|
บทคัดย่อ/Abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี 2)ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี และ 3)ระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานีอนามัยตำบลปะกาฮะรังของสตรีในตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาสตรีอายุ 35-60 ปี ที่ผ่านการคัดกรองและขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับบริการตรวจคัดกรอโรคมะเร็งปากมดลูกของสถานีอนามัย จำนวน 80 คน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2549 และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจะจง (Purposive sampling) จำนวน 10 คน เพื่อสัมภาษณ์เจาะลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของสตรี แบบสอบถามการรับรู้ข่าวสาร แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานีอนามัยตำบลปะกาฮะรังหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีของคู-เดอร์-ริชาร์ดสัน ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกเท่ากับ 0.71 และ 0.76 ส่วนแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริการของสถานีอนามัยตำบลปะกาฮะรัง ด้วยวิธีแบบสอบซ้ำ (Test-retest)เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1.สตรีร้อยละ 78.8 มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แหล่งข่าวสารส่วนใหญ่มาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เอกสารแผ่นพับและอาสาสมัครสาธารณสุข 2.สตรีร้อยละ 35 มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกระดับดี ได้ 30-39 คะแนน สตรีร้อยละ 65 มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกระดับปานกลาง ได้ 20-29 คะแนน 3.สตรีมีความพึงพอใจต่อการบริการของสถานีอนามัยปะกาฮะรังโดยร่วมอยู่ในระดับมาก
The purpose of this descriptive research was to examine women's perception of knowledge and information regarding cervicl cancer as well as their satisfaction of health service provided at Health Care Center in tambon Pakaharang,Muang district,Pattani province. The subjects under study were 10 women aged 35-60, selected by purposive sampling from 80 Health Care Center during October 1,2005-September 31, 2006. the in-depth interview and a set of questionnaires were employed for data collection, which were then analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. The results were as follows: 1) 78.8 percent of the subjects were well-informed about cervical cancer. the major sources from which they received the information were public health officials,health brochures and public health volunteers; 2)While 35 percent of the subjects had good knowledge about cervical cancer, 65 percent of them had moderate level of knowledge of the disease;and 3)The subjects were, overall, satisfied with the health service provided at Pakaharang Health Care Center. |