ชื่อเรื่อง/Title ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กรณี: การอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแนวทางแก้ไข / Impact of Violence on Safety Lives and Properties : Case Study of People Migration in 3 Southern Border Provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) เพื่อประเมินสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงปี 2547-2549 ศึกษาผลกระทบกรณีการอพยพ ย้ายถิ่น และหาข้อเสนอแนะในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน และชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 160 คนใน 27 ตำบล 9 อำเภอ สรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐยังไม่สามารถลดอิทธิพล และการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบในหมู่บ้านได้ รวมทั้งยังไม่เชื่อมั่นต่อมาตรการเจ้าหน้าที่รัฐในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ชาวบ้านกลัวกลุ่มก่อความไม่สงบมากขึ้น แต่ก็ไม่เห็นด้วยกว่าครึ่งว่าพื้นที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงได้ขยายตัวออกไป ขณะเดียวกันก็เห็นว่าชาวบ้านทั้งพุทธ และมุสลิม สามารถปฏิบัติศาสนกิจรักษาวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมของตนเองได้ ต้องการร่วมสร้างสันติสุข และอยากให้โรงเรียนของรัฐเปิดการเรียน การสอนตามปกติ แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ก็ตาม และผลกระทบที่สำคัญจากเหตุการณ์ความไม่สงบคือการประกอบอาชีพ ปากท้องของชาวบ้านมากที่สุด สำหรับการอพยพย้ายออกเพราะเหตุการณ์
ความไม่สงบ ในพื้นที่ที่ทำการศึกษาใน 27 ตำบล 9 อำเภอ พบว่าตั้งแต่ปี 2547 -มิถุนายน 2550 มีชาวไทยพุทธอพยพย้ายออกจากพื้นที่รวม 319 คนเท่านั้น และทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมในพื้นที่ต่างก็ไม่คิดที่จะอพยพย้ายออกจากพื้นที่ และถ้าเหตุการณ์มีความรุนแรงขึ้นก็ไม่คิดที่จะอพยพย้ายออก สาเหตุเพราะตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยมานาน ทำการเกษตรเป็นหลัก เมื่อย้ายออกไปแล้วไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ไปทำอาชีพอะไรข้อเสนอแนะจากการศึกษาเพื่อสร้างความสงบในพื้นที่และแก้ปัญหาการอพยพ ต้องมีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นที่ถูกต้อง ต้องรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ให้ได้ โดยการปราบปรามจับกุมผู้ก่อความรุนแรงตามกฎหมาย และช่วยแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตร ผลไม้ราคาตกต่ำ เพราะเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมเรื่องอาชีพให้ประชาชนมีรายได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงภาพรวมของสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และการอพยพย้ายถิ่นของประชากรในพื้นที่


This survey research was conducted to evaluate the prevailing violence in the three Southern provinces from 2004 to 2006 and its impacts on people?s migration,
and to find some suggestions in diminishing the impacts upon people and the community in the three Southern provinces.
The situation in the three provinces was evaluated by sub-district heads,village heads and the assistants, totally 160 of them, in 27 sub-districts, 9 districts.
The result showed that the security officials were still unable to put an end to the unrest in the region, caused by the insurgents. The result also revealed people?s lack of confidence in the governmental measures in the protection of their lives and properties. However, more than half of them disagreed that the area of violence was extended. Meanwhile, they believed that both Buddhists and Muslims were capable vii of performing their religious activities and maintaining their own ways of living.
They longed for a cooperative peace building effort and wished the public schools to reopen. People?s occupation was mostly affected by the violence.
The study of people?s migration in 27 sub-districts and 9 districts, from 2004 to 2007,revealed that only 319 Buddhists migrated. Even if the situation got worse, both local Buddhists and Muslims did not think of migration because of their long settlement and agricultural career. They could not think of any place to settle down and any job to do if they migrated.
The ways to bring back peace and solve the migration problem were suggested as follows. The migration information had to be correctly publicized. Law
enforcement had to be effectively maintained to keep peace in the region. Problems regarding the decrease in price of in agricultural products should be solved, since this was a major occupation of most local people. Moreover, other careers should be promoted for additional income of people.







     ผู้ทำ/Author
Nameปิยะ กิจถาวร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameอารีลักษณ์ พูลทรัพย์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameสุไรนี สายนุ้ย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameไพซอล ดาโอ๊ะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameหนึ่งกมล พิพิธพันธุ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameอรชา รักดี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameสุรวุตน์ ช่อไม้ทอง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
บทสรุป
ภาคผนวก (หน้า 51-55)
ภาคผนวก (หน้า 56-65)
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
วิถีชีวิตและประเพณี
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 8499
     Counter Mobile: 41