ชื่อเรื่อง/Title ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / Relationship between Critical Thinking and Achievement of Mathayomsuksa Three Students
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบความคิดวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) หาค่าอำนาจจำแนก ค่าความยาก ค่าการเดา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างความคิดวิจารณญาณทั้ง 4 ด้าน กับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียรในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 เขต 2 จำนวน 1,132 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความคิดวิจารณญาณ ผลการค้นพบ 1.เมื่อใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเกณฑ์ พบว่าความคิดวิจารณญาณรายด้านมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ทุกด้าน โดยด้านการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต ด้านการนิรนัย ด้านการอุปนัย และด้านการระบุข้อตกลงเบื้องต้นมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.498, 0.582, 0.551 และ 0.510 ตามลำดับ ส่วนความคิดวิจารณญาณโดยรวมคะแนนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.702 2.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ระหว่างความคิดวิจารณญาณ 4 ด้าน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.705 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.493 ความคิดวิจารณญาณทั้ง 4 ด้าน ได้รับการคัดเลือกเข้าสมการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีแบบขั้นบันได ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าความคิดวิจารณญาณโดยรวมมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างสูง การแยกความคิดวิจารณญาณออกเป็นรายด้าน เพื่อนำมาสร้างสมการถดถอยพหุคูณมิได้ทำให้การพยากรณ์ประสิทธิภาพดีขึ้น เพราะแบบทดสอบทั้งฉบับมีลักษณะเป็นมิติเดียว

The objective of this research was to develop a critical thinking of mathayomsuksa three students test using the item response theory (LRT) to indicate item discriminating poewr (a), difficulty level (b), guessing (c) and the correlation between critical thinking all four aspects and achievement of mathayomsuksa three students. the subjects under study werw 1,132 students from schools in Pattani Educational Areas 1 and 2, within 2003 academic year. A four-choice test of critical thinking, consisting of 30 items, was used for collecting data. Analysis was performed by testing unidimention of the test as mentioned in the basic assumption of the item response theory. The test than was analyzed by using Version 3.04 BILOG. The statistic used in the data analysis was multiple correlation.
The research findings were as follows :
1. By using the achievement' GPA as a criterion, the study showed that there was a statistically significance at .001 level. A statistically significance the credibility of sources and observation at .498 level, the deduction and induction at .582, .551 level, and the basic assumption identification at .510 level. Critical thinking in all four aspects was found to statistically relate to their achievement at .001 level of significance. With correlation coefficient of .702.
2. The coefficient of multiple correlation between critical thinking in all four aspects and their achievement was .705 and at .001 level of significance the coefficient of determination (Adjusted R2) was .493. The four aspects of critical thinking were selected in the stepwise regression analysis.
The relationship between the overall critical thinking and learning achievement was compatible to the multiple correlation coefficient between the aspects of critical thinking an learning achievement
     ผู้ทำ/Author
Nameนิรัน ดะแซ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2581
     Counter Mobile: 35