ชื่อเรื่อง/Title สมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดปัตตานี / Physical Fitness of Prathomsuksa Six Stdents in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเกณฑ์ปกติของคะแนนสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีอายุ 12 ปี ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีอายุ 12 ปี ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี กับเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีอายุ 12 ปี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี จำนวน 564 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา ประกอบด้วย 8 รายการคือ 1) วิ่งเร็ว 50 เมตร 2) ยืนกระโดดไกล 3) แรงบีบมือ 4) ลุก-นั่ง 30 วินาที 5) ดึงข้อ 5.1) ดึงข้อสำหรับนักเรียนชาย 5.2) งอแขนห้อยตัว สำหรับนักเรียนหญิง 6) วิ่งเก็บของ 40 เมตร 7) งอตัวไปข้างหน้า 8) วิ่งระยะไกล วิ่ง 1,000 เมตร สำหรับนักเรียนชาย และ วิ่ง 800 เมตร สำหรับนักเรียนหญิง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนในการทดสอบสมรรถภาพทางกายทุกรายการของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดปัตตานี หาเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการโดยใช้คะแนนที (TScore)แล้วเปรียบเทียบเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดปัตตานีกับกรมพลศึกษาโดยใช้การทดสอบหาค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่มีอายุ 12 ปี ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ปรากฎดังนี้คือ ดีมาก 65-100 ดี 55-64 ปานกลาง45-54 พอใช้ 35-44 ควรปรับปรุง 0-34
2. การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีอายุ 12 ปี ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี กับเกณฑ์มาตรฐานของกรมพลศึกษา พบว่านักเรียนชายด้านยืนกระโดดไกล วิ่งเก็บของ 40 เมตร งอตัวไปข้างหน้า และวิ่งระยะไกล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน นักเรียนหญิงด้านงอแขนห้อยตัว วิ่งเก็บของ 40 เมตร และงอตัวไปข้างหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านลุก-นั่ง 30 วินาที และวิ่งระยะไกล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

This research was intended : 1) to develop physical fitness norms for male and female students of Prathomsuksa six with twelve years old in Changwat Pattani School 2) to compare the physical fitness norms male and female students of Prathomsuksa six with twelve years old in Changwat Pattani School and standard norms of Department of Physical Education. The subjects were 564 randomly selected from Prathomsuksa six students with twelve years old in the first semester academic year 2007 in Changwat Pattani, obtained by multi-stage random sampling. The instruments which was used to collect data for the study was Department of Physical Education Test.The test consisted of eight divisions that measured the 50 meter sprint, standing broad jump , grip strength, 30 second sit-up, pull-up, 40 meter shuttle run, trunk forward flexion and distance run , each of which was applied as a part of thenorming process for the Prathomsuksa six data, producing eight sets of norms for male and female Prathomsuksa six students. Standard scores (T-score) were computed for each component of the test and comparison physical fitness norms between male and female students of Prathomsuksa six in Changwat Pattani and Department of Physical Education by t-test.
The results were as follows :
1. Physical fitness norms for male and female students of Prathomsuksa six with twelve years old in Changwat Pattani were : excellent (65-100) good (55-64) fair (45-54) poor (35-44) and inferior (0-34).
2. The comparison of the physical fitness norms between male and female students of Prathomsuksa six with twelve years old in Changwat Pattani and standard norms ofDepartment of Physical Education, affected significantly the difference in the physical fitness norms of male students measured by the standing broad jump, 40 meter shuttle run, trunk forward flexion and distance run at .01, but was not found for the others. Among the female students significant differences were found for the Flexed arm Hang , 40 meter shuttle run and trunk forward flexion at .01, 30 second sit-up and distance run at .05, but was not found for the others.
     ผู้ทำ/Author
Nameซูลกิฟลี เจะแวนิ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: ประเสริฐ อุคติ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 10994
     Counter Mobile: 26