ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี / Factors Affecting the Expectation for Further Study of Mathayomsuksa 6 Students in Islsmic Private Schools Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังในการศึกษาต่อและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อ รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกต่อ กลุ่มตัวอย่างศึกษา คือ นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จ.ปัตตานี 35 คน ผู้ปกครอง จำนวน 6 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน ครูประจำชั้น จำนวน 2 คน ครูแนะแนว จำนวน 2 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน และผู้นำศาสนา จำนวน 1 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยคาดหวังว่า
จะศึกษาต่อด้านสามัญและศาสนาตามความถนัด จุดมุ่งหมายของการศึกษาต่อเพราะว่าต้องการจะมีหน้าที่การงาน และอาชีพที่มั่นคงได้ในอนาคต รวมทั้งคาดหวังที่จะประกอบอาชีพในอนาคตตามสาขาที่เลือกศึกษา ผู้ปกครองให้บุตรตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกอาชีพ สำหรับนักเรียนที่คาดหวังว่าจะไม่ศึกษาต่อ จะออกมาทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัวก่อน ถ้ามีโอกาสก็จะศึกษาต่อ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียน เกิดจาก 5 ปัจจัย คือ
ปัจจัยด้านผู้เรียน เกิดจากการได้รับรู้ข่าวสารที่หลากหลาย และได้รับแรงจูงใจจากครอบครัว
ปัจจัยที่สองด้านครอบครัว เกิดจากการพักอาศัยอยู่กับครอบครัว ผู้ปกครองสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษา และมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับนักเรียน ปัจจัยที่สามด้านเศรษฐกิจ เกิดจากอาชีพและรายได้ของผู้ปกครอง ปัจจัยที่สี่ด้านสังคมและวัฒนธรรม เกิดจากค่านิยมของบุคคลในชุมชน การมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน บทบาทของสื่อ และพ่อแม่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อ และปัจจัยสุดท้ายด้านโรงเรียน เกิดจากจุดมุ่งหมายของการแนะแนว ความสนใจกิจกรรม วิธีการแนะแนวการบริการแนะแนว การให้คำปรึกษาของครูประจำชั้น ความใกล้ชิดสนิทสนมกับนักเรียน นโยบายทางการศึกษาของโรงเรียน การมุ่งเน้นให้ศึกษาต่อทั้งศาสนาและสามัญ ทุนการศึกษา การติดตามผลนักเรียน และการเก็บข้อมูลทางสถิตินักเรียนที่ศึกษาต่อ
3. ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการศึกษาต่อของนักเรียน คือ ขาดทุนทรัพย์ และ
ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าความรู้หรือทักษะที่มีอยู่จะสามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้และปัญหาเมื่อเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ
4. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
4.1 เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่แล้วมีความคาดหวังที่จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาแต่ขาดทุนทรัพย์เพื่อสนับสนุนในการศึกษาดังนั้นโรงเรียนจึงควรจัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
4.2 นักเรียนมีความสนใจและตั้งเรียน แต่นักเรียนไม่สามารถที่จะเข้าใจใน
เนื้อหาในบทเรียนอย่างถ่องแท้ เนื่องจากการเรียนในห้องไม่มีสื่อการเรียนการสอน ดังนั้นโรงเรียนควรมีสื่อประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการดียิ่งขึ้น
5. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปเนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาเชิงคุณภาพไม่สามารถที่จะสรุปอ้างอิงในกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในลักษณะแนวกว้างได้ จึงควรศึกษาในเรื่องดังกล่าวในลักษณะผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

This research aimed to study 3 aspects regarding further study of Mathayomsuksa 6 students at Islamic Private Schools in Changwat Pattani: 1) their expectation for further study, 2) factors affecting such expectation, and 3) problems and obstacles to further study. In-depth interviews were used in collecting data for this qualitative research. The sample consisted of 35 students, 6 parents, 2 school administrators, 2 home-room teachers, 2 counseling teachers, 2 community leaders, and 1 religious leader.
The findings were as follows:
1. Regarding the students? expectation for study, they expected to continue their study for general education and religious education according to their aptitudes. Their purposes were to have a secure job and to work in the area of their choice of education. Parents allowed them to choose their own careers. As for the students who expected not to further their study, they would work first to assist their families, then, when possible, continue their education.
2. Regarding the factors affecting the students? expectation for further study, there were 5 major factors. The first concerned the students themselves; that was being exposed to various forms of information and motivated by their families. The second concerned their families; that was living with their parents who supported their education and had a close relationship with them. The third concerned economic conditions based on parents? Occupations and income. The fourth concerned social and cultural environment which included the community members? values, friends? participation, the roles of media, and parents? influence. The fifth concerned the schools themselves which included interest in activities; goals, methods, and services of counseling; home-room teachers? advice and close or distant relationship with students; the schools? educational policies, emphases on further study for both general and(6) religious education, scholarship, follow-ups of students, and statistic records of students who furthered their study.
3. The problems and obstacles to students? further study were lack of financial assistance and self-confidence about existing knowledge and skills for tertiary education as well as unemployment after graduation.
4. Suggestions as results of the research
4.1 Since most students expected to have tertiary education but lack financial support, the schools should search for scholarship resources to assist them. 4.2 The students were attentive to their study but they could not understand their lessons thoroughly because there were not instructional media in classrooms, the schools should equip them with instructional media so that students would have a better development.
5. Suggestions for further researches: Since this was a qualitative research and the researcher could not draw an inclusive conclusion to be used as reference for all students in Islamic Private Schools, there should be a study for that purpose by using a mixed method.
     ผู้ทำ/Author
Nameมะแอน ราโอบ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บทที่ 6
บทที่ 7
บทที่ 8
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 18537
     Counter Mobile: 41