ชื่อเรื่อง/Title การยึดมั่นในหลักการศาสนาของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Religious Commitment of Muslims in Three Southern Border Provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องการยึดมั่นในหลักการศานาอิสลามของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยึดมั่นในหลักการอิสลาม และศึกษาแนวทางการปฏิบัติตามหลักการอิสลามของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงเอกสารเก็บรวบรวมจากหนังสือตัฟสีร หนังสืออัลหะดีษ หนังสืออะกีดะฮฺและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ จำนวน 896 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประมวลผลหาค่าความถิ่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test, F-test <br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีการยึดมั่นในหลักศาสนาในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวแปร เพศ อายุ การศึกษาด้านศาสนาและสามัญ และสถานภาพทางศาสนาที่เเตกต่างกันมีการยึดมั่นในหลักการศาสนาไม่เเตกต่างกัน แต่ตัวแปรการศึกษาด้านศาสนาและการได้รับการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เเตกต่างกันมีการยึดมั่นในหลักการศาสนาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05<br /> 2) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ได้รับความรู้และการแนะนำที่เกี่ยวกับการศรัทธาและการปฏิบัติศาสนกิจจากโต๊ะครูหรืออุสตาสมากที่สุด รองลงมาคือ บิดา มารดา และจากบุคคลอื่นๆ ได้เเก่ พี่น้อง โต๊ะอิหม่ามมัสยิด สามีภรรยา เพื่อน วิทยากรอิสลามศึกษาและศึกษาด้วยตนเองน้อยที่สุด<br /> 3) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีการยึดมั่นในหลักการศรัทธาโดยภาพรวมมีสองเเนวทาง คือ เเนวทางของอะฮฺล อัสสุนนะฮฺที่มีการยึดมั่นตามตัวบทอายะฮฺอัลกุรอานและอัลหะดีษโดยไม่มีการตีความใดๆ หากไม่จำเป็น หรือเรียกว่า สะลัฟ และการยึดมั่นตามแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮฺโดยวิธีการยึดมั่นที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาและการตีความในส่วนความในส่วนที่คิดว่าจำเป็นต้องมีการตีความ และบางครั้งจะยึดมั่นตามผู้อื่นที่มีความรู้ด้านสาสนา โดยปราศจากความรู้และหลักฐานใดๆทั้งสิ้น หรือที่เรียกว่า เคาะลัฟ<br /> 4) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีการยึดหลักเตาฮีดจำเเนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยึดมั่นตามประเภทของเตาฮีดทั้งสามประการ คือ เตาฮีดอุลูฮิยะฮฺ เตาฮีด รุบูบิยะฮฺ และเตาฮีดอัสมาอ์วัศศิฟาต และอีกกลุ่มหนึ่งยึดมั่นในเตาฮีดโดยมิได้จำเเนกประเภทของเตาฮีดออกเป็นสามประการ โดยเข้าใจว่ามิใช่มาจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อล)<br /> 5) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีการยึดมั่นในการปฏิบัติโดยการยึดหลักฐานจากอัลกุรอาน อัสสุนนะฮฺ และเเนวทางของชาวสะลัฟ ไม่ได้ใช้หลักความคิดทางปัญญาเป็นที่ตั้ง ในทางตรงข้ามมีการยึดมั่นโดยใช้หลักการเทียบเคียงและใช้สติปัญญาทางสมองเป็นทางเลือกด้วยความมั่นใจว่าสติปัญญาไม่ขัดเเย้งกับหลักฐาน<br /> 6) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้มีการยึดมั่นในหลักการปฏิบัติโดยภาพรวมมีวิธีการปฏิบัติที่หลากหลายมากกว่าแนวทางการยึดมั่น กล่าวคือ ยึดวิธีปฏิบัติตามแนวทางมัซฮับอัชชาฟิอียะฮฺเป็นการเฉพาะซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน การปฏิบัติที่ยึดหลักฐานเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงแนวทางเลือกปฏิบัติตามมัซฮับหนึ่งแต่อย่างใด และแนวทางปฏิบัติตามแบบไร้เหตุผลและไม่มีความรู้เรื่องหลักฐานตลอดจนไม่สามารถเเยกระหว่างแนวทางการปฏิบัติที่มีหลักฐานกับเเนวทางปฏิบัติที่ไม่มีหลักฐาน<br /> 7) ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ยังมีความสับสนระหว่างสิ่งที่เป็นอัสสุนนะฮฺกับสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ (การอุตริ) ไม่สามารถเเยกระหว่างทั้งสองสิ่งนั้นให้ออกเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ทั้งนี้โดยมีการปฏิบัติปะปนกันทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศรัทธาและการปฏิบัติกิจการของศาสนาอิสลาม

