ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี / Factors Affecting the Efficiency of Village Fund Management, Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี และปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 249 กองทุน จากกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด 659 กองทุน ผู้ให้ข้อมูลของกองทุน คือ ประธานกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 249 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 10.44 ประสิทธิภาพปานกลาง ร้อยละ 19.28 และประสิทธิภาพต่ำ ร้อยละ 70.28
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี คือ 1) ปัจจัยด้านคณะกรรมการ ได้แก่ ภาวะผู้นำของคณะกรรมการ ประสบการณ์ ในการบริหารกลุ่ม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน 2) ปัจจัยด้านสมาชิกกองทุน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของสมาชิก และ 3) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกองทุน ปัจจัยทั้งหมดนี้มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของกองทุนหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี ได้ร้อยละ 47.6
3. ปัญหาในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน ได้แก่ สมาชิกไม่ชำระเงินคืนตามสัญญา คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการ จำนวนเงินกู้ไม่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ขยายระยะเวลาการส่งคืนเงินกู้ จัดอบรมด้านการบริหารจัดการให้กับคณะกรรมการกองทุน และจัดสรรเงินกู้ยืมเพิ่มขึ้น

This research aimed to study 1) efficiency levels of village fund management in Changwat Pattani ; 2) factors affecting the management efficiency of these funds, and 3) problems and suggestions for the management. The samples consisted of249 Village funds, derived from the total of 659 funds through proportional stratified random sampling. The informants were 249 chairpersons of the funds. A questionnaire was used in collecting data. Percentage, mean, standard deviation, and Stepwise Multiple Regression were used in data analysis.
The findings were as follows :
1. Regarding the efficiency of the village fund management, 10.44%,19.28%, and 70.28% of them showed high, medium, and low levels, respectively.
2. Factors affecting the management efficiency of the funds were as follows. The factors concerning the committee were leadership, experience in group management, and knowledge and understanding of village funds. The factors concerningthe members of the funds was participation. The factors concerning the supporting factors was exposure to information about village funds. All these factors could predict the management efficiency with 47.6% predicting efficiency.
3.The problems of village fund management included the member?s failure to pay debts when they were due, the committee?s lack of knowledge and understanding about management, and the insufficiency of funds. Suggestions included extending payback periods, training the committees in managerial skills, and allocating more loans.
     ผู้ทำ/Author
Nameจริยา วงศ์กำแหง
Organization มหาวิทยาสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
     Contributor:
Name: ปราณี ทองคำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 17020
     Counter Mobile: 30