ชื่อเรื่อง/Title สถาปัตยกรรมวังเจ้าเมือง บริเวณ 7 หัวเมืองของปัตตานี / The Architecture of Governor
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรมของวังเจ้าเมือง 7 แห่ง คือ วังเจ้าเมืองปัตตานี ยะหริ่ง หนองจิก รามัน ยะลา ระแงะ และสายบุรี ในด้านที่ตั้ง สภาพแวดล้อม รูปแบบและโครงสร้าง การใช้พื้นที่และลวดลายตกแต่ง พร้อมกับศึกษาประวัติศาสตร์ของระบบการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การศึกษาวังเจ้าเมืองต่อไป <br /> <dd>ผลการวิจัย พบว่า ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของวังเจ้าเมืองในอดีตที่สร้างขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น ตั้งอยู่ในชุมชน ค่อนข้างห่างไกลชุมชน และอยู่ในชนบทห่างไกลชุมชน อาณาเขตของวังเจ้าเมืองซึ่งแต่เดิมมีอาณาเขตกว้างขวาง ต่อมาได้ถูกแบ่งแยกหรือทำกิจการอย่างอื่น จึงเหลือแต่เฉพาะพื้นที่ของวังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน วังเจ้าเมืองที่มีสภาพรกทรุดโทรมขาดการดูแลรักษา เช่น วังเจ้าเมืองรามัน ยะลา ระแงะ หนองจิก และวังเจ้าเมืองที่ได้รับการดูแลอยู่ในสภาพดี คือวังเจ้าเมืองยะหริ่ง และวังเจ้าเมืองสายบุรี ส่วนวังเจ้าเมืองปัตตานีมีการรื้อเรือนเจ้าเมืองเก่าทิ้งทั้งหมด และสร้างเรือนใหม่ทับบนพื้นที่เดิม<br /> <dd>รูปแบบและโครงสร้าง เรือนเจ้าเมืองบริเวณ 7 หัวเมือง มีรูปแบบแตกต่างกันเรือนที่มีรูปแบบเรือนมุสลิม เช่น เรือนเจ้าเมืองปัตตานี รามัน และยะลา เรือนแบบผสมผสานยุโรป เช่น เรือนเจ้าเมืองยะหริ่ง เรือนที่ได้รับอิทธิพลจากอินโดนีเซีย เช่น เรือนเจ้าเมืองสายบุรี เรือนที่ได้รับอิทธิพลจากตรังกานู เช่น เรือนเจ้าเมืองระแงะ และเรือนที่มีรูปแบบคล้ายสถานที่ราชการในสมัยราชกาลที่ 5 เช่น เรือนเจ้าเมืองหนองจิก ช่างที่ก่อสร้างเรือนส่วนใหญ่เป็นช่างพื้นเมือง ช่างชาวจีน ตรังกานู และอินโดนีเซีย โครงสร้างของเรือนเป็นแบบเรือนชั้นเดียวใต้ถุนต่ำปิดทึบและใต้ถุนสูงเปิดโล่ง เรือนสองชั้นแบบชั้นล่าง ก่ออิฐฉาบปูนชั้นบนโครงสร้างไม้ เรือนชั้นเดียวและสองชั้นโครงสร้างไม้ทั้งหลัง<br /> <dd>การใช้พื้นที่ เรือนเจ้าเมืองทั้งหลายสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยและว่าราชการอยู่ในเรือนเดียวกัน ดังนั้นการวางผังเรือนจะจัดพื้นที่ว่าราชการให้มีขนาดใหญ่ และอยู่ส่วนหน้าของเรือน ภายในเรือนกั้นเป็นห้องต่างๆ และมีโถงทางเดินติดต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของเรือน หากเจ้าเมืองใดมีเครือญาติและบริวารมาก จะสร้างเรือนแยกอยู่ต่างหาก สำหรับครัวแต่เดิมจะสร้างเรือนแยกไปอีกหนึ่งหลัง แต่ละเรือนเจ้าเมืองจะมีบ่อน้ำไว้ใช้อย่างน้อย 1 บ่อ อาจอยู่ในเรือนหรือนอกเรือน<br /> <dd>ลวดลายตกแต่ง เรือนเจ้าเมืองแต่ละแห่งมีการใช้ลวดลายตกแต่เรือนมากและน้อยแตกต่างกัน วัสดุที่ใช้ตกแต่ง เช่น ไม้ฉลุ ทำแบบลูกฟัก ทำบัว โลหะฉลุ และลวดเหล็กหล่อ ลวดลายที่ใช้ตกแต่งส่วนใหญ่ใช้ลวดลายแบบพรรณพฤกษา แต่ในเรือนเจ้าเมืองระแงะใช้ลวดลายทั้งแบบพรรณพฤกษา อักษรอาหรับ ลายเรขาคณิต และลายอื่นๆ ที่บริเวณส่วนต่างๆของเรือน เช่น ด้านล่างสุดของฝาผนังภายนอก ฝาผนังภายใน วงกบประตูหน้าต่าง บานประตูหน้าต่าง ซุ้มประตู ช่องแสง ช่องระบายอากาศใต้หลังคา เชิงชาย และสันหลังคา<br /> <dd>ระบบการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง มูลเหตุของการแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง เนื่องมาจากการทำสงครามและก่อขบถกับสยามตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 4 ครั้งจึงนำไปสู่การแบ่งแยกปัตตานี ออกเป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี ยะหริ่ง หนองจิก รามัน ยะลา ระแงะ และสายบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองเพื่อปกครอง 7 หัวเมือง ขึ้นเป็นครั้งแรกและมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองอีกต่อมารวม 9 ครั้ง จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิกระบบการปกครองจาก 7 หัวเมืองให้รวมเป็นเมืองเดียวกันขึ้น อยู่กับข้าหลวงมณฑลนครศรีธรรมราช สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดตั้งเป็นมณฑลปัตตานี แบ่งออกเป็น 4 เมือง คือ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และนราธิวาส และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น 3 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน

