ชื่อเรื่อง/Title ประเพณีลาซัง-แต่งงานโต๊ะชุมพุก ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี / Lasang-Taochumpuk marriage in T.Kuan, A.Panarae, Pattani province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่อง ประเพณีลาซัง-แต่งงานโต๊ะชุมพุก ตําบลควน อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรม คุณค่าทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ แบ่งออกได้ 3 ยุค
ยุคการพึ่งพาธรรมชาติ การร่วมกลุ่มประกอบพิธีกรรมลาซัง-แต่งงานโต๊ะชุมพุกให้ความสําคัญต่อธรรมชาติเพื่อขอขมา ตอบแทนคุณ จะได้ไถกลบและเผาซังข่าวเพื่อเตรียมฤดูการทํานาปีต่อไปในเดือนหก มีหมอทางพิธีกรรมดูฤกษ์ยามวันเวลาที่เป็นมงคลแต่ละปี ใช่กอซังข่าวจัดแต่ง "หุ่นโต๊ะชุมพุก" เพียงพอให้รู้ว่าหุ่นผู้หญิง หุ่นผู้ชาย สมมติชื่อว่า พ่อโพสี แม่โพสพ จะมีอาหารสําหรับบูชา และเซ่นภูมิเจ้าที่ พิธีกรรมจึงมีคุณค่าในแง่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เสริมสร้างขวัญและกําลังใจในการบนบานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ดลบันดาลให้แปลงนาข่าวมีความอุดมสมบูรณ์ ตามรูปแบบวัฒนธรรมตามความเชื่อ
ยุคอิทธิพลทางศาสนา พิธีกรรมลาซัง-แต่งงานหุ่นโต๊ะชุมพุกมีอิทธิพลทางศาสนาเข้ามาสร้างเงื่อนไขรูปแบบพิธีกรรมในการสร้างหุ่นโต๊ะชุมพุกให้้มีลักษณะท้องป๋องๆ สมมติชื่อว่า พ่อชุมพุก แม่สุนทรี เป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์ เพื่อการเคารพบูชา มีพระสงฆ์เข้ามาเป็นประธานในพิธีกรรม ยกระดับพิธีกรรมให้มีความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคุณค่าในเชิงสัญลักษณะแห่งความอุดมสมบูรณ์ ตามรูปแบบวัฒนธรรมความคิด ยุคการจัดการทางสังคม มีองค์การบริหารส่วนตําบลเข้ามาบริหารจัดการ ยกระดับประเพณี ลาซัง-แต่งงานโต๊ะชุมพุกให?เป็น "หนึ่งประเพณี หนึ่งการท่องเที่ยว" กําหนดจัดงานประจําปีตรงกับ "วันพืชมงคล" ลักษณะหุjนโต๊ะชุมพุกจะมีลักษณะผู้หญิงสวย ผู้ชายหล่อ มีเกียรติ์ มีฐานะทางสังคม ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน สมมติชื่อตามลักษณะความพึ่งพอใจ การคลี่คลายพิธีกรรมไปตามการบริหารจัดการ มีกิจกรรมหนุนเสริมทางสังคม คุณค่าพิธีกรรมเน้นความสามัคคีในชุมชนตามรูปแบบวัฒนธรรมตามความพึงพอใจ


This research is purposed to study Lasang-Taochumpuk marriage in T. Kuan, A. Panarae, Pattani which is mainly focused on the methods of Lasang ceremony cultural value, and relationship between local people and those involved activities. Data is collected via observation, interview, and group meeting. The findings are analyzed using description method which can be classified into 3 distinct periods as the follows.
Period of natural base - The nature is the most important to be considered for having Lasang ceremony. The activities are chiefly aimed to do apologize, appreciate and reward the nature that is the major factor supporting rice farming. Rice stubble will be ploughed for a second time and fired preparing the rice field for the next farming season. In order to complete all involved activities, Lasang-professor is needed to seek the most suitable date and time each year. A couple of Taochumpuk scarecrow is made from rice stubble and supposed to be married on the day. The male one is given name as Por-posee and the female is Mae-posop. In addition, foods are also provided to make offerings to the guardian spirits. Lasang ceremony in this age, therefore, follows cultural form of believe which exhibits ritual value in the way of being moral support and increased inspiration asking help from supernature to bring forth farming productivity.
Period of religion base- religion, in this time, dominates Lasang ceremony particularly in the part of creating Taochumpuk scarecrows. They are generated basing on big stomachs (bigger than the previous ones) which represent productivity and their names are defined as Por-chumpuk and Mae-soontree for the male and the female scarecrows, respectively. Moreover, monks are involved as the president of the ceremony to raise ritual value being as the symbol of abundance by following cultural pattern of thought.
Period of social management base- Subdistrict Administrative Organization plays a leading role to organize and raise the level of Lasang-Taochumpuk marriage to be ?one tradition one tour? which is held on Ploughing Ceremony Day each year. Furthermore, Taochumpuk scarecrows in this period are beautiful, smart, and rich looking since they are representatives of the community. Their names are given relying on satisfaction. Lasang ceremony, in this age, is required to follow social management. The value of the rite emphasizes on unity within the community by following the cultural format of satisfaction.
     ผู้ทำ/Author
Nameประสิทธิ์, รัตนมณี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameชนิศร์ ชูเลื่อน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
รายงานการวิจัย
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
     Contributor:
Name: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2553
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3707
     Counter Mobile: 38