ชื่อเรื่อง/Title การวิเคราะห์องค์ประกอบของประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี / Factor Analysis of Teaching Efficiency of Science Teachers in Primary Schools under theOffice of Pattani Educational Service Areas
     บทคัดย่อ/Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี ตามการประเมินโดยครูวิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความแตกต่างของประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษาระหว่างเพศ วิชาเอก ประสบการณ์ในการสอนและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี จำนวนครู 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 89 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ และทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ได้ 8 องค์ประกอบ คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ด้านความสามารถในการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาตนเองของครู ด้านความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชา ด้านความสามารถทางกระบวนการเรียนการสอน ด้านการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน ด้านความรู้ความสามารถในหลักสูตร และด้านบุคลิกลักษณะที่เหมาะสมของครูครูวิทยาศาสตร์ที่มีเพศ วิชาเอก และขนาดของโรงเรียนต่างกัน มีประสิทธิภาพการ
สอนไม่แตกต่างกัน ครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์การสอน 16 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพการสอนสูงกว่าครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์การสอนไม่เกิน 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ครูผู้สอน ผู้บริหาร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา สามารถนำองค์ประกอบต่าง ๆ ของประสิทธิภาพการสอนของครู
วิทยาศาสตร์ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์

This research was intended 1) to extract factors of teaching efficiency of science teachers in primary schools under the office of Pattani educational service areas as valuated by science teachers. 2) to compare the teaching efficiency of science teachers in primary schools between male and female, among major programs, among teaching experiences, and among school sizes.
The subjects of the study were 413 science teachers in primary schools under the office of Pattani educational service areas, during the second semester of 2006. The research instruments consisted of a 5-interval rating scale questionnaire of 89 items. Factor analysis and
one-way ANOVA were used in the data analysis procedure.
The findings were as Follow :Eight factors of teaching efficiency includimg, relationship between teachers and students, ability of measurement and evaluation process, self-development, knowledge of the subject content, ability in managing instructional process, managing instructional climate,understanding of curriculum and appropriate science teachers characteristics were found. The comparisons of teaching efficiency of science teachers between male and female,among major programs and among school sizes were not significant different.The teaching efficiency of science teachers who had over sixteen-years experience was higher than the teachers who had five-years experience at .01 level of significance.The findings indicated that school teachers, administrators and all the organizations involved in primary education could apply factors of teaching efficiency of science teachers in improving and developing of science teachers.
     ผู้ทำ/Author
Nameกำพล ธนะนิมิต
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 การอภิปรายผลการวิจัย
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 5340
     Counter Mobile: 38