|
บทคัดย่อ/Abstract |
The objective of this study was to examine the effects of demographic and geographic factors on the prevalence of youth non-participation in either at work or at school using statistical models. The analysis is focusing on youth aged 15-17 years. The outcome was the prevalence of youth non-participation, defined as not attending school and not employed in the workforce. The determinants were gender, religion (Muslim or Other), and regions based on sub-districts of Pattani and Songkhla provinces. Data were obtained from the 2000 Population Census of Thailand. To overcome statistical problems due to small samples in the regions we combined adjoining sub-districts where necessary and referred to as super-tambons (a geographic factor). To allow for the possible interaction between the gender and religion, we combined them as gender-religion (a demographic factor). To allow for the possible interaction between the demographic factor and the geographic factor, the multiplicative logistic regression models were fitted separately to the data for Pattani and Songkhla. Sum contrasts were used instead of treatment contrasts to compare the non-participation rate for each level of a factor with overall mean non-participation rate. The multiplicative parameters provide measures of non-participation and disparity index in the region. The confidence intervals of the non-participation rates and the disparity indexes estimated from the models based on sum contrasts were enable to classify the regions into groups according to whether the confidence intervals for the non-participation rates exceed, contain, or fall below the overall mean, and according to whether the confidence intervals for the disparity indexes exceed zero, contain zero, or fall below zero. The preliminary results showed that in 2000 the non-participation rates were 23.5% in Pattani and 13.5% in Songkha. There were significant variations of non-participation rates in Pattani from 47% (Muslim males in Tuyong+BangTawa) to 0% (non-Muslim females in ThaRua) and in Songkhla from 37% (Muslim females in North Singha Nakorn) to 1% (non-Muslim females in Na Wa). In Pattani, a high disparity index occurred in 7 regions with Muslims having a higher than average non-participation and negative disparity. In Phalo there is no evidence that the disparity index is higher than average non participation. In contrast, Muslims in the MaiKaen region have a lower than average non-participation and positive disparity. In Songkhla there were 7 regions that Muslims had higher than average nonparticipation and disparity disadvantage. In 3 regions Muslims had higher than average non-participation but no evidence of disparity. Muslims in the Sakom region had average non-participation and positive disparity. The plotting technique used in this thesis makes it easy to identify super-tambons that need urgent action to increase social justice because of high levels of inequality.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการว่างงานและการไม่อยู่ในระบบโรงเรียนของเยาวชนด้วยตัวแบบทางสถิติ การวิเคราะห์นี้เน้นศึกษากลุ่มเยาวชนที่มีอายุในช่วง 15-17 ปี ตัวแปรตามคือ "Non-participation" กำหนดจากเยาวชนที่ว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน ตัวแปรอิสระคือ เพศ ศาสนา (อิสลาม หรือ ศาสนาอื่น) และตำบลที่เป็นภูมิลำเนาของเยาวชนในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา ข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลจากการสำมะโนประชากร ปี 2543 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางสถิติเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กเกินไป จึงนำพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรน้อยมารวมกับพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้ได้ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมและเรียกพื้นที่ใหม่นี้ว่า "Super-tambo" (ปัจจัยทางภูมิศาสตร์) และเพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างตัวแปรเพศเเละศาสนา จึงนำตัวแปรใหม่ "Gender-religio" (ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์) และเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรศาสตร์และปัจจัยทางภูิศาสตร์ การวิจัยนี้ใช้ ตัวแบบการถดถอยโลจิสติก แยกข้อมูลวิเคราะห์เป็นจังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา ใช้ Sum contrast แทนการใช้ Treatment contrast เปรียบเทียบอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนแต่ละระดับของปัจจัยกับอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนรวมหรือโดยเฉลี่ยกราฟช่วงความเชื่อมั่นของอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนและดัชนีความแตกต่าง (disparity index) ประมาณจากตัวแบบโดยใช้ Sum contrasts แสดงความแตกต่างของอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนระหว่างกลุ่มเพศ ศาสนาในพื้นที่ กราฟช่วงความเชื่อมั่นสามารถจัดกลุ่มได้เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนสูงกว่าอัตราโดยเฉลี่ยไม่เเตกต่างจากอัตราโดยเฉลี่ยหรือต่ำกว่าอัตราโดยเฉลี่ย และสามารถตรวจสอบความเเตกต่างของสัดส่วนการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนระหว่างกลุ่มเพศ-ศาสนาในแต่ละพื้นที่ จากราฟช่วงความเชื่อมั่นของดัชนีความเเตกต่าง ถ้าค่าสูงมากกว่าศูนย์ทั้งช่วง แสดงว่ากลุ่มมุสลิมมีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนระหว่างเพศ-ศาสนา ไม่เเตกต่างกัน ถ้าต่ำกว่าศูนย์เเสดงว่ากลุ่มมุสลิมมีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนต่ำกว่ากลุ่มศาสนาอื่นๆ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่าอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนของเยาชน จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 23.5 และร้อยละ 13.5 ในจังหวัดสงขลา อัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนจังหวัดปัตตานี สูงสุดร้อยละ 47 (มุสลิมชาย ในตำบลตุยงและตำบลบางตาวา) และต่ำสุดร้อยละ 0 (ศาสนาอื่นหญิง ในตำบลท่าเรือ) และในจังหวัดสงขลา สูงสุด ร้อยละ 37 (มุสลิม ในทางเหนือของสิงหนคร) ต่ำสุด ร้อยละ 1 (ศาสนาอื่น ในตำบลนาหว้า)ในจังหวัดปัตตานีมีดัชนีความเเตกต่างเกิดขึ้นใน 7 พื้นที่เป็นศาสนาอิสลามมีอัตราการว่างงานและะไม่อยู่ในระบบโรงเรียนสูงกวาค่าเฉลี่ยและความแตกต่างเป็นลบ ในตำบลปากล่อไม่สามารถระบุได้ว่ามีค่าดัชนีความแตกต่างสูงกว่าค่าเฉลี่ย ในทางตรงกันข้าม มุสลิมในพื้นที่ไม้เเก่น มีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและมีความเเตกต่างเป็นบวกในจังหวัดสงขลามี 7 พื้นที่ที่มุสลิมมีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ย มุสลิมมีโอกาสในการศึกษาน้อยและมี 3 พื้นที่ที่มุสลิมมีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยแต่ไม่สามารถระบุถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่ม มุสลิมในตำบลสะกอมมีอัตราการว่างงานและไม่อยู่ในระบบโรงเรียนสูงกว่าเฉลี่ยและมีความเเตกต่างเป็นบวกเทคนิคการสร้างกราฟและการสร้างแผนที่ในการศึกษานี้ทำให้ง่ายต่อการระบุพื้นที่ที่จำเป็นจะต้องเพิ่มโอกาสและสร้างความเท่าเทียมกัน เนื่องจากมีความเเตกต่างกันในเรื่องของโอกาสการเรียนและทำงานระหว่างกลุ่มสูง |