ชื่อเรื่อง/Title เศรษฐกิจของภาคครัวเรือนจังหวัดปัตตานีภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ / Household Economy in Pattani Province under the Southern Unrest
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โครงสร้างรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของภาคครัวเรือน ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงในทิศทางและระดับของตัวแปรทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 408 ครัวเรือน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้ค่าสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์การณ์จรของคราเมอร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และวิธีการของฟิชเชอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากค่าแรงและค่าเงินเดือน และมีรายจ่ายประเภทอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุด โดยมีรายได้เฉลี่ย 12,480.6 บาทต่อครัวเรือน และรายจ่ายเฉลี่ย 12,087.2 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยเล็กน้อย หนี้สินในระบบ 120,156.1 บาทต่อครัวเรือน ที่มาจากการกู้ยืมธนาคารพานิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินตามลำดับ และหนี้สินนอกระบบ 14,595.99 บาทต่อครัวเรือน โดยวัตถุประสงค์การก่อหนี้ส่วนใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของสมาชิก และลงทุนทำเกษตรและประมงตามลำดับ
เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางการลดลงของผลผลิต การลดลงของรายได้ และการเพิ่มขี้นของหนี้สิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ความสัมพันธ์เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การณ์จรของคราเมอร์ เท่ากับร้อยละ 17.0,11.9และ 13.6 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่กับระดับการลดลงของผลผลิต ระดับการลดลงของรายได้ และระดับการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน มีความสัมพันธ์เท่ากับร้อยละ 60.3,51.3และ45.2 ตามลำดับ ขณะที่การออกไม่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือน มีปัญหาภาพรวมในระดับมาก โดยกิจกรรมการแลกเปลี่ยนมีระดับปัญหามากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ผลการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ระหว่างกลุ่มพื้นที่และระดับปัญหาการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์พบว่า ประเด็นปัญหาที่มีความแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 คือ ปัญหาสินค้าราคาแพง รายได้ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทีเพิ่มขึ้นและขาดตลาดรองรับผลผลิต โดยกลุ่มพื้นที่ซึ่งมีจำนวนครั้งของเหตุการณ์ความไม่สงบสูง มีค่าเฉลี่ยของระดับปัญกาดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มพื้นที่อื่น
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ภาครัฐควรแสวงหาช่องทางในการเพิ่มรายได้ โดยการสร้างงานหรืออาชีพเสริม การรวมกลุ่มอาชีพทางด้านการเกษตรและประมง การจัดระบบสวัสดิการสังคมรูปแบบพิเศษขึ้นเฉพาะพื้นที่ ให้แก่ครัวเรือนฐึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จัดตั้งศูนย์ประสานงานจากนักลงทุนจากในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มการจ้างงานให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และการขยายตัวของธุรกิจอื่นที่กี่ยวเนื่องทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนการเพิ่มบทบาทสถาบันการเงินของรัฐ สหกรณ์ และกองทุนหมู่บ้าน เพื่อรองรับความต้องการเงินทุน และปรับโครงสร้างหนีนอกระบบของภาคครัวเรือน

     ผู้ทำ/Author
Nameอนุวัต สงสม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
--ปัญหาทางเศรษฐกิจ
     Contributor:
Name: กองทุนวิจัยวิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2552
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3656
     Counter Mobile: 48