ชื่อเรื่อง/Title พัฒนาการการทำนาเกลือและการค้าเกลือที่ปัตตานี / Salt Farming Development and Its Trade in Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่อง พัฒนาการการทำนาเกลือและการค้าเกลือที่ปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาเกี่ยวกับการทำนาเกลือและการค้าเกลือที่ปัตตานี และผลกระทบที่มีต่อนาเกลือเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการมีส่วนร่วมในบางกิจกรรม นำเสนอรายงานผลในลักษณะพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
จาการศึกษาพบว่าการทำนาเกลือและการค้าเกลือที่ปัตตานีมีพัฒนามายาวนานกว่าสี่ร้อยปี มีการผลิตเพื่อการค้าเป็นสินค้า ส่งออกที่สำคัญของเมืองปัตตานี โดยเฉพาะช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-25 เกลือจากเมืองปัตตานีถูกส่งไปจำหน่ายทั่วคาบสมุทรภาคใต้ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำนาเกลือจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อประเทศไทยพยายามพัฒนาระบบเศรษฐกิจกระแสหลักสำหรับเมืองปัตตานีนับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา สภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่นาเกลือเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยเริ่มการแบ่งพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม เขตที่ดินทำนาเกลือเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกุ้ง ตามมาด้วยการสร้างถนน และพัฒนาที่อยู่อาศัย สถานการณ์ปัจจุบันของนเกลือคือ พื้นที่นาเกลือลดลงอย่างต่อเนื่อง ชาวนาเกลือเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน แต่ยังมีบทสรุปจากการสัมภาษณ์ชาวนาเกลือที่ยังคงทำนาเกลืออยู่ในปัจจุบัน ให้คำตอบว่าจะทำนาเกลือไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่มีปัจจัยอุปสรรค เช่น ไม่มีที่ดินทำนาเกลือ น้ำทะเลไม่สะอาด เป็นต้น ก็จะต้องเลิกอาชีพนี้ แต่ที่ทำเพราะภูมิใจที่ปัตตานีมีนาเกลือซึ่งที่อื่น ๆ ไม่มี ดังนั้นการทำนาเกลือที่ปัตตานีจะคงดำเนินต่อไปอีกอย่างน้อย 10 ปี แต่หากชาวนาเกลือยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยข้างต้น อาจส่งผลให้อาชีพทางภูมิปัญญานี้สูญหายไปจากจังหวัดปัตตานีเร็วขึ้น

This research is subjected to study the making of Salt and the trade development in Pattani and also emphasized on the factors that have effects on the making. The information was collected from several sources such as books, interviews, and observation. The results of the study are presented using descriptive analysis approach which can be summarized as the follows. The findings indicated that the salt trade in Pattani has been developed for more
than 400 years. It had been one of the main export products of Pattani , especially during the 15st and 19th centuries AD. It was sold around the Malay Peninsula. The knowledge skills for this business had been passed on consecutively the next generations since 1979, the government has attempted to develop the economic system in Pattani by supporting other principal products or businesses in which causes the great changes of the environment near by the salt-farming area, for instance, the rapidly increasing number of factories, roads, and buildings. As a result of this, the farmers adapt their life by leaving this career to work for the others instead. However, some of the interviewees, who are working for the salt-farming, said that they are will still making their worth job until facing with some trouble limitations such as lacking of farming land or dirty sea water. If they can work smoothly, at least 10 years this business will exist in Pattani. Thus, the life of the salt-farming business is highly dependent on the farming limitations as
mentioned before.
     ผู้ทำ/Author
Nameนราวดี โลหะจินดา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3 (หน้า 18-35)
บทที่ 3 (หน้า 36-48)
บทที่ 3 (หน้า 49-59)
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5954
     Counter Mobile: 34