลากฺมีจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ได้เเก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีของความสอดคล้องระหว่างข้อความ<br />
ผลการวิจัยพบว่า <br />
1) การปลูกฝังอัคลากฺในอิสลามมีเป้าหมายเพื่อสร้างมุสลิมที่สมบูรณ์ทั้งในด้านการศรัทธาและการปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา ผู้ทำหน้าที่ปลูกฝังจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจ ความยำเกรง ความรอบรู้ ความสุภาพ และมีความตระหนักว่าเป็นงานที่จะถูกสอบสวนและมีผลตอบเเทนในโลกนี้และโลกหน้า ลักษณะพิเศษของการปลูกฝังอัคลากฺในอิสลาม คือ การปลูกฝังหลักศรัทธา การปลูกฝังแบบองค์รวม การปลูกฝังแบบต่อเนื่อง และการปลูกฝังแบบส่วนร่วม ส่ววิธีการปลูกฝังอัคลากฺในอิสลาม 6 วิธีการ ได้เเก่ 1) วิธีการสร้างแบบอย่างที่ดี 2) วิธีการสร้างแรงจูงใจ 3) วิธีการตักเตือน 4) วิธีการนำเสนอประวัติศาสตร์อิสลาม 5) วิธีการจัดกิจกรรมปลูกฝังอัคลากฺอย่างสม่ำเสมอ และ 6) วิธีการจัดสภาพเเวดล้อมที่ดี<br />
2. สภาพการปลูกฝังอัคลากฺเเก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า โรงเรียนใช้วิธีการตักเตือนมีสภาพการปฏิบัติจริงมากที่สุด รองลงมา คือ วิธีการจัดกิจกรรมปลูกฝังอัคลากฺอย่างสม่ำเสมอ วิธีการสร้างแบบอย่างที่ดี วิธีการนำเสนอประวัติศาสตร์อิสลาม วิธีการจัดการสภาพเเวดล้อมที่ดี และวิธีการสร้างแรงจูงใจน้อยที่สุด ส่วนปัญหาการดำเนินการปลูกฝังอัคลากฺแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า วิธีการสร้างแรงจูงใจและวิธีจัดการสภาพเเวดล้อมที่ดีมีปัญหาการดำเนินการมากที่สุด รองลงมา คือ วิธีการตักเตือน วิธีการสร้างแบบอย่างที่ดี วิธีการนำเสนอประวัติศาสตร์อิสลาม และวิธีการจัดกิจกรรมปลูกฝังอัคลากฺอย่างสม่ำเสมอน้อยที่สุด <br />
3) เเนวทางการปลูกฝังอัคลากฺแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ปรากฏผลดังนี้ <br />
3.1) แนวทางการสร้างแบบอย่างที่ดี ได้เเก่ โรงเรียนกำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายมุ่งพัฒนาให้บุคลากรทุกคนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี จัดให้มีการจัดสรรและการนิเทครูผู้สอน การติดตามดูเเลนักเรียนอย่างใกล้ชิด การกำหนดแหล่งเรียนรู้แบบอย่างและการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดโครงการสนับสนุนการสร้างแบบอย่างที่ดี<br />
3.2) แนวทางการสร้างแรงจูงใจ ได้เเก่ การเริ่มต้นการสอนด้วยการกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ การจัดโครงการสร้างแรงจูงใจ การมอบรางวัลนักเรียนที่มีอัคลากฺดี การให้โอกาสนักเรียนที่ทำความผิดปรับปรุงตัว การรายงานผู้ปกครองทราบความประพฤติของนักเรียน และการส่งเสริมใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย<br />
3.3) แนวทางการตักเตือน ได้เเก่ การสร้างคู่มือการปฏิบัติตนสำหรับครูผู้สอนและนักเรียน การสนับสนุนให้กรรมการนักเรียนดูเเลเพื่อนและรุ่นน้อง การกำหนดให้นักเรียนมีครูที่ปรึกษาสร้างความใกล้ชิดและให้คำเเนะนำแก่นักเรียน การกำหนดขั้นตอนการตักเตือน และการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดโครงการอบรมอัคลากฺแก่นักเรียน<br />
3.4) แนวทางการนำเสนอประวัติศาสตร์อิสลาม ได้เเก่ การสอนและบูรณาการในรายวิชาเรียน การจัดเเหล่งเรียนรู้ การเชิญผู้มีความรู้บรรยายประวัติศาสตร์อิสลาม และการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดทำสื่อการสอนประวัติศาสตร์อิสลาม<br />
3.5) แนวทางการจัดกิจกรรมปลูกฝังอัคลากฺอย่างสม่ำเสมอ ได้เเก่ การจัดกิจกรรมต่อเนื่องภาคการศึกษา เช่น กิจกรรมปลูกฝังศรัทธา กิจกรรมประจำวัน และกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา การติดตามประเมินผล การเเนะนำผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของกิจกรรมและการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดกิจกรรม<br />
3.6) แนวทางการจัดการสภาพเเวดล้อมที่ดี ได้เเก่ การสร้างสำนึกรักษ์สิ่งเเวดล้อม การจัดภูมิทัศน์สวยงาม การรณรงค์รักษาความสะอาด การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการปลูกฝังอัคลากฺ การร่วมมือกับชุมชนและการจัดสรรงบประมาณเพื่อจักการสภาพเเวดล้อมที่ดี This thesis aims to study the concepts and ways of Akhlaq inculcation in Islam as well as to examine states of, problems of, and guidelines for the inculcation of Akhlaq into Islamic Private Schools?s Students under Private Education Office, Pattani Province using documentary and field researches. Data obtained from a sample of 364 teachers was used to study the states and problems of Akhlaq inculcation and data obtained from another sample of 20 experts was used to develop guidelines for Akhlaq inculcation. Synthesizing the content as well as descriptive statistics, which include mean, standard deviation and Index of Concurrence were used to analyze the data.