ชื่อเรื่อง/Title การวิจัยนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2540-2550 / The Research Administrative in Education Policy of the Government in Southern Border Provinces (1997-2007)
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาวิจัยนโยบายการศึกษาของรัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ 2540-2550 เป็นการประเมินนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐที่มีพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบันโดยประเมินนโยบายการจัดการศึกษาที่มีผลต่อท้องถิ่น และแนวทางในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมต่อท้องถิ่นในอนาคต การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีต่อนโยบายพัฒนาการศึกษาของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษานโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่มีต่อสังคมท้องถิ่นภาคใต้ในลักษณะการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนภาคใต้ 3) ผลนโยบายการศึกษาของรัฐตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติพุทธศักราช 2542 จนปัจจุบันในเชิงการจัการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น และ 4) ประมวลแนวทางการจัดการศึกษาภาคนโยบายสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันและอนาคต
ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายพัฒนาการศึกษาของรัฐในชายแดนภาคใต้ที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายทางการศึกษา คือ ปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ ปัจจัยด้านความมั่นคง ปัจจัยด้านศาสนาและวัฒนธรรมและปัจจัยด้านปัญหาการบริหารราชการ ดังนั้น การจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่แนวทางในการปฏิรูป การศึกษาต้องคำนึงปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวจึงสอกคล้องกับการดำเนินการศึกษาในพื้นที่อย่างสัมฤทธิ์ผลได้ในอนาคต 2) ด้านนโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่มีต่อสังคมท้องถิ่นภาคใต้ในลักษณะการจัการศึกษาเพื่อชุมชนภาคใต้พบว่า การจัการศึกษาที่ผ่านมารัฐเน่นการจัการศึกษานโยบายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งฉบับ พ.ศ 2542-2545 นับเป็นนโยบายที่มุ่งหวังการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ สำหรับในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ได้มีการสร้างยุทธศาสตร์การศึกษาที่เป็นไปตามแนวพระราชบัญญัติดังกล่าว และนำมาสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับสถานการณ์ใน้องถิ่นมากยิ่งขึ้น 3) ด้านผลด้านนโยบายทางการศึกษาของรัฐพบว่า รัฐได้ประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่งคือ ด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาแต่ยังต้องสร้างกรอบดำเนินการให้เข้ากับสถานการณ์ท้องถิ่น รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการบริหารการศึกษา หลักสูตรการศึกษาและการพัฒนาบุคคลากรที่นับว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการจักการศึกษาชายแดนใต้ให้ชัดเจนมากขึ้น และ 4) ด้านประมวลแนวทางการจัดการการศึกษาภาคนโยบายสำหรับพื้นที่ขังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันและอนาคตพบว่า รัฐควรมีนโยบายการสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ที่สามารถพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นในลักษณะที่เหมาะสมกับบริบทสังคมวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกมิติของสังคม เศรษฐกิจการเมือง บนพื้นฐานสันติวิธี การเรียนรู้เพื่อเข้าใจการดำรงอยู่ของประชาคมทั้งระดับท้องอถิ่นระดับประเทศและมีมิติขงการกำรงอยู่ในสังคมนานาชาติได้อย่างสันติและพัฒนา


This research about the educational policy of the government in the southern border Provinces during B.E.2540-2550 was to assess to present educational management policy, The effect to the local area and the suitable resolution for the educational management for the local people in the future. The objective of this research were to 1.) Study the factor affecting to the educational development policy of the government in southern border provinces. 2.) Study the government?s educational polity effecting to the social factor which affected to the educational development policy in the aspect of the educational management for the southern community. 3) Study the result of the government ?s educational policy following the National Education Act B.E.2542 to present time about the educational management for the local community and 4.)Compile the resolution for educational management polity in the southern border provinces at the present time and in the future.
The results found that 1.) The factors effecting to the educational development polity of the government in the southern border and the educational policy formulation were the historical factor, the security factor, the religious and cultural factor as well as the government administration problem, therefore, the educational management leading of thee education reform must consider such basic factors to be concordant with the effective educational management in the local area in the future. 2.) During the past education management ,the government focused on the educational management following the Nation Education Act B.E.2542-2545 which was the policy to promote the educational opportunity for the people, both at the local and nation level. Moreover, to the southern border, there were the educational strategies following such Act to create the move suitable polity for the local conditions. 3.) To the result of the government?s education polity, it found that the government was successful with the education opportunity expansion but it still needed to define the operational frame to be consonant with the local situations including the efficiency improvement of the education administrative system, the curriculum and the personnel development which were the important strategies for the educational management in the southern border. 4.) The government should issue the polity to create new strategies to develop the local education suitable for the social and cultural context as well as the social, economic and political development based on the peaceful means of learning to calmly understand the existence of the community?s people at the local national and international level


     ผู้ทำ/Author
Nameบรรจง ฟ้ารุ่งสาง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3 (53-106)
บทที่ 3 (107-135)
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 7128
     Counter Mobile: 36