|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลปิยามุมัง อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะสุภาพของผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายเเละหญิงซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลปิยามุมัง อำเภอ ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะทางประชากร วิถีชีวิต และภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคร์สเเควร์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยทางลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นพศหญิง อยู่ในวัยผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-69 ปี) มีสถานภาพสมรส อาศัยอยู่ในครอบครัวขยายและมีสถานภาพเป็นหัวหน้าครอบครัว ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ และยังทำงานมีรายได้ ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ ทำสวนยาง ทำนา 2. ปัจจัยด้านวิถีชีวิตผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการรับประทานอาหารครบถ้วนถูกต้องระดับปานกลาง การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันระดับดี มีสุขนิสัยระดับปานกลาง และส่วนใหญ่ไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่สูบบุรี่ มีการประเมินสุขภาพตนเองปานกลาง เจ็บป่วยบ้างเป็นบางครั้ง มีโรคประจำตัว 3 อันดับแรกได้แก่ โรคความดัน ปวดเมื่อย และหอบหืด มีความวิตกกังวล เกี่ยวกับเรื่องการเจ็บป่วยและสุขภาพ รายได้ และเหตุการณ์ความไม่สงบ 3. ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้สูงอายุเพศหญิงมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าเพศชาย ผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-69 ปี)มีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผูสูงอายุตอนกลาง (อายุ 70-79 ปี) และตอนปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ผู้สูงอายุสถานภาพสมรสมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผู้ที่ป็นหม้าย หย่า ผู้สูงอายุที่ๆไม่ได้เรียนหนังสือมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ ผู้สูงอายุที่ทำงานมีรายได้ได้มีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผู้ที่ไม่ทำงาน และผู้สูงอายุในครอบครัวขยายมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวเดี่ยว ผู้สูงอายุที่มีบริโภคนิสัยระดับปานกลางมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากที่สุด ผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติกิจวัตระดับมากมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากที่สุด ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผ้ที่ออกกำลังกาย และผู้สูงอายุที่ไม่สูบบุหรี่มีภาวะเกณฑ์ปกติมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุที่ประเมินสุขภาพตนเองปานกลางมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากที่สุด ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผูที่ไม่มีโรคประจำตัวเล็กน้อย และผู้สูงอายุที่ที่มีความวิตกกังวลมีภาวะสุขภาพเกณฑ์ปกติมากกว่าผู้ที่ไม่มีความวิตกกังวล ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อายุ การรับประทานอาหาร/บริโภคนิสัย สุขนิสัย และการสูบบุหรี่ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ สถานภาพ การศึกษา การทำงานมีรายได้ ลักษณะครอบครัวที่อาศัย การปฏิบัติกิจวัตร การออกกำลังกาย การประเมินสุขภาพตนเอง การมีดรคประจำตัว และความวิตกกังวล ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ
The objectives of this research were 1) to study factors in health status and health status of the elderly in Tambon Piyamumung, Amphoe Changwat and 2) to study factors in health status which relation health status. The samples were 205 male and female elderly people at the age of 60 up, residing in Tambon Piyamumung, Amphoe Yaring, Changwat Pattani. The instrument applied for data collection was an interview. The inertview questions included the issues of the demography, the lifestyle and the health status of the elderly. the data were statistically analyzed by the frequency, the percentage, mean, Chi-Square. The findings were as follows: 1. Demographic Factors: the majority of the elderly were female at the early old age (60-69 years) and marital status residing in extended families of which they were the heads. Most of them were illiterate and earned their living from animal husbandry, Para rubber trees and rice paddies. 2. Lifestyle Factors: Most of the elderly had moderate level of food consumption, good level of daily activity and moderate level of health habits. The majority did not take exercise and not smoke. Self-health assessment was in moderate level. Thay were sometimes ill. The first three incurable diseases mostly discovered illness and health, income and violent situations. 3.Health status: The most elderly had standard health status. It was found higher in the female elderly than the male ones; the early ones (60-69 years) than the middle ones (70-79) and the late ones (80 years up); the married ones than the widows and the divorcees; the illiterate than the literate, the working ones than the non-working ones, the ones in extended families than the ones in nuclear families. It was found most in the elderly with moderate level of food consumption, good level of health habit and good level of daily activity. The non-exercising elderly possessed greater standard health status than the exercising ones and the non-smoking ones greater than the smoking ones. The elderly with self-health assessment of moderate level had the most standard health status. The ones with incurable diseases had slightly greater standard health status than the ones without such diseases; and the ones with anxiety greater than the non-anxious. The results of the hypotheses indiccated that age, food consumption, health habit and smoking related to the health status with statistically significant level at .50 Gender, education, eamings, family type, daily activity, physical exercise, self-health assessment, incurable diseases and anxiety had no relation to the health status of the elderly. |