The objectives of this research are to study ways and factors leading to religious commitment of Thai Muslims in three southern border provinces of Thailand and their abiding by Islamic principles. The research is both qualitative and quantitative. Qualitatively the researcher studied the data concerned from Quran, Prophetic sayings as well as other relevant documents while quantitatively the needed data were collected by means of the distribution of questionnaires to the focus group of 896 Muslim Thais in the three southern border provinces. The data was analyzed by using frequency percentage, arithmetic means, standard deviation t-test and F-test the research found that:-<br /><br /> (1) The adherence to religious principles by Muslim Thais in the three southern border provinces of Thailand is on a high level. The variants such as sex,<br /><br /> age, religious and general education, and religious status did not indicate differences in their adherence to religious principles. Only difference in their sects and the institutes from which they acquired knowledge implied the varied levels of their religious adherence at 0.05.<br /><br /> (2) The sources of religious knowledge, advices, practices from which Muslim Thais learned are religious teachers or ustadhs. Second to them are parents, brothers and sisters, imams of masque, spouses, friends, lecturers of Islamic studies and reliance on self study consecutively.<br /><br /> (3) As a whole there are two denominations of Muslim Thais in the areas in terms of their religious school of thought. The first belongs to Ahli al-Sunnah<br /><br /> school which literally adheres to apparent meanings of Quranic verses and Prophetic sayings without any further interpretation except only when urgently needed. They are called Salaf. The second is called Khalaf. This school follows the way initiated by Abu Hasan al-Ash?ari in understanding and practicing religious faith and principles. It sometimes allows interpretation of religious texts or simply follows instructions of religious scholars in maintaining religious principles without support of textual evidences.<br /><br /> (4) The Muslim Thais in the areas are divided into two groups in terms of<br /><br /> their adherence to Tawhid. The first believes that Tawhid is of three categories;<br /><br /> Tawhid Uluhiyyah, Tawhid Rububiyyah and Tawhid al-Asma? wa al-Sifat, and<br /><br /> adheres to them accordingly. The second believes in Tawhid without categorization, holding that the classification of Tawhid did not stem from Prophet Muhammad (Peace be upon Him).<br /><br /> (5) The religious practices in the three southern border provinces of<br /><br /> Thailand by Muslim Thais mostly comply with Quran, Sunnah and the ways of Salaf. They occasionally adopted analogy and intellect to understand religious texts,claiming that refined human intellect usually does not contradict any religious<br /><br /> evidences.<br /><br /> (6) The religious practices by Muslim Thais in the areas are maintained in<br /><br /> more ways than their faith is. Some follow Sunnah with or without full knowledge of textual evidences. Others cling to Shafie school of thought blindly. There are also many Muslims who practiced their religion at random. They either ignore religious evidences or<br /><br /> (7) Most of the Muslim Thais in the southern border areas are still<br /><br /> confused with Sunnah and Bidah (religious innovations). They can not fully<br /><br /> distinguish between the two, resulting in their committing mistakes or being confused when maintaining their religious faith and practices<br /><br /> <br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลเลาะ การีนา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameสมเจตน์ นาคเสวี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2 (หน้า 7-38)
บทที่ 2 (หน้า 39-90)
บทที่ 2 (หน้า 91-120)
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาวิทยาเขต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2535
     Counter Mobile: 37