ชื่อเรื่อง/Title การวิจัยเชิงประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียน : กรณีศึกษาในภาคใต้ / Assessment Research for Efficiency of Non-formal Educational Administration: A Case Study of the South
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยประเมินผลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ความคุ้มทุนของการจัดการศึกษา และแนวทางการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า กศน. จัดปัจจัยนำเข้า กระบวนการจัดการศึกษาต่างได้มาตรฐานมีคุณภาพระดับดี ผลผลิตมีคุณภาพระดับพอใช้ จัดหลักสูตรการศึกษาสอดคล้องตรงกับความต้องการและความสามารถของผู้เรียนผู้ด้อยโอกาสในชุมชนได้ทั่งถึง ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีคุณวุฒิการศึกษา มึความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การศึกษา วิธีการสอนและประเมินผลอย่างหลากหลาย ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่แม้มีผลสัมฤทธิ์ระดับพอใช้ แต่มีเจตคติต่อตนเองและผู้อื่น มีกำลังใจที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจาก กศน. ทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่วนความคุ้มทุนของการจัดการการศึกษายังไม่คุ้มทุน ในปี พ.ศ 2542-2547 หลักสูตรประถมศึกษามีค่าใช้จ่ายหัวเฉลี่ย 1780.61 บาท มีอัตราค่าใช้จ่ายเพิ่มขี้นต่อปีร้อยละ 6.54 และอัตราผู้สำเร็จการศึกษา 36.84% ส่วนหลักสูตรมัธยมศึกษามีค่าใช้จ่ายรายหัวเฉลี่ย 1430.79 บาท มีอัตราค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่อปีร้อยละ 21.59 และอัตราผู้สำเร็จการศึกษาร้อยละ 29.32 สุดท้ายแนวทางการดำเนินงานทางการศึกษานอกโรงเรียนในอนาคต กศน. เป็นทางเลือกของผู้ด้อยโอกาสและเป็นความต้องการของชุมชนเป็นอันมาก ที่ต้องการนำความรู้ไปประกอบอาชีพและวุฒิทางการศึกษาเพื่อความก้าวหน้าในการทำงานและการศึกษาต่อ และสังคมควรมีการปฏิรูปการศึกษา กศน. จากการเป็นผู้ให้บริการ ไปเป็นผู้สนับสนุน แล้วเอกชน องค์กรและชุมชนเป็นผู้ให้บริการแทน

This assessment research aimed to investigate the efficiency of non-formal educational administration, worthiness of non-formal educational management, and priority of future non-formal educational administration. As a result, it indicated: The provincial center of non-formal educational administration had, efficiently, conducted the input and the managerial process; standardized, each was in good quality level. Moreover, the product had the quality a fair level. In accordance with the needs and capability of the learners in communities notably the unprivileged, the educational courses were overally offered. Most of the teachers holding educational degrees, knowledge and experiences, had engaged several modes of instructions and evaluations. In addition, most of the graduates had the educational achievement a fair level. Nevertheless, their attitudes to themselves and others became deep positive, after willingly taking the educational opportunity of non-formal education. It definitely affected their lives and better life quality. On the other hands, the provincial centers had underperformed in the worthiness. In 1999-2004, 1780.61 Baht average head cost was spent with 6.54% annually increase rate and 36.84% graduation rate for the elementary education; whileas, 1430.79 Baht average head cost with 21.59% annually increase rate and 29.39% graduation rate for the secondary education. In final, the non-formal education has still been a choice of the unprivileged and the needs of community, to gain some knowledge to work and further education. For the priority future non-formal educational administration, a reform could be emerged, transforming the center from provider to supportor and let individual, private, or community organization be provider instead.
     ผู้ทำ/Author
Nameเธียรนันท์ วาณิชย์ศุภวงศ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์
Nameผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหาบทความ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: บทความ/Article
     Copyrights :
     Counter : 1900
     Counter Mobile: 30