|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน : กรณีศึกษากองทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิต ชุมชนเมาะสือแม อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส / The Development of Community Welfare Management : A Case Study of Mohsuemae Community Helping Funeral, Amphoe Muang, Changwat Narathiwat |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน : กรณีศึกษากองทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิต 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน : กรณีศึกษากองทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิต กลุ่มเป้าหมายมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มแกนน าประกอบด้วย ประธาน และคณะกรรมการกลุ่ม 6 คน 2) สมาชิกกลุ่ม 24 คน รวม 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การเข้าพบปะกับแกนน ากลุ่ม การจัดเวทีประชุมกลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ สามารถท าให้การบริหารจัดการได้ผลจริงและเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สมาชิกและคณะกรรมการสวัสดิการชุมชน จ าเป็นต้องตระหนักถึงความส าคัญในการก่อตั้งกลุ่มกองทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิต ชุมชนเมาะสือแม เพื่อช่วยกระตุ้นให้สมาชิกและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีความกระจ่าง รวดเร็ว เสมอภาค และความสะดวกต่อการให้บริการ การบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน ซึ่งมีกระบวนการท างานที่เป็นกลุ่มช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชนของกองทุนโดยน าข้อมูลไปประชาสัมพันธ์ การจัดท าเอกสาร การให้บริการ และชี้แจงประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับให้ประชาชนในชุมชนอื่น ๆ รับทราบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบริหารจัดการงานสวัสดิการชุมชนต่อไปอย่างมีคุณภาพ 2. ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน กองทุนช่วยเหลือผู้เสียชีวิต ชุมชนเมาะสือแม อ าเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ 1) การขาดจิตสาธารณะของสมาชิก 2) ภาระงานของคณะกรรมการด้านการให้บริการแก่สมาชิก 3) ช่วงเวลาของคณะท างานไม่ตรงกัน
The purposes of this qualitative research were to examine 1) the results of the development of community welfare management: a case study of funeral fund and 2) problems and obstacles in the development of community welfare management. Thirty samples drawn by purposive sampling were from the two target groups including 1) the leading groups of 6 chairperson and the committee members and 2) 24 group members. Meeting with the leading groups; forums; observation; interview and questionnaires were techniques and instruments used for data collection. Descriptive statistics was employed for data analysis.The findings were as follows.1. Effective welfare management enhanced successful administration and community benefits. The welfare community members and its committee had to realize the importance of setting up Mohsuemae community funeral fund. The members together with other people as a result were encouraged to participate in clear, fast and equal activities as well as convenient service. The teamwork process allowed the members to support the community welfare management by publicizing information, preparing documents, providing service and informing the membership benefits to other communities which would employ the information as a guideline to develop their community welfare management. 2. Major problems and obstacles in the development of community welfare management included 1) the members? lack of public mind; 2) the committee? s job description in providing service and 3) incompatible working hours of the committee. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | ยูสนานี สาเล็ง | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
--นโยบายและการพัฒนา
--ปัญหาทางเศรษฐกิจ
|
|
Contributor: |
Name: |
สุชาดา ฐิติระวีวงศ์ |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2554 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2195 |
|
Counter Mobile: |
43 |
|