ชื่อเรื่อง/Title ปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา (อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Problems of Teaching and Learning of Islamic Studies in the Curriculum of Islamic Studies of the Lower-Secondary : Schools in the Municipality of Three Sourthern Border Provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา(อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามความเห็นของหัวหน้างานวิชาการและครูสอนอิสลามศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา(อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนและข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา (อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) ประชากรที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 6 คน 2) ประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ หัวหน้างานวิชาการโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 12 คน และครูสอนอิสลามศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา (อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามความเห็นของหัวหน้างานวิชาการและครูสอนอิสลามศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัญหาการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา (อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามความเห็นผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 4 ด้านพบว่า ปัญหาด้านหลักสูตรและการนําไปใช้ คือ หลักสูตรอิสลามศึกษาไม้สอดคล้องกับผู้เรียนและสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ เทคนิคการสอนของครูสอนอิสลามศึกษาบางท่านยังคงเป็นรูปแบบเดิมไม่มีความหลากหลาย ปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ จํานวนและประเภทของสื่อการเรียนการสอนอิสลามศึกษาที่มีจํานวนน้อย ส่วนปัญหาด้านวัดและประเมินผลนั้นมีอยู่มาก เนื่องจากครูสอนอิสลามศึกษาได้ดําเนินการวัดและประเมินผลตามจุดมุ่งหมายและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ได้กําหนดไว้ในหลักสูตร 3) ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา(อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามความเห็นของหัวหน้างานวิชาการและครูสอนอิสลามศึกษา คือจัดทําหลักสูตรอิสลามศึกษาที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาและมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ให้มีการจัดอบรมบุคลากรทุกปี ผู้บริหารและกรมการปกครองท้องถิ่นควรเข้าใจบริบทการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรอิสลามศึกษา(อิบตีดาอียะฮฺ) พ.ศ.2540 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล สามจังหวัดชายแดนภาคใตตามความเห็นของหัวหน้างานวิชาการและครูสอนอิสลามศึกษา คือ ควรจัดทําหลักสูตรที่เหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียนและตามสภาพความเป็นจริง และควรเน้นความรู้ ทักษะและภาคปฏิบัติ

This study was a survey research which was aimed to 1. Study degrees of problems of the teaching and learning of Islamic studies in the Curriculum of Islamic Studies of 1997(Ibtidaiyah) at a lower secondary education in schools in the municipality of three southern border provinces of Thailand according to the opinion of the school?s chief of the academic affairs and Islamic studies teachers. 2. Study problems of the teaching and learning of Islamic studies in the Curriculum of Islamic Studies of 1997(Ibtidaiyah) at a lower secondary education in schools in the municipality of three southern border provinces of Thailand according to the opinion of school administrators. 3. Find out recommended solutions and type of the educational provision in the Curriculum of Islamic Studies of 1997(Ibtidaiyah) at a lower secondary education in schools in the municipality of three southern border provinces of Thailand. Populations of the study were as follows; Six of school administrators were selected for the interview and 12 of the chief of the academic affairs and 92 Islamic studies teachers were selected to fill the questionnaires. Instrument of the study were questionnaires and interviews.The findings were as follows;1. According to the opinion of the head of the academic affairs and Islamic studies teachers, the findings were indicated that degrees of problems of the teaching and learning of Islamic studies in the Curriculum of Islamic Studies of 1997(Ibtidaiyah) at a lower secondary education in schools in the municipality of three southern border provinces of Thailand were generally at the moderate level. 2. According to the opinion of school administrators in four expects, the findings were showed that problems of the teaching and learning of Islamic studies in the Curriculum of Islamic Studies of 1997(Ibtidaiyah) at a lower secondary education inschools in the municipality of three southern border provinces of Thailand were as such: 1. With regards to the problem relevant to curriculum implementation, it showed that the Curriculum of Islamic Studies was not consistent with learners and current situations. 2. With regards to a problem relevant to teaching and learning, it showed that teacher?s techniques of teaching were primitive not varied. 3. With regards to the problem relevant to teaching aids, it showed that there were few teaching aids on Islamic studies 4. With regards to a problem relevant to the measurement, it showed that there were very few problems since the measurement had been done in accordance with the standards state in the curriculum. 3. With regards to recommended solutions of problems of the teaching and learning of Islamic studies in the Curriculum of Islamic Studies of 1997(Ibtidaiyah) at a lower secondary education in schools in the municipality of three southern border provinces of Thailand, schools administrators were of the opinion that the Islamic study curriculum should be the continuity of primary and secondary educations and that curriculum should learners and local needs. There should be annual training of educational personnel as well as school administrators. In addition, Local Administrative Department should clearly understand the context of Islamic studies instructional activities. With regards to recommended solutions from chiefs of academic affairs and Islamic study teachers, the findings were indicated that the curriculum development should be based on learners authentic abilities by emphasizing on both theoretical and empirical knowledge.
     ผู้ทำ/Author
Nameนูรีย๊ะ รักษ์ปราชญ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาฉบับเต็ม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3521
     Counter Mobile: 31