|
บทคัดย่อ/Abstract |
<dd>การวิจัยนี้ใวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทางจริธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษาระดับจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษา และ 3) ศึกษาความแตกต่างของระดับจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามเพศ ชั้นปี และการสังกัดคณะ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษามุสลิม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 1,135 คน ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 260 คน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จำนวน 500 คน และใช้ในการศึกษาระดับจริยธรรม จำนวน 375 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดจริยธรรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ระดับและความแตกต่างของระดับจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษาที่มีเพศ ชั้นปี และการสังกัดคณะต่างกัน โดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าที และค่าเอฟ <dd>ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทางจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านการปฏิสัมพันธ์กับชนต่างศาสนิก องค์ประกอบด้านการเข้าสังคม องค์ประกอบด้านคุณธรรมในตน และองค์ประกอบด้านการยึดมั่นศรัทธา การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบทางจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนระดับจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบระดับจริยธรรมของนักศึกษามุสลิมในสถาบันอุดมศึกษาที่มีเพศและการสังกัดคณะต่างกัน มีระดับจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักศึกษามุสลิมที่มีชั้นปีต่างกัน มีระดับจริยธรรมไม่แตกต่างกัน <dd>ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ สถาบันอุดมศึกษาควรจัดกิจกรรมของนักศึกษาในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเข้าสังคม ในเรื่องการไม่สอดรู้สอดเห็นเรื่องของเพื่อนหรือผู้อื่น การไม่มองเพศตรงข้ามที่ไม่ใช่มะฮฺรอมโดยตั้งใจ และการขอลาหยุดล่วงหน้าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
<br />
This study aimed: i) to perform a confirmatory analysis on ethical factors of<br />
Muslim students in higher educational institute, ii) to examine the perceived levels of ethics of<br />
Muslim students in higher educational institute, and iii) to study the differences of levels of ethics<br />
of Muslim students in higher educational institute as categorized according to gender, years of<br />
study, and faculty affiliations. The samples consisted of 1,135 university Muslim students, 260<br />
out of whom were selected for exploratory analysis, 500 for confirmatory analysis, and 375 for<br />
the study of levels of ethics. The research instrument, Ethical Scale, was developed through<br />
exploratory factor analysis. Examination of fit model of ethical factors was based on confirmatory<br />
factor analysis. Perceived and different levels of ethics of Muslim student in higher educational<br />
institute were examined by means, standard deviation, t-test and F-test.<br />
The findings show that ethical factors of Muslim students are composed of four<br />
dimensions, i.e. interaction with non-Muslims, socialization, moral consciousness, and<br />
commitment to faith. Fit model indices of ethical factors indicate relatively high congruence of<br />
the hypothesized model with the empirical data as ?2/df = 1.734, GFI = .925, AGFI = .899, CFI =<br />
.981, RMSEA = .038, and SRMR = .041. The perceived levels of ethics of Muslim students are<br />
high in overall and each aspect of four. The levels of ethics of Muslim students from different<br />
gender and different faculty affiliations were found significantly different whereas those from<br />
different years of study found not different.<br />
The suggestion obtained from the study is that the university should organise<br />
various activities for promoting Muslim studentsv ethics in the following aspects: interaction with<br />
non-Muslims, socialization, moral consciousness, and commitment to faith, particularly thoseinvolving inquisitiveness in othersv affairs, eying up desperately on the opposite sex who is<br />
allowed marriage, and making written leave in advance. |