ชื่อเรื่อง/Title สถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี / Religious Architecture of the Thai Muslim Communities in Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมโดยภาพรวมของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีทางศาสนา (การละหมาด) วิวัฒนาการสถาปัตยกรรมทางศาสนาอิสลาม รูปแบบและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนา ของชุมชนชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดปัตตานีครอบคลุมพี้นที่รวม 12 อำเภอ <br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นสถาปัตยกรรมทางศาสนาอิสลามประเภทบาลาเซาะฮฺ สุเหร่า และมัสยิด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษษเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม<br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางสังคมโดยภาพรวมของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดถึงร้อยละ 79.58 มีความหนาแน่นอยู่ในเขตอำเภอเมืองปัตตานี ประกอบอาชีพทางการเกษตร การประมงชายฝั่ง ค้าขาย และรับจ้างตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่เกี่ยวข้องกับอาชีพรวมกันอยุ่เป็นชุมชนไทยมุสลิม มีสุเหร่า หรือมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน การใช้ภาาาในการสื่อสารนิยมพูดภาษามาเลย์ในหมู่พวกเดียวกัน ส่วนการสื่อสารทั่วไปพูดภาษาไทย<br /> <dd>สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีทางศาสนา (การละหมาด) ได้แก่ บาลาเซาะฮฺ สุเหร่า และมัสยิด นอกจากใช้ประกอบพิธีทางศาสนาแล้วยังเป็นสถานที่รับความรู้ การอบรมทางศาสนาและการดำเนินชีวิต อีกทั้งเป็นที่รวมแห่งความศรัทธาของชาวไทยมุสลิมด้วย ศาสนสถานเหล่านี้ได้มีการก่อสร้างขึ้นอย่างปราณีตและได้รับการดูแลทำนุบำรุงจากชุมชนเป็นอย่างดีนอกจากนั้นยังมีการก่อสร้างศาลาละหมาดขึ้นในสถานที่ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม วิวัฒนการสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีมีวิวัฒนาการที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก และวิวัฒนาการจากภายในบริเวณจังหวัดปัตตานีเอง ในระยะแรกการก่อสร้างอาคารทางศาสนามุสลิมมีขนาดเล็ก ใช้ไม้เป็นวัสดุการก่อสร้างได้รับอิทธิพลจากชวา บาหลี เช่น บาลาเซาฮฺที่บ้านควนลางา และสุเหร่าอาโฮ ที่บ้านตันหยง ส่วนอาคารที่สร้างด้วยอิฐ เช่นมัสยิดกรือเซะ มีการนำโค้งแหลม แบบโกธิคมาใช้ และที่มัสยิดดาโต๊ะมีการนำโค้งครึ่งวงกลม ซึ่งเป็นแบบการก่อสร้างของจักรวรรดิออตโตมันในตุรกีมาใช้ และการใช้โดมขนาดใหญ่เป็นหลังคาคลุมห้องโถง ซึ่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้กันในเปอร์เซียและอินเดีย การส่งสัญญาณเรียกชาวมุสลิมให้มาประกอบพิธีละหมาดที่สุเหร่าหรือมัสยิด ระยะแรกใช้กลองขนาดใหญ่ยาวประมาณ 1.5 เมตร ต่อมาได้มีการสร้างหออะซาน และติดตั้งลำโพงขยายเสียงใช้แทนเสียงกลอง<br /> <dd>รูปแบบและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนาในจังหวัดปัตตานี มีรูปแบบแตกต่งกันตามขนาดของอาคาร และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น บาลาเซาะฮฺมีรูปแบบคล้ายบ้านพักอาศัยของชาวไทยมุสลิมทั่วไป โครงสร้างใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง เมื่อชุมชนขยายตัวมากขึ้นจึงมีการก่อสร้างสุเหร่า ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างจากบ้านพักอาศัยและเป็นอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา โครงสร้างทั่วไปยังใช้ไม้ในการก่อสร้า<br /> และรูปทรงหลังคายังเหมือนบาลาเซาะฮฺ เริ่มมีการก่อสร้างหออะซานประจำสุเหร่าใช้ไม้ในการก่อสร้างเป็นหอสูง ส่วนบนสุดมีหลังคามุงด้วยสังกะสี จากการติดต่อกับโลกภายนอกและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการก่อสร้างจึงมีการนำคอนกรีตเสริมเหล็กและก่ออิฐฉาบปูนมาใช้ในการก่อสร้างมัสยิดที่มีขนาดใหญ่กว่าสุเหร่า เพื่อเป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมสำหรับชุมชนขนาดใหญ่ การใช้วัสดุก่อสร้างแบบใหม่นี้ทำให้สามารถออกแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนาในจังหวัดปัตตานีให้มีความงดงามและรูปแบบหลากหลายมากขึ้น ได้มีการนำองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้กันในต่างประเทศมาใช้ในการออกแบบและก่อสร้างมัสยิดในจังหวัดปัตต่นี<br /> <dd>การก่อสร้างอาคารทางศาสนาอิสลามทั้งบาลาเซาะฮฺ สุเหร่า และมัสยิดมีหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม กล่าวคือ ด้านหน้าของอาคารหันไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังเป็นทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศทางสู่เมืองมักกะฮฺ ส่วนกลางของผนังอาคารด้านทิศตะวันตกมีการสร้างผนังยื่นจากตัวอาคารแบบโค้งเรียกว่า Mihrab ภายในผนักโค้งมีแท่นเรียกว่า มิมบัร ใช้สำหรับให้อิหม่ามกล่าวนำสวดในพิธีละหมาดหรือให้โอวาทอบรมแก่มุสลิมที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหน้าอาคารเป็นลานโล่งจะมีบ่อน้ำหรือที่สำหรับชำระร่างกายก่อนเข้าพิธีละหมาด

