ชื่อเรื่อง/Title ปัญหาและความต้องการของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี / Problems and needs of islamic studies teachers in learning and teaching islamic studies in public schools under the development project of islamic studies learning and teaching in primary and secondar
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานีตามความเห็นของครูสอน<br /> อิสลามศึกษา ในด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล 2)เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี ตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ ช่วงระดับที่ต่างกัน 3)เพื่อศึกษาความต้องการของครูสอนอิสลามศึกษาในการการจัดเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานีกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ ครูอิสลามศึกษา จำนวน 228 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบแบบถาม ตอนที่ 2 เกี่ยวกับปัญหาของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี ตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิด เกี่ยวกับความต้องการของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1 ) ระดับปัญหาของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอน<br /> อิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามความเห็นของครูสอนอิสลามศึกษา ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก 2)การเปรียบเทียบระดับปัญหาของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี ตามตัวแปร อายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ ช่วงระดับที่ต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3)ความต้องการของครูสอนอิสลามศึกษาในการการจัดเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานีดังนี้ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้มีความต้องการมากที่สุดคือ อบรมด้านหลักสูตรแบบเข้มเพื่อความเข้าใจและพัฒนาผู้สอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีความต้องการมากที่สุดคือ นำเทคนิคใหม่ๆที่หลากลายในการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน มีความต้องการมากที่สุดคือ ต้องการสื่อและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เพียงพอ ด้านการวัดผลและประเมินผล มีความต้องการมากที่สุดคือ คู่มือการวัดและประเมินการเรียนการสอนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกระดับการสึกษา

<br /> This study was aimed at: 1) determining the level of Islamic studies teachers? problems in teaching and learning Islamic studies in public school under the Development Project of Islamic Studies Learning and Teaching in Primary and Secondary School (DPILTPSS) in Pattani province pertaining to the curriculum and its implementation, organization of teaching and learning activities, utilization of instructional media, and measurement and evaluation, 2) comparing the level of Islamic studies teachers? problems in teaching and learning Islamic studies<br /> in public school under DPILTPSS based on differences in sexes, ages, degrees of education, experiences in teaching, and 3) studying the needs of Islamic studies teachers? in teaching and learning Islamic studies in public school under DPILTPSS.<br /> The population of the study was composed of 228 Islamic studies teachers. The study instrument, questionnaires, was divided into 3 parts. Demographic data was solicited in the first part. In the second part, the 5-Likert-type questions were asked for the determination of the level of Islamic studies teachers? problems in teaching and learning Islamic Studies in public school under DPILTPSS. The last part, collecting data of teachers? needs, was open ended. The parameters used for a data analysis was based on a percentage, a mean and a standard deviation.<br /> The findings of this research are as follows:<br /> 1) In overall, the level of Islamic studies teachers? problems in teaching and learning Islamic studies in public school under DPILTPSS was moderate. Considering its individual aspect of the level of Islamic studies teachers? problems in teaching and learning Islamic studies it is found to be moderate in the curriculum and its implementation, organization of teaching and learning activities, and measurement and evaluation, but high in utilization of instructional media.<br /> 2) The comparison of the level of Islamic studies teachers? problems in teaching and learning Islamic studies in public school under DPILTPSS based on differences in sexes, ages, degrees of education, experiences in teaching is found not to be different in both overall and its each aspect.<br /> 3) The Islamic studies teachers' needs in the mentioned aspect are that they are in more need to conduct training courses in curriculum design and uses. Similarly, in learning activities, they are also in need of using modern teaching approaches. As for the learning materials, they also in need of progressive materials. In the field of evaluation, they need the standardized evaluation guide as used in all levels.<br /> <br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอัดนันย์ อาลีกาแห
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3065
     Counter Mobile: 38