|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การทดลองทอผ้าจวนตานีด้วยเส้นใยฝ้าย และใยสังเคราะห์ / The Weaving Experiment of Juan Tani Cloth(Kian Limar) Using Cotton and Polyester Threads |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
????การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทดลองทอผ้าจวนตานี โดยใช้เส้นใยฝ้ายและใยสังเคราะห์เป็นวัสดุในการทดลอง <br />
????ผลการวิจัยพบว่า การทำเส้นใยฝ้ายและใยสังเคราะห์มาเป็นวัสดุในการทดลองทอผ้าจวนตานีสามารถใช้แทนการใช้เส้นใยไหมได้สำเร็จ ผ้าจวนตานีที่ทอด้วยเส้นใยฝ้ายและใยสังเคราะห์นี้มีความสวยงามระดับหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตผ้าจวนตานีที่ทอจากเส้นใยใหม เนื่องจากเส้นใยใหมเป็นวัสดุที่มีราคาแพง<br />
????ผลการทดลองครั้งนี้สามารถสนองแนวพระราชดำริฯของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในการส่งเสริมการอนุรักษ์และเผยแพร่ผ้าจวนตานี ผู้เข้าร่วมโครงการการทดลองทอผ้าจวนตานีฯจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านนาหมอเทพฯ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ได้รับความรุ้ในการทอผ้าจวนตานี สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดการพึ่งตนเองและการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รู้จักการบริหารและการจัดการกลุ่มอันเป็นพื้นฐานในการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น ตลอดจนเสริมสร้างทุนในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้านฯ นอกจากนี้ความสำเร็จในการทดลองครั้งนี้อาจเป็นแนวทางในการพัฒนาผ้าจวนตานีต่อไป จนสามารถสนองความต้องการของตลาดผู้บริโภคในอนาคต
This research aims at experimenting using cotton and polyester threads to weave Juan Tani cloth (Kain Lima). The result shows that cotton and polyester threada can substitute silk yams and the obtained cloths are quite beautiful and more economic than silk Juan Tani cloths (due to the price of silk threads). The finished cloths from this experiment were certified ISO 8301 by the depertment of textile industry ministry of industry. <br />
The research sesult could be unitised in Her Majesty the Queen's royal project of conserving and promoting Juan Tani cloths. The participants of the experiment consequently founded a housewife group of Namortep village, Tambon Banrai, Maelan district, Pattani province. The participants were trained how to weave Juan Tani cloth and could exploit the knowledge to increase their income. The unemployment problem in that village was solved and the sustainability and self-sufficiency were also trained how to work and manage as a team, which was a hand-on experience. They learned how to analyse, do and solve problems. In addition, the success of the experiment could help pave the way for further Juan Tani developments in order to meet the demand of the consumer market. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | จุรีรัตน์ บัวแก้ว | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ศิลปะและวัฒนธรรม
--หัตถกรรม
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2545 |
|
Type: |
งานวิจัย/Research Report |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
3618 |
|
Counter Mobile: |
39 |
|