ชื่อเรื่อง/Title พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา / Food consumption behavior of the secondary students in muang district area, yala province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ตามตัวแปร เพศ อยุ ระดับ การศึกษา รายได้ของนักเรียน ความรู้ และเจตคติ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1-6ปีการศึกษา2552โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐานและt-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนเพศหญิงกับเพศชายมีสัดส่วนใก้ลเคียงกัน เพศหญิง ร้อยละ51.20 อายุต่ำกว่าและเท่ากับ 16ปี ร้อยละ57.20 อายุมากกว่า16ปี ร้อยละ 42.80 ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แลมัธยมศึกษาตอนต้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน รายได้ต่อเดือนของนักเรียนมากกว่า2,500บาทต่อเดือน ร้ยละ52.70 และต่ำกว่า2,500บาทต่อเดือน ร้อยละ47.30
2.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับความรู้มากร้อยละ 47.30และระดับความรู้น้อย ร้อยละ52.7 นักเรียนมีความรู้มากที่สุด คือการรับประทานอาหาร ประเภท ปิ้ง ย่าง รมควันเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ตอบถูกร้อยละ74.0และมีความรู้น้อยที่สุด คือ น้ำเนประโยชน์ต่อร่างกาย คือน้ำดื่มใสสะอาด ตอบถูกเพียงร้อยละ22.80
3.นักเรียนมีเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย3.33 นักเรียนมีเจตคติที่ดี ค่าเฉลี่ยสูงสุด4.12 คือนักเรียนรู้สึกชื่นชมคนที่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และเจตคติไม่ดี ค่าเฉลี่ย 2.22คือนักเรียนรู้สึกเป็นคนทันสมัเมื่อรับประทานอาหารจานด่วน เช่น พิซซ่า ไก่ทอด
4.นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ย 1.83 นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมดี ค่าเฉลี่ยสูงสุด2.41คือการล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทาอาหาร และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย1.31คือการรับประทานอาหารไม่ครบ5หมู่
5.ผลการเปรียเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของนักเรียน และความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ต่างกัน แต่เจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ.001


The purpose (objective) of this research is.
1. To study the food consumption behavior of the secondary student in Muang district area, Yala Province.
2. To make a comparison of the food consumption behavior of the secondary student in Muang district area, Yala Province according to variables, gender, age, educational attainment, the income of the student, knowledge and the viewpoint. The samples used for the study are high school students ranging from grade 7 ? 12 academic year 2009 of Kanaratsadonbumrung school Muang district Yala Province.Numbering of 334 students. The instrument which used for the research is Questionnaire Interview, Data analysis by the method of computer programming. The statistic which used for data analysis is value of Frequency Percentage, means, standard deviation and T.test.
The result of the research found that :
1. The ratio of female and male has similar result which is 51.20%. Age below 16 and 16 years old is averaing 57.20% 16 year above averaging 42.80%. Both student from junior high school and senior high school has similar ratio. The income of the students is more than 2,500 bath. Which is 52.70%.Those who receive less than 2,500 bath is 47.30%.
2. The knowledge of the student concerning the behavioral food consumption in the high level is 47.30%. Those who possess less knowledge is 52.7%. For those students who have the highest knowledge are those who consume roasted food, barbecue and smoked food which is risky to cause cancerous. Those who answer the correct questions is 74.00%. For the least knowledge is answered the question concerning the usefulness of water for the body. Which is clean drinking water. Those who answered the correct ones are 22.80%
3. The viewpoint of the student toward the behavioral food consumption as a whole is in an average level which is 3.33% those students who possess good viewpoint got the highest average of 4.12% those are students who are admired those taking nutritious food. Which is good for health. Those who have bad viewpoint is 2.22. They are considering themselves as modern who intake only fast food such as pizza and fried chicken.
4. The food consumption behavior of the secondary student as a whole is in an average level with the average of 1.83%. The good behavioral food consumption is 2.41% such as washing hands before eating. Those who possess unsuitable behavior toward the food consumption is 1.31% such as those who do not take balance diet
5. The result of the comparison towards the food consumption behavior of the secondary student in Muang district area, yala province found that : genders ages, educational attainment, the income of the students and the knowledge concerning the behavioral food consumption is difference which causes no different in the behavioral food consumption. With the level of statistical significance of .05 but the viewpoint concerning the behavioral food consumption is different. Which causes the behavioral food consumption different. So the level of statistical significance is .001.
     ผู้ทำ/Author
Nameกุลนิดา สายนุ้ย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--อาหารและการบริโภค
     Contributor:
Name: ประชา ฤาชุตกุล
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3833
     Counter Mobile: 34