ชื่อเรื่อง/Title แนวทางการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี / An Approach of Learning and Teaching on the Internet for Undergraduate Students, Prince of Songkla University, Pattani Campus
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมของการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยใช้กระบวนการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมทั้งหมด 17 คน ซึ่งมรการรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมด 3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้มนการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดปลายเปิดและปลายปิด ชนิดประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์และการเก็บข้อมูล ใช้ค่าสถิติร้อยละ มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ ค่ามัฌมเลจคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน
ผลวิจัยพบว่า 1 การจัดเสภาพแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญหลายประการเช่น คุณสมบัติของอุปกร์และโปรแกรม คุณสมบัติเครื่องมือพัฒนารายวิชาระบบบริหารการเรียนการสอน จะต้องมีความทันสมัยรองรับหารใช้งาน การเลือกใช้ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ ทั้งที่เป็นตัวระบบและตัวผลิต ตลอดตนสภาพแวดล้อมของสถานที่ที่ให้บริการคอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต ต้องมีความปลอดภัยทางด้านการใช้งาน นโยบายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ควรสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ให้มีศักยภาพที่ดีเยี่ยม ให้การสนับสนุนงบประมาณและบุคคลากรในการผลิตบทเรียนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การพิจารณาเลือกระบบการบริหารการเรียนการสอน มาใช้และพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ควรมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีที่เหมาะสม เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักการและกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสนอบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีทักษะทางด้านวิธีการสอน ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต การเตรียมความพร้อม/การเพิ่มพูนความรู้และความสามารถของผู้สอนด้านการใช้ซอฟแวร์พัฒนาบทเรียนรวมไปถึงความสามารถในการใช้ภาษอังกฤษเป็นอย่างดี สภาพปัจจุบันของผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่ายังไม่สามารถพัฒนา Course Ware ให้สามารถใช้แทนผู้สอนได้อย่างสมบูรณ์ ผู้เรียนในการเรียนการสอนบนเครือข่ยอินเตร์เน็ตจะต้องให้ความสนใจการเรียน การทดสอบ ส่งงาน ถามปัญหา การประชุมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น หมั่นค้นคว้ากาความรู้ ปฏิบัติติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สอนกำหนดไว้เหมือนกับเรียนตามชั้นเรียนตามปกติ การสร้างทักษะการเรียนด้วยการอ่านและการวิเคราะห์ด้วนตนเองของผู้เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต และความจำเป็นในด้านความพร้อมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตร์เน็ต ได้แก่ การใช้ www มีข้อดีหลายอย่างและสามารถปรับปรุงวิธีการสอนได้ ข้อดีได้แก่ การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน แบบทดสอบ กิจกรรมหลักของบทเรียน จดหมายเวียน เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข่าวสาร การติดต่อสื่อสารและการส่งข้อมูลข่าวสารให้ทุกคนได้พร้อมเพรียงกันอย่างรวดเร็ว การอ่านข่าว ตั้งกลุ่มข่าวสารเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร/ความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการระดมสมอง การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เพื่อการส่งาน รวมไปถึงการใช้ Blog เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นของผู้เรียนและการใช้เกมส์ที่เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ในบทเรียน

The purpose of this study was to propose an approach of learning and teaching on the internet for undergraduate students studying at Prince of Songkla University, Pattani campus. This
was achieved by exploring experts? opinions and using the Delphi Technique to collect data. In total, 17 people including supervisors and staff with expertise in the use of internet virtual classroom were
questioned. Open-end and close-end questionnaires including a five level rating scale were analyzed to include percentage, median, interquatile range, average value and standard deviation.
The findings were as follows: (1). For the environmental organization and for learning and teaching supports several considerations were deem to be important, such as the
qualifications of the equipments and programs; authoring tools for courseware development; learning and teaching management system (LMS); the use of licensed software or open source in both system and producing courseware; as well as the environmental area surrounding the location of computer/internet services in order to manage the security of learning and teaching on the internet.
(2). Policies of Prince of Songkla University, Pattani campus should support the essential fundamental material requirements for learning and teaching on the internet. In order to be highly
effective, supports and encouragement should be given to the instructors to assist in establishing the internet instructional models, to provide appropriate budget planning, to select and develop the
learning management system for modifying learning and teaching on the internet at Prince of Songkla University. (3). The instructors on learning and teaching on the internet should have: the relevant
background in the appropriate theories; an appreciation of the principle and conceptual frame works needed for learning and teaching on the internet; the desired teaching method, computer and internet skills, virtue and morality, preparing/gathering and pooling software knowledge to develop the
lessons; and high abilities to use English. The present study showed that learning and teaching on the
internet of undergraduate students in Prince of Songkla University, Pattani campus was not well developed. (4). Those learning from learning and teaching resources on the internet must be willing to
learn and agree to take part in quizzes, task sending, questioning, group meeting and discussion groups. They must be keen to learn, be willing to conform to instructional activities as found in a
normal classroom and be willing to participate in student based learning using computer and the internet. The preparation of financial support is also important. (5). Learning and teaching on the internet such as the use of the World Wide Web (-WWW) has several advantages and can greatly improve teaching methods. Advantages include: presentation of lecture content, testing form, main lesson activities, listserv for information exchange, communication and rapidly sending of information to other people, news reading, newsgroup for information exchange/opinions among
group, conversation (talk, internet relay and chat), sharing opinions/brain storming, file transfer protocol for task sending including Blog in order to present learner opinions and using appropriate computer games for lesson learning.
     ผู้ทำ/Author
Nameรชยา บุญสวัสดิ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 120-138)
ภาคผนวก (หน้า 139-195)
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
     Contributor:
Name: พรเทพ เมืองแมน
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3975
     Counter Mobile: 106