ชื่อเรื่อง/Title หลักการจัดการศึกษาอิสลามของผู้บริหารและครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี / The Implementation Principles on Islamic Education of Administrators and Religious Teachers in Islamic Private School in Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาอิสลามของผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ใน 2 ด้าน คือ ด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา และหลักสูตรการศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาอิสลามของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะของครูในทัศนะอิสลาม ด้านมารยาทของครูอิสลามศึกษา และด้านรูปแบบและวิธี การสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาอิสลามของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ทํางาน และขนาดโรงเรียน และ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาอิสลามของผู้บริหารและครูอิสลามศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารจํานวน 34 คน และครูอิสลามศึกษาจํานวน 288 คน จากประชากรทั้งสิ้น 1,628 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที (t-test) และค่าการทดสอบเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาอิสลามของผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านหลักสูตรการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาอิสลามของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ผลเปรียบเทียบระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาอิสลามของครูอิสลามศึกษา ที่ มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณทํางาน และขนาดโรงเรียน ต่างกัน มีระดับการดําเนินการโดยภาพรวมแตกต่างกัน ยกเว้นครู อิสลามศึกษาที่ มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทํางานต่างกัน มีระดับการดําเนินการตามหลักการจัดการศึกษาในอิสลามไม่แตกต่างกัน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาอิสลามของผู้บริหาร ใน 2 ด้าน ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การดําเนินการตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ตั้งไว้ไม่บรรลุผลเท่าที่ ควรโรงเรียนควรแก้ปัญหาด้วยการจัดอบรมสัมมนากระบวนการดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เชิงปฏิบั ติการปัญหาหลักสู ตรแต่ละโรงเรียนไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันโรงเรียนควรแก้ปัญหาด้วยการจัดทําหลักสูตรอย่างเป็นเอกภาพระหว่างโรงเรียน โดยเริ่มจากกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย ส่วนปัญหาของครูอิสลามศึกษาใน 3 ด้าน ปัญหาที่พบมากที่ สุดคือ ไม่ตรงต่อเวลา โรงเรียนควรแก้ไขด้วยการปลูกฝังจิตสํานึกให้กับครู ปัญหาการแต่งกายไม่สุภาพ โรงเรียนควรมีระเบียบบังคับเรื่องการแต่งกายที่ชัดเจนและครูทุกคนต้องปฏิบัติตามปัญหาครูใช้เทคนิควิธีในการสอนแบบเดิมๆ ครูต้องแก้ปัญหานี้ด้วยการมั่นศึกษาหาความรู้เทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อนํามาใช้ในการสอน

This research was intended : 1) to examine the implementation of the Islamic education principles of the administrators in Islamic private school in regard to curriculum and aims and objectives of education; 2)to examine the implementation of the Islamic education principles of the religious teachers in Islamic private school in regard to teachers' characteristics, teachers' ethic, and teaching methods; 3) to examine the compared means of the implementation of the Islamic education principles of the religious teachers in Islamic private school acrooss sexes,ages, educational backgrounds, teaching experiences, and school sizes; and 4)to delineate the problem and suggestions in relation to the implementation principles on Islamic education of administrators and religious teachers in Islamic private school. The samples of this study consisted of 34 administrators and 288 religious teachers from the total population of 1628. The data was collected using questionnaires. The analysis of data was based on percentage, arithmetic means, standard deviation, t-test and F-test. The results of the study are as follows: 1) In overall and in each aspect,the implementaion of Islamic education principles of administrators is in the high level with the exception of curriculum which is in the moderate level. 2)In overall and in each aspect, the implementation of Islamic education principles of religious teachers is in the high level. 3) In overall, the compared means of the implementation of Islamic education principles of religious teachers across across school sizes is significantly different with the exception of sexes, ages, educational backgrounds, and teaching experiences.4)With respect to the problems and suggestions, it is recommended that the specific programs be organized to help the schools to achieve the aims and objectives of education. The school durriculum which is not yet standardized should be standardized. It is encouraged to be first implemented among school net. In regard to religious teachers, the sense of responsibility should be imparted in order to solve the problem of umpunctuality.The school should also have teachers abide by the schools' regulations in regard to schools uniform. Rather,those using the traditional methods of teaching are encouraged to acquire new teaching approaches and to make use of those approaches in thwir teaching.
     ผู้ทำ/Author
Nameฮอซาลี บินล่าเต๊ะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2228
     Counter Mobile: 30