ชื่อเรื่อง/Title อานาชีด เสียงขับขานแห่งสันติภาพ / Anasyid the voice of peace
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องอานาชีดเสียงขับขานแห่งสันติภาพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมของบทร้องอานาชีดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงบทบาทและความสำคัญของบทร้องอานาชีดโดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอานาชีดในเบื้องต้น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษา รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ฐานข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกตการณ์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ อ,เมือง จ.ปัตตานี จำนวน 3โรง โรงเรียนปอเนาะ หรือเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดปัตตานีจำนวน 2โรง เก็บข้อมูลจากตัวแทนผู้รู้ด้านอานาชีด ครูตาดีกาดต๊ะครูปอเนาะ ศิลปินด้านอานาชีด นักเรียนตาดีกา นัดเรียนปอเนาะ หรือเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการบรรยาย จากการวิจัยเอกสารพบว่า ศาสนาอิสลามได้มีหลักการที่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตองการขับร้อง และการใช้เครื่องดนตรี ทั้งในเรื่องการอนุญาติ และการสั่งห้าม ซึ่งหลักการในเรื่องดังกล่าวนี้ได้มรการครอบคลุทในเรื่องการขับร้องอานาชีดด้วย ทั้งนี้ จากการวิจัยภาคสนามพบว่าอานาชีดมีประวัติความเป็น และพัฒนาการที่ยาวนานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยเริ่มแรกได้มัการรับรูปแบบการขับร้องอานาชีดจากภูมิภาคประเทศอาหรับ แพร่กระจายมายังภูมิภาคมลายู คือ ประเทสอินโดนีเซีย มาเลเซีย และพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเข้ามาเผยแพร่ในระยะแรกในปอเนาะ ตาดีกา และแพร่กระจายไปยังชุมชนในเวลาต่อมา ด้านบทบาทของการขับร้องอานาชีดจากผลการวิจัย พบว่า อานาชีดมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะเป็นสื่อสำคัญในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม พัฒนาและกระตุ้นเด็ก เยาวชน โดยเฉพสะพัฒนาการด้านการใช้ภาษามลายูส่งผลสำคัญในการหล่อหลอมบุคลิกของเด็กให้กล้าแสดงออก โดยเฉพาะในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่เนื้อหาสาระของอานชีดมุ่งเป้าหมายในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นแก่จิตใจผู้ขับร้อง อันจะนำไปสู้การสร้างสันติภาพในการอยู่ร่วมกันในสังคมต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับอานาชีดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์อานาชีดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่น่าสนใจ ได้เสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์อานาชีดมนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่น่าสนใจหลายประการ ได้แก่ การส่งเสริมให้ตาดีกา ปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ชุมชน และสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่บางแห่ง ได้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์ และสืบทอดบทร้องอานาชีด โดยใช้กระบวนการในรูปแบบการสอน การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอานาชีด โดยใช้กระบวนการในรูปแบบการสอน การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอานาชีด ทั้งในรูปแบบการจัดกิจกรรมแสดงอานาชีดในโรงเรียน ในชุมชนในช่วงเทศกาลที่สำคัญทางศาสนา เช่น วันรายอ ตลอดจนการจัดกิจกรรมอานาชีดในลักษณะของการแข่งขันโดยความร่วมมือของเครือข่ายในอานาชีดในพื้นที่ รวมทั้ง ควรมีการเปิดพื้นที่การจัดกิจกรรม การนำเสนอ รวมทั้งการแข่งขันเกี่ยวกับอานาชีดอย่าต่อเนื่อง และมีการสร้างเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกันระหว่างโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และควรมีการเปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อสืบทอดอานาชีดให้ความหลากหลาย เช่น ทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างพื้นที่อีกด้วย

Anasyid the Voice of Peace? is a qualitative research aiming to study the history of Anasyid in the three southern frontier provinces of Thailand, its roles and significance to the local populations. The research focused on ways and means to preserve lyrics of Anasyid through the participation of the local youth in data collection. The methodologies employed include literature review and analysis of existing documents and electronic database, field studies through in-depth interview, focus group and empirical observation. The sample groups cover three Tadeeka schools in Pattani and 2 Pondoks or the private Islamic schools. The information was collected from the Anasyid experts, Tadeeka?s and Pondok?s teachers, religious leaders, Anasyid artists, students of Pondok, Tadeeka and private Islamic schools in Pattani. The information analysis was done by the means of narration.The document based research indicates the boundary of singing in Islam and use of musical instrument in both permission and prohibition aspects which encompasses the art of Anasyid. However the field studies reveal the long history and evolution of Anasheed in the three southern frontier provinces. Anasyid was first derived from Arab countries and was spread to the Malay world namely Indonesia, Malaysia and present three southern frontier provinces of Thailand. At the initial stage, it was embraced by Pondok and Tadeeka and subsequently by the communities.The study on the roles of Anasyid signifies its vital role as a medium in inculcating the knowledge, understanding, ethnic of religion in children and youth in this region. It also enhances their proficiency in Malayu language and leadership skills. Other important contributions of Anasyid are happiness and relaxation especially in the face of unrest in the violence plagued southern Thailand. Anasyid has the profound message with an aim to sow the seed of peace in the mind of the singers and audiences which will lead to the peace and harmonious co-existence in the society.The target samples in the three southern frontier provinces suggested many interesting ways and means to preserve Anasyid in the region. The recommendations include encouragement of Tadeekas, Pondoks, private Islamic schools, community and high schools to preserve the Anasyid by incorporating it in the school curriculum, supporting all activities related to Anasyid in the form of Anasyid performance in the schools and communities during the religious festivals such as Eid and Anasyid competition with the cooperation from the Anasyid networks in various local communities.There should also be the continuous space for the activities, presentations as well as competitions if Anasyid. The network of Anasyid among Tadeeka, private Islamic schools, high schools should be formed. The diverse mediums of communication to preserve Anasyid such as radio, television, internet and cross communities? cultural exchange should be encouraged.
     ผู้ทำ/Author
Nameรอฮานี ดาโอ๊ะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
รายงานการวิจัย
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--ศิลปะการแสดง
อิสลามศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2553
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5129
     Counter Mobile: 70