ชื่อเรื่อง/Title การรับรู้สุขภาพองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี / The Perception on Organizational Health and the Relationship
     บทคัดย่อ/Abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาระดับการรับรู้สุขภาพองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 45 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS/FW สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าสถิติ t-testและ F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ใช้สูตรของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชากรของวิทยาลัยอิสลามศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาย อายุอยู่ระหว่าง 36-50 ปี
เป็นข้าราชการสายการสอน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท มีอายุราชการ 1-10 ปี และส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ
2. สุขภาพองค์การของวิทยาลัยอิสลามศึกษามีความสมบูรณ์ปานกลาง โดยมิติการมุ่งเน้นวิชาการมีความสมบูรณ์ สูงที่สุด รองลงมาคือ มิติขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และมิติ
อิทธิพลของผู้บริหาร มิติที่มีสุขภาพสมบูรณ์ต่ำที่สุดคือ การบริหารเน้นคน รองลงมาคือ มิติการสนับสนุนทรัพยากร และมิติการบริหารเน้นงาน
3. บุคลากรมีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับปาน
กลาง โดยมีความพึงพอใจด้านลักษณะของงาน สูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มีความสัมพันธ์ในทางบวก และความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.85 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01

The purposes of this study were to find out the perception of personnel of the College of Islamic Studies on organizational health, and the relationship between organizational health and their job satisfaction. The researcher used the whole population, 45 staff members, as the respondents of the study. Questionnaire was employed to collect data from the respondents. The reliability test of the questionnaire was 0.97. The data collected were then analyzed by using SPSS/FW to find out percentages, means, standard deviations, t-test,F-test, ANOVA and Pearson?s correlation coefficient.
The findings of the study showed that:
1) Members of CIS staff were male, their age was between 31-50 years old, they were teaching staff who were holding a master degree, having 1-10 year working experiences and did not hold any academic titles.
2) Moderately the organizational health was good. The academic emphasis aspect was the highest followed by morale, principal influence,consideration, resource support and initiating structure respectively.
3) Generally, the staffs were moderately satisfied with their job and highly satisfied with their work itself followed by the aspect of responsibility and
interpersonal relation.
4) There was a high positive correlation relationship with the score of .85 between organizational health and staff?s job satisfaction at the level of .01.
     ผู้ทำ/Author
Nameสมเจตน์ นาคเสวี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2549
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 2078
     Counter Mobile: 34