This research is intended to study the general social characteristics of Muslim communities in pattani province, the architecture of buildings for religious ceremonies (prayers), and the evolution of Islamic architecture and its components. It is a qualitative research consisting of a documentary research, field research and photography. The area investigated covers 12 districts of Pattani. The samples which are the Islamic architectural styles shown in Barasoh, Surao and Masjid have been selected regarding their architectural value and respresentation of each style of the Islamic architecture. The descriptive analysis has then been performed.<br /> From the findings about the general social characteristics of the Thai Muslim communities in Pattani, it has been found that 79.58% of the population of this province are Muslims, and Muang district is densely populated. The careers of the people are in agriculture, coastal fisheries, business and labor employment. The people ive in the areas that facilitate their work. These Thai Muslim communities center around Surao or Masjid. The language for group communication is Malay language while that general communication is the Thai language.<br /> The buildings, Barasoh, Surao and Masjid, are used for the purpose of general learning, religiouns learning and ways of living besides for religious ceremonies. These places are also the center of the Thai Muslim's faith. They have been intricately constructed and carefully maintained by the communities. However, the prayed halls have been built in various locations to accommodate the Thai Muslims' religious ceremonies.<br /> The evolution of Islamic architecture in Pattani is the effect of both the external influence and the internal architectural evolution in the province. At the beginning, the Thai Muslims' religious buildings were small wooden constructions influenced by Javanese and Balinese architectures. These can be seen at the Barasoh in Ban Kuanla-nga and at Surao Aho in Ban Tanyong. Later, brick buildings like Masjid Gruse used the gothic pointed arch and Masjid Datoh used the arch fashioned during the Ottoman Empiare of Turkey. The use of a big dome covering a hall, Which is a Persian or Indian architecture, has also been used. A large drum, about 1 1/2 meters long, which is used to summon the daily prayers in Surao or Masjid has been replaced by Azam Minaret for the Suroa is also wooden with galvanized iron sheet roof. Through communication with the outside wold and development of the architectural tecnhology, ferro-concrete and bricklaying have been used in building Masjid, which is bigger than Surao, to be the religious center of large Muslim communities. These new construction materials facilitate elegant and various religious to building Masjid in Pattani.<br /> There are certain Islimic principles to consider in constructing religious buildings like barasoh, Surap and Masjid. The front of the building must face the east and the back to the West that is the direction of Mecco. About the center of the west wall an arbour called Mihrab is built. Inside this arbour, a pedestal called Mimbar is situated facing West for the Iman to use in leading daily prayers or religious teaching. In front of the building are the courtyard and a well or washing place for people to use before their daily prayers.
     ผู้ทำ/Author
Nameวสันต์ ชีวะสาธน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
คำนำ
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
บทที่ 3 สถาปัตยกรรมศาสนาอิสลาม
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 40-63)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 64-86)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 87-107)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 108-136)
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--สถาปัตยกรรม
     Contributor:
Name: กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2544
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 6188
     Counter Mobile: 71