ชื่อเรื่อง/Title ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของครูกับการทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดยะลา / Relationship between Factors of Teachers and Classroom Research in Private Islamic Secondary Schools, Yala Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของครู ภาระงานของครู การส่งเสริมการทำวิจัยกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และเพื่อศึกษาปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา จังหวัดยะลา จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ และค่าไคสแควร์<br /> ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่เคยทำวิจัยในชั้นเรียน การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูได้ยึดรูปแบบการทำวิจัยเพียงลำพังหรือทำคนเดียว การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะปรับเปลี่ยน แก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยมีการทำวิจัยครอบคลุมในรายวิชาต่าง ๆ ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนได้ให้ความสำคัญต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น แต่การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูนั้นอยู่ในวงจำกัด คือ ครูส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับช่วงชั้นที่ 3 เท่านั้น คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ? 3 อีกทั้งการเผยแพร่งานวิจัยของครูอยู่ในวงแคบ ๆ ในลักษณะมีการเผยแพร่เฉพาะกลุ่มโรงเรียนเดียวกัน จึงทำให้ไม่เกิดความหลากหลายและไม่เกิดการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนที่สมบูรณ์และขาดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นทั้งในกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเดียวกันและโรงเรียนสามัญ การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมีความสัมพันธ์กับภาระงานของครู และการส่งเสริมการทำวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการทำวิจัยในชั้นเรียน คือ ผลตอบแทน การเลื่อนขั้น และการขึ้นเงินเดือนของครู

This research aimed to study 1) the classroom research of teachers at Islamic private<br /> secondary schools in Yala Province; 2) the relationship between these teachers? classroom<br /> research and their background, work load, and research encouragement; and 3) problems in<br /> conducting their classroom research. The sample consisted of 297 teachers at Islamic private<br /> secondary schools under the jurisdiction of Yala Provincial Educational Office. The research<br /> instrument was a questionnaire developed by the researcher. Percentage and Chi-Square were<br /> used in data analysis.<br /> It was found that most teachers conducted the kind of classroom research which<br /> could be undertaken by one individual. Their purposes were to modify and solve problems in<br /> order to improve instruction. The research covered subjects in all 8 core courses. The teachers<br /> recognized the importance of classroom research more than before, but their research was limited.<br /> Most teachers emphasized only the 3rd level or Mathayomsuksa 1 ? 3. Also, the dissemination of<br /> their research was restricted to schools of the same group. This led to a lack of diversity, of<br /> development towards a complete classroom research, and of idea exchange among Islamic private<br /> secondary schools and with schools offering general education.<br /> The teachers? classroom research was related to their workload and research<br /> encouragement at 0.5 level of significance. The factors which had no relationship with the<br /> teachers? classroom research were reward, promotion and salary increment.
     ผู้ทำ/Author
Nameรอสดี กอวาอูตู
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 5109
     Counter Mobile: 41