ชื่อเรื่อง/Title Determining Factors for Academic Achievement and Attitude of Students at Prince of Songkla University, Pattani Campus / ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการออกกลางคันของนัศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การศึกษาเชิงปริมาณ ใช้ข้อมูลนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2542 - 2549 มีตัวแปร ปีที่เข้าศึกษา คณะที่ศึกษา ศาสนา และเพศ จำนวน 11,408 ระเบียน นักศึกษาออกกลางคันจำนวน 2,311 คน ร้อยละ 20.3 ส่วนในด้านการศึกษาเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุในการออกกลางคัน
การศึกษาเชิงปริมาณแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำข้อมูลนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2542 - 2545 จำนวน 6,610 ระเบียน มาวิเคราะห์โดยใช้โมเดลทางสถิติ เพื่ออธิบายการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ คือ odds ratios และ การวิเคราะห์การถดถอยแบบลอจิสติก โดยใช้ odds ratios วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการออกกลางคันกับ คณะ กลุ่มศาสนา-เพศ ปีการศึกษา และการวิเคราะห์การถดถอยแบบลอจิสติก วิเคราะห์อิทธิพลร่วมของตัวแปร คณะ ปีการศึกษา กลุ่มศาสนา - เพศ ต่อการออกกลางคันของนักศึกษา โดยภาพรวมใน 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราการออกกลางคันร้อยละ 12 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะที่มีอัตราการออกกลางคันมากกว่าคณะอื่น ๆ โดยเฉพาะปีการศึกษา 2542 อัตราการออกกลางคันได้เพิ่มสูงขึ้นหลังจากปีการศึกษา 2544 นักศึกษามุสลิม มีอัตราการออกกลางคันต่ำกว่านักศึกษากลุ่มอื่น ๆ แต่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่านักศึกษาที่จบจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนมัธยมทั่วไป มีอัตราการออกกลางคันแตกต่างกัน
การศึกษาลำดับต่อมาได้นำข้อมูลนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2542 - 2549 จำนวน 11,408 ระเบียน มาวิเคราะห์โดยใช้โมเดลทางสถิติ เพื่ออธิบายการออกกลางคันใช้ odds ratios วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการออกกลางคันกับ คณะ กลุ่มศาสนา - เพศ ปีการศึกษา และใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบลอจิสติก วิเคราะห์อิทธิพลร่วมของตัวแปร คณะ ปีการศึกษา กลุ่มศาสนา-เพศ ต่อการออกกลางคันของนักศึกษา โดยภาพรวมใน 8 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการออกกลางคันต่อปีร้อยละ 5.3 อัตราการออกกลางคันสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังจากปีการศึกษา 2546 ซึ่งอาจจะมาจากลักษณะด้านประชากรของนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาด้านการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาหาสาเหตุของการออกกลางคันเพิ่มเติม โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาที่ออกกลางคันจำนวน 16 คน พบว่า 5 สาเหตุหลักของการออกกลางคัน คือ การเรียนในสาขาที่ไม่ได้ต้องการ ความปลอดภัย วิถีการดำเนินชีวิต ปัญหาด้านการบริหารเวลา และปัญหาด้านความสัมพันธ์ส่วนตัว
โดยสรุปในภาพรวมของผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักศึกษาออกกลางคันได้เพิ่มขึ้นตามลำดับปีการศึกษา อัตราการออกกลางคันจะสูงในกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการออกกลางคันสูง อย่างไรก็ตามแนวทางการลดอัตราการออกกลางคันนั้น มหาวิทยาลัยควรมีนโยบาย ในการเพิ่มสาขาของหลักสูตรให้มากขึ้น การแนะแนวการเลือกสาขาที่เรียนควรจัดให้มีก่อนการเลือกวิชา ตลอดจนการให้คำปรึกษา และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย

     ผู้ทำ/Author
NameRuthaychonnee Sittichai
Organization Prince of Songkla University, Pattani Campus
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
References
Appendix1
Appendix2
Appendix3
Appendix4
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: Don McNeil
Roles: Advisor
     Publisher:
Name:Prince of Songkla University, Pattani Campus
Address:Pattani
     Year: 2010
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3188
     Counter Mobile: 28