ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี / A study of needs for self-development of academic supporting staff in prince of songkla university, pattani campus
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพในการพัฒนาตนเองและความต้องการในการพัฒนาตนเองของงบุคคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นความต้องการในการพัฒนาตนเอง โคยจำแนกอายุ ระดับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 292 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดค่าสถิติที่นำมาใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัยพบว่า1.สถาพในการพัฒนาตนเอง และความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า 1.1 มีระดับของการพัฒนาสมรรถภาพในวิชาชีพ ในภาพรวม 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ อยู่ในระดับมาก 1.2 ปัญหาที่พบ 3 อันดับแรกได้แก่ ความไม่ต่อเนื่องในการจัดทำโครงการ เนื่องการเปลี่ยนแปลงไปตามวาระของผู้บริหาร ขาดการวิเคราะห์และหาข้อสรุปด้านการติดตามและประเมินผลโครงการ/กิจกรรมของการพัฒนาบุลากร และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่ไม่สามารถจัดการได้ทุกสายงานและทุกระดับงาน 1.3 ระดับความต้องการเพื่อการพัฒนาตนเองในภาพรวม อยู๋ในระดับมาก โดยเมื่อแยกรายด้าน คือ ด้านทักษะเพื่อการปฏิบุติงาน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังกัป ด้านทักษะ ด้านมนุษย์ อยู่ในระดับมาก และในด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจกรรมที่กระทำโดยตนเองกับกิจกรรมที่กระทำเป็นหมู่คณะ ระดับความต้องการอยู๋ในระดับมาก2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลาสายสนับสนุนวิชาการ สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า 2.1 บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีอายุแตกต่างกัน วุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีความต้องการในการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน 2.2 บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงานหรืออายุราชการแตกต่างกัน มีความต้องการในการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน3. แนวทางและข้อเสนอแนะ สำหรับการนำไปใช้ปรับปรุงและพิจราณาการวางแผนและหารดำเนินการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้แก่ ควรมีการดำเนินการด้านการวางแผนพัมนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การวางแผนใกรดำเนินการระยะสั้น โดยมุ่งเน้นในก้านการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนหลักสูตรในการพัฒนาบุคลากร เพื่อการพัฒนาสมรรรถภาพในวิชาชีพแต่ละสายงานควบคู่ไปกับการสร้างทัศนคติที่ดีต่องงานและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำแผนในระยะยาว ได้แก่ การจัดทำแผนในด้านการบริหารทรัพยากรบุคลากรของมหาวิทยาลัย

Aims of this research were a) to study current situations, problems, and needs for self development of academic supporting staffs in Prince of Songkla University, Pattani campus, b) to compare opinions in self development needs by ages, academic qualifications, and working experiences. Semple of the study was the 292 academic supporting staffs. The whole population was studied. Statistical analyses employed in this study were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and F-test. The results were shown below. 1. Results of study of current situation, problems, and needs for self development of academic supporting staffs in Prince of Songkla University, Pattani campus were as follows: 1.1 Level of the overall professional efficiency development which contained three parts, knowledge, skill, and attitude, were at high level. 1.2 The first three highest problems were inconsistency of project because of changing of administrators, lacking of analysis and synthesis in staff development projects, and staff development project was not cover all job fields and levels. 1.3 Level of needs for self development was at high level. Three parts 1.3 Level of needs for self development was at high level. Three parts of working skill,concept, skill, and human were at high level. For development activity part, self conduct activity and group conduct activity were at high level. 2. Results of self development need comparison of academic supporting staffs in Prince of Songkle University, Pattani campus were as follows: 2.1 Self development needs of academic supporting staffs who had different ages and academic qualifications were not statistically different at .05 significant level. 2.2 Academic supporting staffs who had different working experience demonstrated not different self development needs. 3. Suggestions for improvement and planning of staff development of Prince of Songkhla University, Pattani campus was that planning and implementing of staff development of the university should be divided into two time frames, short term and long term. In the short term, project and staff development curriculum should be planned to develop professional efficacy of each job fields according with development of working attitude and related environments. In the long term, human resources development plan should be conducted.
     ผู้ทำ/Author
Nameพิรญาณ์ รัตน์น่วม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
     เนื้อหา/Content
เนื้อหา
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2549
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2891
     Counter Mobile: 34