ชื่อเรื่อง/Title Bullying Behaviour in Pattani Primary Schools / พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี รวมทั้งศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการรังแกด้วยการศึกษาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน จำนวน 1,440 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม
การวิจัยนี้มีวิธีการจำแนกพฤติกรรมการรังแกของนักเรียน 2 วิธี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความชุกของพฤติกรรมการรังแกในวิธีที่ 1 ร้อยละ 32.9 และวิธีที่ 2 ร้อยละ 20.9 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรังแกมากที่สุดของทั้งสองวิธีคือ การทะเลาะตบตีของบิดามารดา โดยนักเรียนที่เคยเห็นบิดามารดาทะเลาะตบตีกันมีพฤติกรรมการรังแกสูงกว่านักเรียนที่ไม่เคยเห็นบิดามารดาทะเลาะตบตีกันถึง 4.50 เท่าสำหรับวิธีที่ 1 และ 7.60 เท่าสำหรับวิธีที่ 2 รวมทั้งการรับชมการ์ตูนประเภทรุนแรงก็ส่งผลต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนเช่นกัน โดยนักเรียนที่รับชมการ์ตูนประเภทรุนแรงมีพฤติกรรมการรังแกสูงกว่านักเรียนที่รับชมการ์ตูนประเภทตลกขบขันและมหัศจรรย์ลึกลับถึง 1.87 เท่าสำหรับวิธีที่ 1 และ 2.87 เท่าสำหรับวิธีที่ 2
ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการที่พ่อแม่ใช้ความรุนแรงต่อกันและการรับชมรายการประเภทการ์ตูนประเภทรุนแรงจะส่งผลให้นักเรียนระดับประถมศึกษามีพฤติกรรมไปรังแกผู้อื่น อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนจะลดลง ถ้าบิดามารดาไม่ทะเลาะวิวาทกันและควบคุมโปรแกรมการรับชมการ์ตูนของบุตรกลานอย่างใกล้ชิด

This study aimed to investigate the prevalence of bullying in primary schools of Pattani province, southern Thailand, and to identify risk factors for bullying. A crosssectional
survey was conducted among 1,440 students using a questionnaire adopted from Valerie E. Besag, the educational psychologist. All participants were interviewed between November 1, 2005 and March 31, 2006, during class time. Questions on bullying referred to behaviour during the previous year. Pearson?s chi-squared test was used to assess the associations between the outcome and various determinants. Logistic regression was used to identify risk factors for bullying. Two different techniques were used for identifying bullying. The overall prevalence
of bullying was found to be 32.9% for the first technique and 20.9% for the second technique. Both techniques found that witnessing parental physical abuse was the most strongly associated determinant for bullying. Students having parental physical abuse experiences were more likely to bully others than were those who had never witnessed parental physical abuse (for first technique, OR 4.50; 95% CI 3.40-5.89, and for second technique, OR 7.60; 95% CI 5.60-10.31). Preference for action cartoons was also a major risk factor for bullying others. Students who preferred action cartoons tended to bully more than did students who preferred comedy and
mystery cartoons (for first technique, OR 1.87, 95% CI 1.32-2.18, and for second
technique 2.87, 95% CI 1.91-4.30). The results from this study indicate that students who had experience of parental violence and preferred action cartoons were more likely to be bullies at school. This study also provides some directions for attempting to reduce the problems of bullying. It might be useful if teachers and other authorities assist parents to reduce their own
level of family violence and closely control cartoon program viewing as ways to help
their children.
     ผู้ทำ/Author
NameKasetchai Laeheem
Organization Prince of Songkla University, Pattani Campus
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgement
Contents
Chapter 1
Chapter 2
Chapter 3
Chapter 4
Chapter 5
Chapter 6
References
Appendix (70-81)
Appendix (82-89)
Appendix (90-96)
Appendix (97-105)
Appendix (106-114)
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--สตรีเด็กและเยาวชน
--ปัญหาทางสังคม
     Contributor:
Name: Metta Kuning
Roles: Advisor
     Publisher:
Name:Prince of Songkla University, Pattani Campus
Address:Pattani
     Year: 2009
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2168
     Counter Mobile: 36