ชื่อเรื่อง/Title การสำรวจโบราณสถานเบื้องต้นเมืองปัตตานี : ศึกษาเฉพาะกรณี วังจะบังติกอ
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับโบราณสถานเมืองปัตตานี โดยเฉพาะกรณีวังจะบังติกอ ทั้งนี้เพราะเมืองปัตตานีในอดีตมีความผูกพันกับกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ในฐานะเมืองประเทศราช แต่เนื่องจากรูปแบบการปกครองของไทยส่งเสริมให้ชนพื้นเมืองปกครองท้องถิ่นตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงินและต้นไม้อง ให้แก่ ราชธานี 3 ปีต่อ 1 ครั้ง ประกอบกับความห่างไกลและการคมนาคมที่ไม่สะดวกส่งผลให้เมืองปัตตานีพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากไทยเสมอ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลกลางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเปลี่ยนแปลงนโยบายการปกครองเมืองปัตตานีเสียใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยจัดแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมืองเล็กๆ ได้แก่ เมืองปัตตานี ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ ยะลา และรามันท์ อีกทั้งยังกำหนดให้เมืองสงขลามีบทบาทในการควบคุมหัวเมืองเหล่านี้แทนรัฐบาลกลาง ในการศึกษาเรื่องนี้ จึงต้องศึกษาบทบาทของราชวงศ์กลันตันในการปกครองเมืองปัตตานี ควบคู่ไปกับวิเทโศบายทางการเมืองของรัฐบาลกลาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศในขณะที่ต้องเผชิญกับการคุกคามของชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมอย่างรุนแรง ตลอดจนการนำไปสู่การดำเนินการปฎิรูปเมืองปัตตานีเป็นมณฑลปัตตานีได้สำเร็จ<br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า แม้เมืองปัตตานีจะถูกแบ่งออกเป็นเมืองเล็กๆในยุคราชวงศ์กลันตันเข้ามาปกครองเมืองปัตตานี ณ วังจะบังติกอหลายสมัย แต่ความสำคัญของเมืองปัตตานียังคงปรากฎให้เห็นในลักษณะความสัมพันธ์ที่ดีต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นบทบาทที่แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา ประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จึงมีความสำคัญและมีคุณค่าในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ส่วนกลาง ซึ่งมีผลช่วยเสริมให้ประวัติศาสตร์ชาติไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกประการหนึ่ง วังจะบังติกอเป็นทั้งที่ประทับ และสถานที่ออกว่าราชการของเจ้าเมืองปัตตานีเชื้อสายกลันตัน จึงทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของเมืองกลันตันเข้ามาเผยแพร่และผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยังคงสืบทอดต่อๆ กันมาตราบเท่าทุกวันนี้ นอกจากนี้ศิลปกรรมของวังได้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะและสถาปัตยกรรมของจีน ที่เข้ามาผสมผสานกับศิลปะของไทยมุสลิม จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นปัตตานี และยังเป็นส่งบ่งบอกถึงความสำคัญของเมืองปัตตานีในอดีต ในฐานะที่เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งในแหลมมลายูจึงมีพ่อค้าชาวต่างชาติ เช่นจีน อินเดีย อาหรับ และยุโรป เข้ามาติดต่อค้าขาย โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 2-3 นั้น มีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาทำการค้าขายและสร้างบ้านเรือนในเมืองปัตตานีมากที่สุด ด้วยเหตุนี้วังจะบังติกอจึงเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองปัตตานี

This research is a primary survey of a historical site in Pattani : A case study at Chabang-Tigor Palacee. The reason for the study is the fact that in the past, Pattani had long been connected to Ayudhya and Bangkok as their colony, However, because of Thailand's system of governing it's colony, the extreme distance from its mather country combined with bad communications, this parmitted the natives of Pattani to freely rule themselves, except with regard to the payment of silver and golden leaves as tributes once in every 3 years to the Capital. It was because of this that the people of Pattani made regular attempts to separate themselves From Thailand and as a consequence of these attempts, the Central Government of the early Bangkok Period changed its ruling policy towards Pattani into a more restricted one by dividing it into 7 small towns : Pattani, Yaring, Nongcik, Sai-buri, Ra-ngae, Yala and Raman and assigned Songkhla to be in change of those towns on behalf of the Central Government.<br /> In this study, the researcher examines carefully the roles of the Kelantan Dynasty in governing Pattani and the Central Government's policies both concerning internal and external affairs at the time of the nation's confrontation with imperialism and western colonization as far as the time of the successfull reformation of Pattani into the territory of Monton.<br /> The results of the study show that although Pattani was divided into small towns during the reign of the Kelantan Dynasty at Chabang-Tigor Palace it is apparent that Pattani had a good relationship with the Central Government. Thus, the history of Pattani during the paried studied is significant and worthwhile for it relates the history of a local area to the history of the Central region and makes the history of how Thailand was created more completes. Besides this, Cabang-Tigor Palace served not only as a royal residence, but also as a place for official meetings to discuss the national affairs of the ruler of Pattani, who was also a descendant of the Kelantan Dynasty. It is, thus, clear that Pattani has a mixture of both Kelantan and locol tradition and culture which have been passed on for generetions until today. Furthermore, the artwork in the Chabang-Tigor Palace itself also reflct the influence of Chinese architecture and art and blend with that of the Thai Muslims which have become the unique artistic and architectural characteristics of Pattani and the arts which have developed from this period show us how important Pattani was in the past as a major trading part in the Malaysian Penninsula where traders from various parts of the world come into contact people from china, India, Arab countries and Europe. However, it was particularly Chinese traders who came to trade and settle in Pattani during the reigns of King Rama II and King Rama III.<br /> one can see from this Chabang-Tigor Palace is a very important historical site whose history is worth-studying.
     ผู้ทำ/Author
Nameจุรีรัตน์ บัวแก้ว
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 สภาพทั่วๆไปของจังหวัดปัตตานี
บทที่ 2 (หน้า 27-36)
บทที่ 2 (หน้า 37-48)
บทที่ 3 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปัตตานี
บทที่ 4 ภูมิหลังของวังจะบังติกอ
บทที่ 5 บทสรุป
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--โบราณสถานและโบราณวัตถุ
     Contributor:
Name: มูลนิธิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2531
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 5751
     Counter Mobile: 32