ชื่อเรื่อง/Title เจตคติต่อการพนันฟุตบอลและพฤติกรรมการเล่นพนันฟุตบอลของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี / An Attitude toward Football Gambling and Football Gambling Behaviors of Youths in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติต่อการพนันฟุตบอลและพฤติกรรมการเล่นพนันฟุตบอลของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในจังหวัดปัตตานี จํานวน 400 คน จําแนกเป็นเยาวชนที่เล่นพนันฟุตบอลและไม่เล่นพนัน กลุ่มละ 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. เยาวชนมีระดับเจตคติต่อการพนันฟุตบอลในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 69.5 รองลงมามีเจตคติต่อการพนันระดับต่ำและสูง ร้อยละ 17.0 และ 13.5 ตามลําดับ ทั้งนี้เยาวชนที่เล่นการพนันฟุตบอลมีเจตคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลสูงกว่าเยาวชนที่ไม่เล่นพนันฟุตบอล อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 2. ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ปัจจัยด้านจิตวิทยาสังคมได้แก่ ประสบการณ์การเล่นพนันของตนเอง ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความสนใจในกีฬาฟุตบอล ทีมฟุตบอลที่ชื่นชอบ การติดต่อคบค้าสมาคมกับผู้เล่นพนันฟุตบอล และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอล มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับเจตคติต่อการพนันฟุตบอล 3. พฤติกรรมการเล่นพนันฟุตบอลของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี พบว่า เยาวชนที่เล่นพนันฟุตบอลร้อยละ 94.5 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ์รู้จักการเล่นพนันฟุตบอลจากเพื่อน/คนรู้จัก เริ่มเล่นพนันฟุตบอลเมื่ออายุน้อยที่สุด 10 ปี ช่วงอายุ 14-18 ปี เป็นช่วงที่เริ่มเล่นพนันฟุตบอลมากที่สุด เหตุผลที่เริ่มเล่นพนันฟุตบอลและที่ยังเล่นอยู่เพราะทําให้มีความสนุกสนานเร้าใจในการเชียร์ฟุตบอล โดยเฉพาะฟุตบอลสโมสรต่างประเทศที่มีการถ่ายทอดสด ส่วนใหญ่เล่นพนันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 3-6 คู่ใช้เงินสดในการพนัน จ่ายเงินก่อนการแข่งขัน แทงพนันกับโต๊ะบอลด้วยตนเอง อาศัยข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กีฬารายวันในการเล่นพนัน ไม่เคยถูกจับกุมทั้งนี้เยาวชนร้อยละ 71 ต้องการจะเลิกเล่นพนันฟุตบอล

This research aimed to study an attitude toward football gambling and football gambling behaviors of youths in Changwet Pattani. the sample consisted of 400 youths in Pattani, comprising200 gamblers and 200 non-gamblers.A questionnaire was used in data collecting.Percentage,arithmetic mean,standard deviation,t-test,and Chi-square were used in data analysis.The findings were as follows:1.the youths with moderate attitude towards gambling comprised the biggest proportion of 69.5% while those with low and high attitude comprised 17.0%and 13.5%, respectively. the gamblers' attitude towards football gambling was significantly higher than that of the non-gamblers.2.there were significant relationships between the attitude toward football gambling and population factors including sex,age,occupation,monthly income; social psychology factors including gambling experiences; and supporting factors including interest in football, favorite football teams,association with football gamblers, and information exposure to football matches.3.the football gambling behaviors of the youths revealed that 94.5% of them were male. most learned to gamble from friends/acquaintances. the earliest age to start gambling was 10 years old; most started between 14-18 years old. the reason for the start and the continuation of gambling was the excitement in cheering matches,especially those of foreign leagues which were televised live. most gambled twice a week on 3-6 matches each time. most used information from daily sports newpapers in making decisions and thay themselves paid in cash to gambling agencies before each match started. most had never been arrested.however,71% of the youths wanted to stop gambling on football.
     ผู้ทำ/Author
Nameอันวา ดูมิแด
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--สตรีเด็กและเยาวชน
     Contributor:
Name: ปราณี ทองคำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2317
     Counter Mobile: 38