ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา / Factors Affecting Physical Exercise Behavior of Undergraduate Students at Institute of Physical Education - Yala Campus
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาสถาบันการพละศึกษาวิทยาเขตยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (One-way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.9 ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 31.4 เป็นนักศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ ร้อยละ 63.9 นักศึกษาร้อยละ 91.6 ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่ออกกำลังกาย ร้อยละ 87.3 และได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการออกกำลังกายจากการประชาสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษาฯ ร้อยละ 48.4 2. นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.4 มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 นักศึกษาร้อยละ 83.9 มีความรู้มากที่สุดใน การออกกำลังกายที่ให้ผลดีต่อสุขภาพควรปฏิบัติอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85 และ นักศึกษาร้อยละ 24.1 มีความรู้น้อยที่สุดในการออกกำลังกายควรหลังจากรับประทานอาหารแล้ว อย่างน้อย 30 นาที ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 253. นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 62.0 มีเจตคติเกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาร้อยละ 44.8 มีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกายทำให้เกิดความสนุกสนาน และร้อยละ 17.7 มีเจตคติไม่ดีต่อการออกกำลังกายทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น4. นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 51 มีแรงสนับสนุนทางสังคมโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.8 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมมากที่สุด คือ คนในครอบครัวสนับสนุนให้นักศึกษาออกกำลังกายและเล่นกีฬา และร้อยละ 24.4 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมน้อยที่สุด คือ ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และความชำนาญในเรือง การออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อไปเผยแพร่ต่อชุมชนต่อไป 5. นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มีพฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 31.8 มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ปฎิบัติมากที่สุด คือ นักศึกษานิยมออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ เช่น ลู่วิ่งไฟฟ้า ดรัมเบล เป็นต้น ร้อยละ 31.4 นักศึกษาผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกครั้หลังจากการออกกำลังกาย และร้อยละ 22.7 มีพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตัวแปรด้าน เพศ ชั้นปี คณะ โรคประจำตัว การรับรู้ข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

This research was conducted to 1)examine factors affecting physical exercise behavior of undergraduate students, 2) compare the affecting factors and 3) explore the way of encouraging physical exercise behavior of the research subjects. the samples were 299 undergraduates in 2008 academic year. the major instrument was questionnaire on factors affecting physical exercise behavior of the samples. frequency, percentage, mean,standard deviation, t-test and f-test (One-way ANOVA) were used in analyzing process.The research findings were as followed.1. 58.9% of the subjects were female. 31.4% were sophomores. 63.9% belonged to the faculty of education. 91.6% had no congenital disease. 87.3% took physical exercise. 48.4% learned about physical exercise information feom their institute.2. 61.4% of the samples had an average level of physical exercise knowledge or 60% mean value. most of them (83.9%)learned that at least 30 minutes should be spent for effective physical exercise or 85% mean value. Only 21.4% of the subjects knew that physical exercise should be performed at least 30 minutes after meals.3. 62% of the subjects had an average level of attitude to ward physical exercise. helped excretory system.4. 51% of the samples showed an average level of social support. 35.8% were mostly supported to do physical exercise and sports by thier families. 24.4% received the least social support in providing them with knowledge and expertise in doing physical exercise appropriately so as to distribute the knowledge to the community. 5. 44% of the subjects showed an average level of physical exercise behavior. the most popular behavior of 31.8% of the samples was using sports equipments such as treadmill and dumbbell. 31.4% did muscle relaxation after physical exercise. behavior rarely performed by 22.7% of the samples included giving correct information and suggesting physical exercise doing to others.6. Opinions and social encouragement affected the subjects' physical exercise behavior at the significant level of 0.05. on the other hand, variables like sex, year, faculty, congenital disease, information perception and exercise knowledge did not affect their physical exercise behavior with no significant level of 0.05.
     ผู้ทำ/Author
Nameนุสรัน เฮาะมะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหา
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2190
     Counter Mobile: 28