<br /><br /> The results of this study were as follows:<br /><br /> 1) The purposes of Akhlaq inculcation in Islam are to create a perfect Muslim in terms of religious belief and practice. An inculcator of Akhlaq should be honest, pious, knowledgeable, polite, and be realized that the work of inculcation will be interrogated and rewarded in this world and in the next world. The distinctive characteristics of Akhlaq inculcation in Islam are the inculcation of belief, a holistic inculcation, a continued inculcation, and a participative inculcation. As for the guidelines for Akhlaq inculcation in Islam, they comprise of 6 guidelines, namely, 1) creating a good role model, 2) building motivation, 3) making advice, 4) presenting Islamic history, 5) organizing ongoing activities of Akhlaq inculcation, and 6) creating conducive environment.<br /><br /> 2) The overall level of states of the inculcation of Akhlaq into Islamic Private Schools?s Students under Private Education Office, Pattani Province is high. When considering in each aspect, it is found that the level of making advice is very high, it is then followed by conducting ongoing activities of Akhlaq inculcation, creating a good role model, presenting Islamic history, creating conducive environment, respectively. And the level of building motivation is very low. The overall level of problems of the inculcation of Akhlaq into students in Islamic private schools under the Office of Private Education in Pattani province is moderate. When considering in each aspect, it is found that the level of building motivation and creating conducive environment are high. It is then followed by making advice, creating a good role model, and presenting Islamic history, respectively. The level of organizing ongoing ctivities of Akhlaq inculcation is very low.<br /><br /> 3) Guidelines for inculcating Akhlaq into Islamic Private Schools?s Students under Private Education Office, Pattani Province reveal as the followings:<br /><br /> 3.1) Guidelines for creating a good role model include stipulating vision and policy that emphasize on the development of a good model behavior among staff, providing selection and supervision program for teachers, close monitoring students, specifying model of learning resources and allocating budget for projects that promote and create a good role model.<br /><br /> 3.2) Guidelines for building motivation include beginning teaching by mentioning the name of Allah (s.w.t.), organizing motivating project, and giving award to students who show good Akhlaq, giving opportunity to the students to correct their wrongdoings, reporting students? behavior to their guardians and encouraging the use of a variety of instructional media.<br /><br /> 3.3) Guidelines for making advice include creating a manual for behavioral practice for teachers and students, encouraging student committees to take care of their friends and juniors, specifying students who have a teacher advisor to create a close relationship with and to advise other students, determining steps of making advice, and allocating budget for organizing Akhlaq training project for students.<br /><br /> 3.4) Guidelines for presenting Islamic history include teaching and integrating learning subjects, allocating learning resources, inviting learned persons to talk on Islamic history and allocating budget for creating teaching media on Islamic history.<br /><br /> 3.5) Guidelines for organizing ongoing activities of Akhlaq inculcation include organizing ongoing activities during academic semester such as an activity for instilling faith, a daily activity, an activity for important religious days, an activity for assessment and evaluation, an activity conducting to convince the guardians about the importance of school activities, and allocating budget for organizing activities.<br /><br /> 3.6) Guidelines for creating conducive environment including creating love awareness for environment and beautifying landscaping, making campaign for preserving cleanliness, creating environment that is conducive to Akhlaq inculcation, cooperating with community groups and allocating budget for managing environment. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --โรงเรียนกับชุมชน --สตรีเด็กและเยาวชน ด้านศาสนา --ศาสนากับสังคม ด้านการศึกษา --การจัดการศึกษา อิสลามศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2554 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 2256 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 41 | |||||||||||||||||||||