ชื่อเรื่อง/Title การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียน 2 ระบบ: กรณีศึกษาโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา / Learning management of science strand level 3 in dual-system school: A case study of Raman siriwit school Raman district Yala province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียน 2 ระบบ: กรณีศึกษาโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ในด้าน1) การพัฒนาการจัดทำหลักสูตรรงเรียน 2 ระบบ 2) กระบวนการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) สภาพการจัดการเรียนรู้ 4)ผลการจัดการเรียนรู้ และ 5) ปัญหาเเละเเนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ งานวิจัยนี้ออกเเบบการวิจัยแบบกรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้เวลาอยู่ในสนามวิจัยตั้งเเต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2552 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 รวมระยะเวลา 10 เดือน เก็บข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และทำแบบสอบถามแบบปลายเปิด กลุ่มที่ศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์จำนวน 3 คน ครูสอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 3 คน นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 30 คน ผู้ปกครองจำนวน 8 คน ชาวบ้านจำนวน 5 คน และนักวิชาการจำนวน 2 คน ผลการวิจัยพบว่า
1.โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรโรงเรียน 2 ระบบ เพื่อแก้ปัญหที่มีจำนวนนักเรียนเข้ามาศึกษาน้อย เเละเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของชุมชน ผลด้านการวางแผนมีการวางแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารพัฒนาและจัดทำหลักสูตรโรงเรียน 2 ระบบ การดำเนินการให้บุคลากรภายในร่วมคิดวางแผนตามกระบวนการ PDCA จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างการบริหารหลักสูตรโรงเรียน 2 ระบบ การนิเทศ กำกับ ติดตามเเละประเมินผลมีการปฏิบัติการตามเเผนการใช้หลักสูตรเป็นรายปี ตรวจสอบผลงานอย่างต่อเนื่องจากผู้อำนวยการโรงเรียน เเต่ยังขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ด้านการปรับปรุง ขณะนี้ทางโรงเรียนกำลังปรับปรุงจัดทำโครงการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรโรงเรียน 2 ระบบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.กระบวนการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ด้านการวางเเผน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่วางแผนเเละสร้างหลักสูตร การดำเนินการมีการร่างหลักสูตร วิเคราะห์เนื้อหา และพัฒมนาโครงร่างหลักสูตรตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2554 ได้รับการติดตาม ตรวจสอบ จากผู้อำนวยการโรงเรียน ปีละ 2 ครั้ง ขาดหน่วยงานที่เข้าร่วมประเมินผลหลักสูตรโดยขจตรง มีการนำผลการประเมินผลไปปรับปรุง แก้ไข กระบวนการบริหาร การจัดการความรู้ ครูมีการวางเเผนความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดคล้อง กับความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตครู ดำเนินการและปฏิบัติตามที่วางแผนไว้ ใช้วิธีการสอนด้วยการบูรณาการตามเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้ตรงกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษษขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ครูได้รับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล จากผู้อำนวยการโรงเรียน ตรวจสอบเเผนการจัดกาเรียนรู้ของทุกสัปดาห์ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูเดือนละครั้ง และครูมีการประเมินมาปรับปรุง แก้ไข คิดเเละห่าวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆเสมอ
3.สภาพการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย และถามตอบ สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้เเก่ หนังสือ ใบความรู้ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ วัดผลการเรียนรู้ตามรายจุดประสงค์ โดยวัดจากการทดลอง ทำแบบฝึกหัด ทำข้อสอบทั้งปรนัยเเละอัตนัย
4.ผลการจักการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนอย่ในนระดับต่ำ มีระดับผลการเรียนรู้ คือ 1 เเละ 2 ด้านความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้จากการใช้หลักสูตรโรงเรียน 2 ระบบ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ เนื่องจากการเรียนเเบบบูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับศาสนา สอนโดยการบูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2554ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระการเรียนรูและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามวิถีศาสนาที่นักเรียนนับถือ
5.ปัญหาเเละเเนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า ขาดอุปกรณ์การทดลอง ขาดบุคลากรที่สอนตรงตามสาขาวิชา ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ขาดความร่วมมือจากทุกฝ่าย และยังขาดการติดตาม กำกับ ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 จากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง








This research aimed to study about learning management of science strand level 3 in
dual-system school: a case study of Raman Siriwit School in 1) the development of arranging dual-system school, 2) learning process of science curriculum and management of science strand, 3) the condition of learning management, 4) the result of learning management and 5) problems and ways to develop learning management. The research methods were a case study design. The researcher spent 10 months of the research on the field area from June 2009 to March 2010. The data were collected from non-participant observation, informal interviews, in-depth interviews, focus group, and open-questionnaires. Group study consisted of 3 school administrators, 3 science teachers, 30 students, 8 parents, 5 villagers, and 2 academics.
The findings were as follows:
1. Raman Siriwit School has developed dual-system school curriculum to solve a number
of students to study less and to adjust the curriculum to meet the needs of the community. A planning strategy was made to manage curriculum and create the curriculum dual-system school. Operation personnel in co-thought out process PDCA, establishment dual-system school,
supervision monitoring and evaluating a program from director of school implement the plan annually and audit work continued, the lack of following-up, controlling, checking and evaluation
reviews from the authorities being directly responsible. The improvement was updating the school project preparation work for the dual-system school to meet the basic core curriculum 2551.
2. Process science curriculum, In the planning heads of learning science strand plan and
create program. The research progresses were content analysis and curriculum development schemes under the basic curriculum 2544 monitored by the director of school 2 times a year. However, there were no agencies directly responsible for them. The implementation of the evaluation process to improvement of learning, teachers are planning knowledge and skills in science and technology in line with the aptitude and interests of learners, focusing on the learners
using in everyday life, implementation and compliance plan, teaching by integrating the contents of learning to match of basic curriculum 2544, the following-up, checking and evaluation teachers
by director of school , following-up, checking lesson planning every weeks, evaluation of teachers learning management once a month and the implementation of teacher evaluation to
improve ways of thinking and new learning always.
3. Conditions of learning management were lecturing and question-response methods
implemented by the teacher. The instructional media was used through textbook science and information sheet. Measurement and evaluation of learning were used by more objective experiments, exercises to test the multiple-choice and subjective.
4. Results of learning management were the results of learning achievement of students
learning science strand level 3 showed ?the poor level? rating a scale of 1 and 2 .The satisfaction
of learning management of science strand level 3 in dual-system school was found most satisfied
because the integrated teaching and learning contents of the scientific and the religious content. Enable students to link learning content and can be applied in daily life by way of religious student accordingly. However, the ratio of the contents of learning science at the third floor with
the contents of learning in religion does not appear in the school curriculum. Because of teachers?
learning in integrated classes manually.
5. Problems and development learning management were lake of experimental equipments, appropriate staff members, problems about cultural unrest in the three southern border provinces and cooperation from all parties.
     ผู้ทำ/Author
Nameอามีนา ดอฆอมูเซ๊ะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ณัฐวิทย์ พจนตันติ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3024
     Counter Mobile: 34