|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอิสลามโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทย สำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนจริยอิสลามศึกษาอนุสรณ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี / Integrated Islamic Teaching-Learning by Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3 at Jariya Islam Suksa Anusorn School, Nongjik District, Pattani Province | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณผสมเชิงคุณภาพ ศึกษารายกรณี (Case Study) โรงเรียนจริยอิสลามศึกษาอนุสรณ์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครองและคณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษาด้านสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอิสลามโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนจริยอิสลามศึกษาอนุสรณ์ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้ของชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กับมาตรฐานการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และการบูรณาการกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ที่ใช้ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทย ฯ ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา จำนวน 7 คนผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ? 3 จำนวน 144 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 ? 3จำนวน 40 คน ผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 คน รวมเป็น 196 คน กลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1ศึกษานิเทศก์ เขต 1-2 ผู้เชี่ยวชาญอิสลามศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูเชี่ยวชาญระดับเขตพื้นที่ เขต 1-3 มีประสบการณ์สอนภาษาไทยมากกว่า 10 ปี หรือสอนอิสลามศึกษามากกว่า 5 ปีจำนวน 17 คน ผู้บริหาร ครูโรงเรียนจริยอิสลามศึกษาอนุสรณ์ จำนวน 8 คน รวมเป็น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแตกต่างกัน 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประเมินค่าสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครองและคณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา 2) แนวทางการวิเคราะห์ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1- 3 แยกตามลำดับชั้น สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และคณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา4) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ? 3 ครู ผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำผลการวิเคราะห์ทั้งสองส่วนมาบูรณาการกัน ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับผู้ปกครองและคณะ กรรมการอำนวยการสถานศึกษา ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอิสลาม โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนจริยอิสลามศึกษาอนุสรณ์ ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และแนวทางการวิเคราะห์ชุดแบบ ฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 สำหรับผู้เชี่ยวชาญ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้ของชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กับมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และการบูรณาการกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรอิสลามศึกษาพุทธศักราช 2546 พบว่า อยู่ในระดับมากทุกชั้น ส่วนความคิดเห็นด้านคุณภาพของคู่มือครูและ ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทยสำหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเคนดอลล์ พบว่า สอดคล้องกันในทางบวก ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านผู้เชี่ยวชาญพบว่า แบบเรียนมีความเหมาะสมได้มาตรฐานเทียบเท่ากับแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ และดีกว่าแบบเรียนทั่วไป มีการบูรณาการอิสลามสอดคล้องชุมชนมุสลิม แต่การสอนอ่านคำยาก ซึ่งเป็นคำศัพท์ไทยอาหรับบางคำอาจไม่เหมาะกับเด็กเล็ก วิธีแก้ให้สอนอ่านเป็นคำไม่ต้องสะกด ควรจัดให้มีการอบรมครูในด้านการสอนแบบบูรณาการอิสลามให้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทย ฯ ด้านผู้ปกครองและคณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา พบว่า พอใจที่โรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอิสลามและมีแบบเรียนที่ชัดเจนสอดคล้องกับท้องถิ่นอยากให้มีแบบเรียนบูรณาการอิสลามทุกวิชาทุกชั้นเรียนใช้ในสังคมมุสลิม สิ่งสำคัญอยากให้ครูเอาใจใส่นักเรียนมากกว่านี้จะทำให้นักเรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้านนักเรียน พบว่า เด็กชอบอ่านและทำแบบฝึกหัดท้ายบทตามที่กำหนดได้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอากีดะฮฺ อิบาดะฮฺและอัคลากดี This research conducted in quantitative-qualitative approach at Jariya Islam Suksa Anusorn School, Nongjik District, Pattani Province was aimed to study on opinions of experts and guardians and school commissions in regard to the states of Integrated Islamic teaching-learning by Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3 at Jariya Islam Suksa Anusorn School, and to analyze the opinions of experts in regards to the relationship between the learning standard of Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3 and the learning standard of Thai language based on the national basic curriculum of the year 2001 and its Integrated with the learning standard of Islamic studies curriculum of the year 2003. The samples consisted of two purposive groups. The first were 196 users of the Thai Skill Exercises which included 7 school commissions, 144 guardians of students grades 1-3, 40 students grades 1-3, and 5 guardians of students grades 4. The second were 25 experts. Of these 17 were purposively selected from the vice director of Pattani Education Service Area Office ( P.E.S.A.O ) 1, supervisors of ( P.E.S.A.O ) 1-2, Islamic studies experts, school administrators, Thai experts with over 10 years experiences or Islamic studies teachers with more than 5 years of ( P.E.S.A.O ) 1-3 and 8 administrators together with teachers teaching at Jariya Islam Suksa Anusorn School. The research instruments used for collecting data were of four different kinds: 1) questionnaires to evaluate opinions of experts, administration, teachers, guardians, and school commissions, 2) guideline for experts and teachers to analyze Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3, 3) constructed interview forms for experts, guardians of students grade 4, and school commission, and 4) un-constructed interview forms for students grades 1-3, teachers, and guardians. Quantitative data were analyzed using frequencies, arithmetic means, and standard deviation. Qualitative data were ( 5 ) analyzed using content analysis technique. The results of these two parts were then combined and analytically described. The study reveals that the opinions of experts, guardians and school commissions in regards to the states of integrated Islamic teaching-learning by Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3 at Jariya Islam Suksa Anusorn School, in overall and in each aspect, are found to be high. In views of experts, they viewed that there is high relationship between the learning standard of Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3 and the learning standard of Thai language based on the national basic curriculum of the year 2001 and its integration with the learning standard of Islamic studies curriculum of the year 2003. In addition, using Kendall?s Rank Correlation coefficient reveals positive association between by the teachers manual and the Integrated Islamic teaching-learning by Thai Skill Exercises for Muslim Children Grades 1-3. With regard to qualitative data, the experts viewed that the integrated Islamic teaching-learning by Thai Skill Exercises is comparable to the text-books of the ministry of Education and better than other texts. It integrates Islam into Muslim community. However, it is not suitable to teach children to read some difficult words of Thai-Arabic. To solve this problem is to teach them by reading words not by spelling. Teachers should be trained to be mastery in Islamic integrated approach in order to help them achieve the objectives of the curriculum and the integrated Islamic teaching - learning by Thai Skill Exercises. Furthermore, in views of guardians and school commissions, they are satisfied with the school achievements that provide new techniques integrated Islamic teaching - learning. The Islamic integrated text-books should be used across subjects and every level within the Muslim communities. Importantly, teachers better take care of students so that their competencies should be further developed. As for students, they are very interested in reading and doing exercises at the end of successive chapters absorbing the intended characteristics of Aqidah, Ibadah, and good Akhlaq. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา --การจัดการศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2553 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 5235 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 58 | |||||||||||||||||||||