|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การดูแลตนเองด้านจิตใจของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้: กรณีศึกษาอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา / Psychological Self-Care Teachers Working in Situations of Unrest in Southern Thailand: A Case Study of Sabayoi District, Songkla Province | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลตนเองด้านจิตใจของข้าราชการครูที่ปฏิบีติงานในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ กรณีศึกษาอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน เป็นข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนภายในเขตพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่2 การดูแลตนเองด้านจิตใจ ซึ่งแบบสอบถามทั้ง 2 ส่วนนำมาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และหาความเที่ยงของแบบสอบถามการดูแลตนเองด้านจิตใจ โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อแลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเทียงเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลตนเองด้านจิตใจอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลตอนเองด้านจิตใจอยู่ในระดับสูง 6 ด้านจาก 7 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมา คือ ด้านการเผชิญปัญหา ด้านการดูแลตนเองโดยทั่วไป ด้านการพัฒนาการรู้จักตนเอง ด้านการพัฒนาระบบสนับสนุนทางสังคม และด้านการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตามลำดับ ส่วนด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอยู๋ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับ แรก และอยู๋ในระดับสูง คือ การใช้เวลาในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด การใช้เวลาว่างอยู่กับนักเรียนอย่างมีคุณค่า แม้ว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น และหลีกเหลี่ยงการดื่มสุราและการเสพติดต่าง ๆ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2 ข้อ และอยู๋ในระดับปานกลาง คือ การออกกำลังกาย โดยการวิ่ง เดิน แอโรบิค หรือเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่องครั้งละ 30 นาที และการยอมรับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นและพยายามวางเฉย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้ทักษะการดูแลตนเอง ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา การออกกำลังกาย และการสื่อสารของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สถานการณ์ความไสงบในภาคใต้ |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --ปัญหาทางสังคม ด้านการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย --สุขอนามัยชุมชน |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2551 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 2244 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 35 | |||||||||||||||||||||