ชื่อเรื่อง/Title การมีส่วนร่วมทางการเมืองของปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Political Participation of the Muslim Intellectuals in the Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่าง อายุ เขตที่อยู่อาศัย การเป็นสมาชิกกลุ่ม สถาบันที่จบการศึกษา การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน ความยึดมั่นผูกพันในศาสนา จิตสำนึกทางการเมือง และหน่วยงานที่สังกัด กับการมีส่วนรวมทางการเมืองของปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br /><br /><br /> <dd>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 300 คน ประกอบด้วย ปัญญาชนมุสลิมที่สังกัดหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 152 คน และปัญญาชนมุสลิมที่สังกัดหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 148 คน จากจังหวัดสตูล ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม <br /><br /><br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า<br /><br /><br /> 1. ปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนร่วมทางการเมืองปานกลาง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.3 รองลงมาคือ มีส่วนร่วมทางการเมืองมาก คิดเป็นร้อยละ 26.3 และมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 17.3<br /><br /><br /> 2. ชาวไทยมุสลิมที่มีการศึกษาสูงมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบของการเลือกตั้งสูง แต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีเงื่อนไขหรือปัจจัยเป็นอเนกนัย<br /><br /><br /> 3. ปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าปัญญาชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเมือง เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และการศึกษาของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่ยังมีเงื่อนไขทางศาสนาและประชาคมเกษตรเป็นมูลการณ์<br /><br /><br /> 4. ผลกาทดสอบสมมุติฐาน พบว่า เขตที่อยู่อาศัย การเป็นสมาชิกกลุ่ม สถาบันที่จบการศึกษา การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน จิตสำนึกทางการเมือง และหน่วยงานที่สังกัดของปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสัมพันธ์เชิงเหตุกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่วนอายุและความยึดมั่นผูกพันในศาสนาของปัญญาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง<br /><br /><br /> <dd>ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจบางประการเนื่องจากผลการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ กระบวนการการบริหารตามระบอบประชาธิปไตยตามแนวคิดธรรมรัฐ การสื่อสารทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ทางการเมือง และระบบราชการที่มีตัวแทนของประชาชน ซึ่งทั้งหมดจะเป็นเหตุปัจจัยให้ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น

This research was intended to study the political participation of the Muslim intellectuals in Thailand's southern border provinces, and to investigate the causal relationships between the age, residential locality, group membership, former educational institute, message exposure of mass media, religious commitment, political consciousness and place of work on the one hand and the political participation of the Muslim intellectuals in the southern border provinces on the other. <br /><br /><br /> The sampling population under the study were the Muslim intellectuals. They were 300 cases in number, subdivided into 152 cases of those actively serving to the provinces of Satun, Yala, Narathiwat, Pattani and Songkhla. The tool used for the study was the set of item-rating scale quastionnaires. The colleced data was analyzed for frequency and percentage through the SPSS/PC+ computer program. The correlation between variables was established through the original percentage difference(%d) and the partial percentage difference (p%d). Chi-Square was used to test the hypotheses in light of the bevariate and control variable.<br /><br /><br /> The findings were as follows : <br /><br /><br /> 1. The persantage of the Muslim Intellectuals in the southern border provinces getting involved in political participation was as muoh as 56.3 %, thet is, at a moderate level. Second to that was the 26.3 % of those of political participation at the highest level. And, at the lowest one was the 17.3 % of those of political participation at the lowest level.<br /><br /><br /> 2. Those hight educated participation at the highest level in the southern border provinces was determined by not only general election but also also by many other causes.<br /><br /><br /> 3. The number of the rural resident Muslim intellectuals who took part in political participitation was greater than those who were the urban residents. It was due to their backgrounds based on socio-cultural and educational variables in fovour of religiously and agriculturally directed ones.<br /><br /><br /> 4. Upon testing the hypotheses in light of the concerned variables, it was found that the causal relations between the residential locality, group membership, former institute, message exposure of mass media, political consciouness and place of work of the Muslim intellectuals in the southern border provinces on the one hand and the political participation on the orther were positive. But thair age and religious commitment had no correlation with their political participation the 2/nd, 3/rd, 4/th, 5/th, 7/th and 8/th hypotheses while the 1/st and 6/th ones were rejected.<br /><br /><br /> Some suggestions in favour of the active political participation by the thai Muslim in the southern border provinces are : democratization based on the good governance model, effectivelly communicative mass media, political socailization and representative bureaucracy, all of which appeal to encourage more active political participation by the Thai Muslim intellectuals in the southern border provinces.
     ผู้ทำ/Author
Nameชลลดา แสงมณี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 27-50)
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 51-74)
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หน้า 75-98)
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 115-143)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 144-166)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 167-194)
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย (หน้า 195-209)
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย (หน้า 210-224)
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย (หน้า 225-239)
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ประจิตร มหาหิง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2542
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 9738
     Counter Mobile: 67