|
บทคัดย่อ/Abstract |
This study investigates the demographic factors influencing education completion and employment in Pattani and Songkhla Provinces of Thailand, based on data from 2000 Population Census of Thailand. The determinant variables are demographic factors; gender, religion (Islam and others) age group and districts. The outcome variables were education completion level (none, primary, secondary and high) and employment status (employed and unemployed). In analysis, Odds Ratio was performed for univariate analysis and multiple logistic regression model, to identify the strength of outcomes and determinants. The study found that both provinces showed some similar trends in education completion, with each younger age group completing more education than each older age group. There was a strong reduction in high education completion among the age group 20-44 in both provinces. The ?male other? (male, non-Muslim) group had the highest proportion in elementary level and secondary level completion, while the lowest proportion was found among female Muslims. The ?female other? group had the highest proportion who completed high level education, in both provinces, while the female Muslims in Pattani and male Muslims in Songkhla were the groups less likely to complete high level education.There was a strong association between education completion and demographic factors, with female Muslims having the lowest probability of education completion. For the age groups studied, it was found that the younger the age group the higher the probability of education completion. For districts, the city areas in both Pattani and Songkhla had the highest probability of education completion. Secondary school completion rates can be modelled using logistic regression with quadratic representing age groups. Over a forty-years period (1960-2000), the proportion of secondary education completion in both provinces increased among all gender-religion groups. In 1960, the highest proportion completing secondary school education in both provinces was found among both male and female ?other? (non-Muslims) in the City district. For the Islamic groups, the proportions completing secondary school education were very low in all areas, particularly in NongChik district for Pattani and SabaYoi for Songkhla (less than 30%). Students in Thailand are usually encouraged to continue on from elementary education to complete secondary education. This appears to have some justification in light of the findings of this study, that completing ?no? education led to less likelihood of being employed, and completing a high level of education led to a greater likelihood of being employed, when both were compared to having completed elementary education. However, in this study it was found that in Songkhla Province there was no significant employment advantage in completing secondary education and in Pattani there was actually a statistically significant disadvantage for gaining employment, based on comparisons with completion of elementary education only, associations measured by Odds Ratios.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยทางประชากรที่ส่งผลต่อการจบการศึกษาและการมีงานทำของประชากรในจังหวัดปัตตานีและสงขลา โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจสำมะโนประชากรปี พ.ศ. 2543 ตัวแปรต้นคือปัจจัยทางประชากร (เพศ ศาสนา กลุ่มอายุ และอำเภอภูมิลำเนา) ตัวแปรตามคือระดับการศึกษา (ไม่มีการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา) และภาวะการมีงานทำ สถิติวิเคราะห์คือ อัตราส่วนออดส์ และการถดถอยลอจิสติกเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการจบการศึกษาของประชากรในจังหวัดทั้งสองมีรูปแบบที่คล้ายกันคือ กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าจะมีอัตราส่วนการจบการศึกษาที่สูงกว่า ขณะที่กลุ่มที่มีอายุช่วง 20-44 ปี มีอัตราส่วนการจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับแนวโน้มเดิม อัตราส่วนการจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั้งสองจังหวัดพบว่า ผู้ชายที่ไม่ใช่มุสลิมมีอัตราส่วนการจบสูงสุด ขณะที่ผู้หญิงมุสลิมมีอัตราส่วนต่ำสุด อัตราส่วนการจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในทั้งสองจังหวัดพบว่าผู้หญิงที่ไม่ใช่มุสลิมมีอัตราส่วนสูงสุด ขณะที่ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดปัตตานีและกลุ่มชายมุสลิมในจังหวัดสงขลามีอัตราส่วนต่ำสุด ปัจจัยทางประชากรมีผลอย่างชัดเจนต่อการจบการศึกษา โดยกลุ่มหญิงมุสลิมมีโอกาสในการจบการศึกษาระดับต่างๆ น้อยที่สุด ขณะที่กลุ่มอายุน้อยมีโอกาสการจบการศึกษามากกว่าจบที่มีอายุมากกว่า สำหรับอำเภอภูมิลำเนาพบว่า ประชากรที่อาศัยในเขตอำเภอเมืองทั้งสองจังหวัดมีโอกาสในการจบการศึกษามากกว่าเขตอำเภออื่นๆ แนวโน้มการจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งสองจังหวัดสามารถอธิบายได้ดีโดยสมการถดถอยโลจีสติกแบบควอดราติก ในช่วงปี พ.ศ. 2503-2543 สัดส่วนการจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของทั้งสองจังหวัดมีการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มเพศและศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2503 พบว่ากลุ่มที่ไม่ใช่มุสลิมทั้งชายและหญิงที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมืองมีสัดส่วนการจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสูงสุดทั้งสองจังหวัด ขณะที่กลุ่มมุสลิมทั้งชายและหญิงมีสัดส่วนการจบระดับมัธยมศึกษาต่ำมากในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานีและอำเภอสะบ้าย้อยจังหวัดสงขลา มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับภาวะการมีงานทำ โดยกลุ่มที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสมากกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำ อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษากับมัธยมศึกษาในจังหวัดสงขลา ขณะที่จังหวัดปัตตานีมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษามีอัตราส่วนการมีงานทำมากกว่ากลุ่มที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา |