|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ตัครีจญ์ตัวบทหะดีษในหนังสือบุฆยะฮฺ อัฏฏุลลาบ เล่มที่ 1 ของชัยคฺดาวูด เบ็น อับดุลลอฮฺ อัลฟะฏอนีย์ / The Takhrij of Hadith texts in the book Bughyat al-Tullab (volume 1) of Sheikh Dawud bin |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
งานวิจัยนี้มุ่งหมายที่ศึกษา 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตัดรีจญ์หะดีษ 2) ชีวประวัติของชัยคดาวูด เป็น อับดุลลอฮ อัลฟะฏอนีย์ 3) รายละเอียดทั่งไปกับหนังสือ บุฆยะฮอัฏฏุลลาบ และ 4) ระดับหะดีษที่ปรากฎในหนังสือ บุฆยะฮ อัฏฏูลลาบ เล่มที่ 1 งานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเอกสารงาน จากการวิจัยพบว่า 1.ตัครีจญ์หะดีษ หมายถึง การชี้แจงที่มาของหะดีษว่ามีผู้ใดบ้างในหมู่นักปราชญ์หะดีษที่ได้บันทึกไว้ในตำราหะดีษของตน สืบสานรายงานอื่นของหะดีษ ตลอดจนการศึกษาประวัติผู้รายงานหะดีษ และการวินิจฉัยเพื่อกำหนดสถานะหรือระดับของหะดีษนั้นๆ ส่วนวิธีการตัครีจญ์ที่นิยมมี 5 วิธีคือ 1) ตัครีจญ์หะดีษโดยพิจารณาจากสายรายงาน 2) ตัครีจญ์หะดีษโดยพิจารณาจากสำนวนหรือคำสำคัญ 3) ตัครีจญ์หะดีษโดยพิจารณาจากเนื้อเรื่องและความหมายของหะดีษ 4) ตัครีจญ์หะดีษโดยพิจารณาจากสภาพทั่วไปทั้งสายรายงานและสำนวน 5) ตัครีจญ์หะดีษโดยใช้สารสนเทศ 2.ชัยคดาวูด เป็นอับดุลลอฮ อัลฟะฏอนีย์ เกิดที่บ้านปาเระ ริมคลองกรือเซะ เมื่อปี ค.ศ.1769 แรกเริ่มท่านได้ศึกษาศาสนาอิสลามอยู่ที่ปัตตานีเป็นเวลา 5 ปี จากนั้นท่านเดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่อาเจะห์ เป็นเวลา 2 ปี และเดินทางสู่นครมักกะฮ โดยใช้เวลาศึกษาที่นั้นนานถึง 30 ปี และท่านได้ไปศึกษาที่นครมะดีนะฮ เป็นเวลา 5 ปี ชัยคดาวูดเป็นปราชญ์ผู้ชำนาญทางวิชาฟิกฮสังกัดมัษฮับอัชชาฟิอีย์ วิชาอุศูลุดดีนสังกัด มัษฮับอัลอะชาอิเราะฮ และวิชาตะเศาวุฟ ตามแนวทาง อัชชะฏอรียะฮ ท่านเป็นปราญ์ปัตตานีคนหนึ่งที่มีผลงานด้านวชาการมากมาย ท่านเสียชีวิตในปี ค.ศ.1847 ที่เมืองฏออิฟ 3.หนังสือ บุฆยะฮ อัฏฏุลลาบมีชื่อเต็มว่า บุฆยะฮ อัฏฏุลลาบ ลิ มุรีด มะอริฟะฮ อัลอัหกาม บิ อัศเศาะวาบ มีความหมายว่า ความประสงค์ของผู้แสวงหา ที่ต้องการบทบัญญัติต่าง ๆ ด้วยความถูกต้อง ส่วนปีที่แต่งของหนังสือเล่มนี้ผู้แต่งมิได้ ระบุว่าเขียนเสร็จเมื่อปี ฮ.ศ. ที่เท่าใดเนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้คือเกี่ยวกับฟิกฮ อัลอีบาดาต (บทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจ) 4.ระดับหะดีษที่เป็นสำนวนอาหรับในหรังสือบุฆยะฮ อัฏฏุลลาบ เล่มที่ 1 มีทั้งหมด 152 บท จากการตัดรีจญ์พบว่าหะดีษเศาะหี้หมีจำนวน 86 บท คิดเป็นร้อยละ 56.6 หะดีษเศาะหี้ห ลิฆ็อยริฮ มีจำนวน 13 บท คิดเป็นร้อยละ 8.6 หะดีษหะสันมีจำนวน 28 บท คิดเป็นร้อยละ 18.4 หะดีษหะสัน ลิฆ็อยริฮ มีจำนวน 7 บท คิดเป็นร้อยละ 4.6 หะดีษเฎาะอีฟมีจำนวน 10 บท คิดเป็นร้อยละ 6.6 หะดีษเฎาะอีฟ ญิดดันมีจำนวน 5 บท คิดเป็นร้อยละ 3.3 และหะดีษที่ผู้วิจัยไม่สามารถกำหนดระดับมีจำนวน 3 บท คิดเป็นร้อยละ 2.0
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | อันวา สะอุ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านศาสนา
--ผู้นำทางศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
อับดุลเลาะ การีนา |
Roles: |
|
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2553 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
3168 |
|
Counter Mobile: |
61 |
|