This research is intended to study the architecture of seven governors' palaces belonging to Pattani,Yaring,Nongjik, Raman,Yala,Ra-ngae and Saiburi governors. The palaces' geographical locations' architectural designs and structures' and use of space and decorative styles have been investigated in relation to the history of these seven towns, governmental system. This study is a qualitative research performed via documentary research, field research, interview and photographs.<br /> the findings show that the geographical locations of the governors' palaces are varied. The are in the community, quite far from the community, or in the rural area far from the community. The palace's territory used to be spacious but has been divided for other perposes to the current size. The deteriorated and untended palace and Saiburi palace has been maintained very well. Pattani palace was completely demolished and a new house was built at the same site. <br /> The designs and structures of these seven palaces are also varied. The muslim architectural style can be seen at Pattani,Raman and Yala palaces, while the European, Indonisia, Trengganu architectural influences can be seen at Yaring, Saiburi, and Ra-ngae palaces, respectively. Nongjik palace has been influenced by the styke of the governmental offices during the reign of influenced by the style of the governmental offices during the reign of King Rama V. The architects were mostly local or from China, Trengganu and Indonesia. As for structural style, some palaces are one-storey with low closed space or high open space underneath, some are two-storey with brick first floor and wooden second floor, and some are one-storey and two-storey wooden palaces.<br /> As for space design, since the palace was used for both residential and administrative purposes, a vast front quarter was designed for the administrative office. Behind it there were several rooms and a hallway leading to other parts of the building. If the governor had maney relatives and servants, he arranged for them to stay in separate houses in the compound. The kitchen was in a separate building. For every building in the compound, there was a well inside or outside.<br /> Each palace was decorated differently. The decorative materials were carved wood planks or base molding, carved metals and cast iron work. The design used most was the floral design. In Ra-ngae palace, the design used were floral, Arabic calligraphy, and geomentrical designs. There were other design at the lower parts of the building, for example, at the bottom part of the outside wall, inside wall, door and window frames and panes, vaultage, lay light, ventilation, eaves and batten ridge.<br /> In the governmentalsyatem, a cause of the division of Pattani into seven towns : Pattani, Yaring< Nongjik< Raman, Yala, Ra-ngae and Saiburi, was four wars and insurgencies against Siam during the reigns of King Rama I-IV. King Rama II first appointed a governor to each town. Later, King Rama V repealed this governmental system and combined these 7 towns into one province affiliated to nakhon Si Thammarat Country. During the reign of King Rama VI, Pattani Country was established with 4 affiliated towns: Pattani, Yala, Saiburi and narathiwat, and leter to change tn to three provinces : Pattani, Yala, and Narathiwat until at present.
     ผู้ทำ/Author
Nameวสันต์ ชีวะสาธน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
คำนำ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วังเจ้าเมืองบริเวณ 7 หัวเมือง
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 41-70)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 71-95)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 96-120)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 121-140)
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--สถาปัตยกรรม
     Contributor:
Name: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2543
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 7899
     Counter Mobile: 67