|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / The Research and development on learning network innovation of teachers and educational staff to develop student quality in three southern border provinces | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของสถาบันผลิตครูในการส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้ของครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR) ของบุคคลสามฝ่าย คือ นักวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครูประจําการในโรงเรียนเครือข่ายจํานวน 6 โรง คือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนสุวรรณไพบูลย์ โรงเรียนสายบุรีแจ้งประชาคาร โรงเรียนสตรียะลา โรงเรียนนราธิวาส และโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านจะบังติกอ และบุคลากรทางการศึกษาซึ่งแก่ ผู้อํานวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารระดับผู้อํานวยการและรองผู้อํานวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 9 เขต ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จํานวนทั้งสิ้น 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ทั้งแบบที่เป็นทางการ (Formal interview) และไม่เป็นทางการ (Informal Interview)โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(Indepth interview) ตลอดจนการทําสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน บทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้และนวัตกรรมเครือข่ายการศึกษาศรีตรัง (Sritrang Educational Network : SEN) โดยแบ่งการศึกษาออกเป?น 3 ระยะ คือ 1. ขั้นวางแผน (Planning) 2. ขั้นปฏิบัติ (Action) และ 3. ขั้นสะท้อนผล (Reflection) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ ขั้นวางแผน พบว่าปัญหาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีดังนี้ครูผู้สอนมีเวลาสอนไม่เพียงพอ เพราะต้องเดินทางไป-กลับ ตามเวลาที่ทางทหาร กําหนด อีกทั้งยังมีงานอื่นอีกมากที่ต้องทํา อาทิ การตรวจฟันและสุขภาพนักเรียน งานธุรการโรงเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียน ส่งผลให้มีเวลาในการเตรียมการสอน และปฏิบัติการสอนไม่เพียงพอที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเป็นเลิศได้ ขาดบรรยากาศในการทํางานที่กระตือรือร้น และทุ่มเท จากปัญหาที่พบ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร่วมกันการวางแผนเพื่อแก่ปัญหาคุณภาพผู้เรียนเป็น 2 ระดับคือการวางแผนพัฒนาตนเองในรูปของการจัดทําแผนพัฒนาตนเอง หรือ ID Plan และการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันระดับเครือข่าย ขั้นปฏิบัติ พบว่าแนวปฏิบัติที่นํามาซึ่งความสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทําได้โดยการโดยการแก้ปัญหาที่มุ้งเน้นให้เกิดการแสดงบทบาท หน้าที่ของแต่ละกลุ่มอย่างจริงจัง ดังนี้ กลุ่มผู้สอน มีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อนําเสนอเป็นผลการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) และ ผลการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practice)เพื่อพัฒนาเป็นชุมชนนักปฏิบัติต่อไป(Community of Practice) กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา อันได้แก่ ผู้อํานวยการโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 6 โรง ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทในการส่งเสริม ประเมินและติดตามผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของครูอย่างจริงจัง ตลอดจนส่งเสริมให้มีบรรยากาศในการทํางานที่ดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีบทบาทในการจัดกิจกรรมให้สมาชิกเครือข่ายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางาน โดยเฉพาะการเปิดเวทีคุณภาพเพื่อนําเสนอผลการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) และ ผลการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practice) ตลอดจนทําหน้าที่อบรมให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อนึ่ง การเผยแพร่ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนําไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ ในการวิจัยครั้งนี้ มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อนําไปเผยแพร่จํานวน 6 นวัตกรรม คือ การพัฒนาทักษะการคิดด้วยโครงงานคณิตศาสตร์ของโรงเรียนสายบุรีแจ้งประชาคาร การพัฒนาทักษะการคิดด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนสายบุรีแจ้งประชาคาร โครงการส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี โครงการเพื่อนและครูช่วยหนูได้ ของโรงเรียนนราธิวาส โครงการบ้านเลขที่ 3 ของโรงเรียนนราธิวาส เพลงคณิตศาสตร์ ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 1 ขั้นสะท้อนผล พบว่าครูและบุคลากรทางการศึกษาในเครือข่ายได้สะท้อนคิดและสะท้อนผลการปฏิบัติ ดังนี้ ควรแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย อาทิ เชิญชวนครูและบุคลากรทางการศึกษาเกษียณอายุที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในการสอนและจัดการเรียนรู้เข้าร?่วมเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรรวมกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเพื่อทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของครูที่มีประสบการณ์น้อย หรือครูไม่ตรงวุฒิ ควรเปิดเวทีคุณภาพเพื่อให้มีการนําเสนอผลการปฏิบัติที่ดี และผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ เป็นกิจกรรมที่ครูและบุคลากรทาการศึกษาพอใจมาก เพราะสามารถนําความรู็ และประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปประยุกต์ใช่ได้อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาเครือข่ายการศึกษาศรีตรัง (SEN) ครูและบุ้คลากรทางการศึกษา ได้สะท้อนคิดดังนี้ เห็นด้วยที่จัดให้มีเครือข่ายการศึกษาศรีตรังมีความเหมาะสมกับบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเครือข่ายการศึกษาศรีตรังให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยกิจกรรมให้สมาชิกเครือข่ายได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสม่ําเสมอโดยมีการทําปฏิทินในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แน่นอนและเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ควรมีการอบรมในการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เกิดทักษะทางเทคโนโลยีที่สามารถนําไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ SEN ตลอดจนสามารถใช้นวัตกรรมเครือข่ายการศึกษาศรีตรัง (SEN) การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรหาทุนสนับสนุนเพื่อให้การพัฒนาเครือข่ายการศึกษาศรีตรังเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป This research was intended to study the role of teacher production institution for enhancing in teacher learning that effecting to the quality students , and is operate and propose on the promotional policy in educational quality development . The research was participational action research among three stakeholders , faculty researcher , school network teachers from six schools , Benchamahrachutis , Suwanpaiboon , Saiburi Jangprachakarn , Satree Yala , Narathiwas , and Municipality school (Chabangtigor). The Educational staff were the school principals , supervisors , regional sections in nine regions , three southern border provinces. Questionair and interview were used for collecting data and focus group was including to gather the opinions on some problems. The innovation for sharing knowledge of teachers and researchers was Sritrang Educational Network : SEN , established by faculty of Educational. There ware three stages of operation ; planning stage , action stage , and reflection stage. The researcher finding ware show that in the first stage there was many problems affecting to the quality of student learning ; was time on journey to school with the soldiers watches. It affect to unenough time to teach students. The teachers lacked of moral in working , and caursed is their willingness. The situations of unpeace , especially teachers were crimed and killed , caused to low quality and uneffectiveness for students in three southern border provinces. From these problems , the teachers were participated to solve the problems by developing individual plan and operating on SEN network. For the second stage , the action stage , the teachers played role in the operating for their good practice to be the best practice by implementing on community of practice : CoP. Then the other group of school administrations from six schools were supervised followed up towards the student quality development. On the process of their activities , the faculty of education played role in guiding for knowledge sharing by presenting on good รายงานวิจัย การส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ SEN : CONNECT PEOPLE CONNECT EDUCATION -ฏ- practice and best practice , including on the job training for those teachers and the administrators continuously. For their best practices , the six innovations were selected to share and published. These innovation were 1) the mathematic project on thinking development,2) the science project on thinking development from Saiburi Jangprachakarn school , 3) teachers-students contribution project , 4) the house no.3 project from Narathiwas school , and 5) the math song project from the office of Pattani regional office I. In the third stage , reflection stage was found that all of teachers and Educational staffs shared knowledge on SEN network by the individuals and groups , and both of schools. SEN was implement to be the best tools for knowledge sharing and effectiveness in quality improvement. It also used in training through SEN network. It brought to the effectiveness in student development for quality , the best practice of the innovation . For the suggestions , there should be promoted and strengthen the system to maintain SEN network be sustained by budgeting all location , to faculty of education , school for increasing computers and providing the facilities to the teachers and administrators. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา --การจัดการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2553 | |||||||||||||||||||||
Type: | งานวิจัย/Research Report | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 2420 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 48 | |||||||||||||||||||||